คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สืบพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7572/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานโจทก์ร่วมหลังสืบพยานเดิม & เจตนาดูหมิ่นในคดีหมิ่นประมาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมภายหลังจากการสืบพยานโจทก์นัดแรกผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ร่วม และอนุญาตให้โจทก์ร่วมนำพยานของตนเข้าสืบภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ศาลจึงใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมรับฟังพยานของโจทก์ร่วมได้
ปัญหาว่าการกระทำใดไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำต่อโจทก์ร่วมว่า "มึงเข้าไปในที่ของกูได้อย่างไร กูจะแจ้งข้อหาบุกรุกมึง มึงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้อย่างไร ไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ ไอ้หน้าโง่มึงต้องเจอกับกูแน่ที่ศาล" นั้น เห็นได้ว่าสรรพนามที่จำเลยใช้แทนตัวจำเลยและโจทก์ร่วมว่ากูและมึงนั้นเป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพ ส่วนถ้อยคำในทำนองว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่มีอำนาจหน้าที่ ไม่รู้กฎหมายและจะฟ้องร้องดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำต่อว่าโจทก์ร่วมที่เข้าไปในที่ดินของ ม. พ่อตาจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาต และแสดงเจตนาที่จะดำเนินคดีกับโจทก์ร่วมเท่านั้น ไม่ใช่ถ้อยคำที่ดูถูกเหยียดหยามโจทก์ร่วม แต่ที่จำเลยว่าโจทก์ร่วมว่าไอ้หน้าโง่นั้น ถ้อยคำดังกล่าวแสดงอยู่ในตัวถึงการหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ร่วม แม้จะเป็นการกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นโจทก์ร่วมในขณะที่จำเลยและโจทก์ร่วมทะเลาะกันก็ต้องถือว่าจำเลยกล่าวโดยมีเจตนาดูหมิ่นโจทก์ร่วม หาใช่ว่าการกล่าวในขณะทะเลาะกันจะถือว่าจำเลยมิได้มีเจตนาดูหมิ่นอันจักเป็นการขาดองค์ประกอบความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีก่อน จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันตัวบุคคลจำเลยว่าเป็นคนเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกในคดีดังกล่าว ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาล
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิการสืบพยานเพิ่มเติมเมื่อจำเลยแถลงหมดพยานหลักฐานแล้ว การยื่นพยานเพิ่มเติมจึงเป็นการประวิงคดี
การที่จำเลยแถลงยืนยันต่อศาลชั้นต้นว่า ยังติดใจสืบพยานอีกเพียงปากเดียวก็เป็นอันหมดพยานจำเลย และขอส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ที่ศาลจังหวัดเลย โดยไม่ขอเลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ศาลจึงอนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว การที่ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโจทก์ให้จำเลยยืนยันยอดหนี้ที่ค้างชำระกับโจทก์ตามเอกสารที่ส่งมาให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม คดีจึงไม่มีประเด็นว่ายอดหนี้ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องถูกต้องหรือไม่ พยานหลักฐานของจำเลยดังกล่าวที่มีลักษณะเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า และไม่เป็นประเด็นที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมและไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานจำเลยเข้าสืบต่อไป จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยานเองได้ ไม่อาจใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ. มาอนุโลม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการส่งหมายเรียก: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลที่ทำให้สืบพยานไม่ได้ก่อนสั่งขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์ในการกำหนดเป็นมาตรการให้ศาลนำมาใช้เพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ในกรณีที่ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมที่จะสืบพยานตามที่นัดได้ แต่โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะสืบพยานเช่น ศาลติดพิจารณาคดีอื่นหรือกรณีคดีนี้ที่ยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ แม้โจทก์และพยานโจทก์มาศาล ศาลก็ไม่สามารถจะสืบพยานโจทก์ตามที่นัดไว้ได้ ดังนั้น โดยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งบทกฎหมายดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงยังไม่ควรด่วนสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท vs. หลายกรรมต่างกัน และการสืบพยานความผิดฐานนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์
การกระทำครั้งเดียวคราวเดียวอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้ หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือมีเจตนา อย่างเดียวกันแต่ประสงค์ให้เกิดผลเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปร่วมกันเลื่อยตัดทำไม้ประดู่ ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยได้เลื่อยตัดฟันออกจากต้น แล้วเลื่อยออกเป็นแผ่น จำนวน 97 แผ่น ปริมาตร 1.40 ลูกบาศก์เมตร ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้กระทำ ในคราวเดียวกันนั้น ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนากระทำความผิดให้เกิดผลเป็นหลายกรรมในความผิดต่างฐานต่างหากจากกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันลักลอบนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ ของกลางอันเป็นของผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร หรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้ลักลอบนำเข้าหลบหนีด่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง เพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดดังกล่าวเป็นความผิดคนละฐาน จะลงโทษจำเลยทั้งสามในทั้งสองฐานความผิดย่อมไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิด และเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ขอต่อสู้คดี และไม่ต้องการทนายความย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่า จำเลยทั้งสามได้กระทำผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสาม เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยทั้งสามไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานและการสืบพยาน: สิทธิจำเลยในการนำพยานเข้าสืบ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนด ต้องแสดงเหตุอันสมควร มิใช่แค่เพิ่งพบพยาน
การที่จำเลยจะยื่นคำร้องขออนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว จำเลยจะต้องแสดงถึงเหตุอันสมควรให้ฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถทราบได้ว่า ต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนหรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใดไว้ในคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แต่ตามคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยระบุเพียงว่าจำเลยเพิ่งได้พบกับพยานเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันสมควรที่จำเลยไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานที่จำเลยขออ้างเพิ่มเติมนั้นมาสืบ หรือไม่ทราบว่าพยานนั้นได้มีอยู่หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยานแล้ว ต้องแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถทราบได้ก่อน
คำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยนั้น จำเลยอ้าง เหตุผลว่าเพิ่งได้พบกับพยานเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลย ได้แสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำพยานที่จำเลย ขออ้างพิ่มเติมนั้นมาสืบหรือไม่ทราบว่าพยานนั้นได้มีอยู่ หรือมีเหตุอันสมควรอื่นใด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาต ให้จำเลยอ้างพยานเพิ่มเติมได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนชำระหนี้โดยไม่คิดราคาท้องตลาดเป็นโมฆะ – จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 2 ข้อ ดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการ แก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย การบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่น แทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระ เป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สิน ในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2. ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลย รับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็น หนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลย รับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยาน ตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริง ให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาท ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247
of 98