พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสร้างโรงเรือนในที่ดินผู้อื่นโดยสุจริตหลังทำสัญญาขายฝาก: สิทธิในการรื้อถอนและค่าขาดประโยชน์
จำเลยปลูกสร้างอาคารทาวน์เฮ้าส์ในที่ดินพิพาททั้งก่อนและหลังทำสัญญาขายฝากเฉพาะที่ดินพิพาทแก่โจทก์ โดยโจทก์รับรู้และยินยอมให้ปลูกสร้างและจำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินพิพาทคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดในสัญญาการปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ ปัญหาว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ หรือไม่ กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับได้โดยตรง จึงต้อง อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นแต่ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถแสดงได้ว่ามิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ตามมาตรา 1310 วรรคสอง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างอาคารต่อไปทั้งที่ได้ทำสัญญาขายฝากโดยโจทก์มิได้ห้ามปราม หรือขอให้จำเลยยุติการก่อสร้างถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้จำเลยผู้สร้างรื้อถอนไปตามมาตรา 1310 วรรคสอง และไม่อาจเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยได้เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อใช้ก่อนและสินค้าต่างจำพวก การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนย่อมมีสิทธิ
จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ และไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาเจตนาและสุจริตในการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์ได้ติดรูปเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนของกลางอันเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมเข้ามาด้วยถึงแม้รูปเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ติดมาในฟ้องจะไม่ชัดเจนในรายละเอียด แต่ก็ยังเห็นได้ถึงลักษณะโครงสร้างที่เป็นสาระสำคัญได้ ซึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมสามารถนำสืบโดยเสนอเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบตามฟ้องได้ว่าคือเครื่องหมายการค้าตามภาพถ่ายกางเกงยีนของกลางเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าแบบเดียวกับเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.3 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในฟ้อง
เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาโดยรวมแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน คำว่า CANTONAส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกางเกงยีนก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA และออกเสียงเรียกขานว่า คันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม นอกจากนี้แถบผ้าแสดงขนาดของกางเกงยีนของจำเลยก็ปักอักษรโรมันคำว่า CANTONA แสดงว่าตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONAเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยมีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้วแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าประเภทกางเกงของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามมาตรา 110(1)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CANTONA มาตั้งแต่ปี 2538 โจทก์ร่วมจึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะห้ามผู้ใดปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 53 ซึ่งการที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการขอให้เพิกถอนหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 63 แต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับโจทก์ร่วมได้ผลิตกางเกงยีนใช้ชื่อในการประกอบการว่า กิจเจริญ มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว โดยโจทก์และโจทก์ร่วมได้อ้างส่งกางเกงยีนที่โจทก์ร่วมผลิตและใช้เครื่องหมายการค้า CANTONA เป็นวัตถุพยาน พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อประกอบกิจการของโจทก์ร่วมโดยสุจริต
เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาโดยรวมแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน คำว่า CANTONAส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกางเกงยีนก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA และออกเสียงเรียกขานว่า คันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม นอกจากนี้แถบผ้าแสดงขนาดของกางเกงยีนของจำเลยก็ปักอักษรโรมันคำว่า CANTONA แสดงว่าตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONAเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยมีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้วแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าประเภทกางเกงของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามมาตรา 110(1)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CANTONA มาตั้งแต่ปี 2538 โจทก์ร่วมจึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะห้ามผู้ใดปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 53 ซึ่งการที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการขอให้เพิกถอนหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 63 แต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับโจทก์ร่วมได้ผลิตกางเกงยีนใช้ชื่อในการประกอบการว่า กิจเจริญ มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว โดยโจทก์และโจทก์ร่วมได้อ้างส่งกางเกงยีนที่โจทก์ร่วมผลิตและใช้เครื่องหมายการค้า CANTONA เป็นวัตถุพยาน พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อประกอบกิจการของโจทก์ร่วมโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาโดยปริยายจากการไม่มีการสะพัดนาน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญามีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัดเลิกกันเมื่อไม่มีการสะพัดนานเกินควร โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลาแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการ เดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลานานเกินสมควร การใช้สิทธิของโจทก์เช่นนี้จึงมิได้กระทำโดยสุจริตและเมื่อมีข้อสงสัยเช่นนี้ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่คำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หากเป็นการรายงานข่าวอย่างสุจริต
ข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยคำฟ้องของจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 ได้นำไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลทั้งข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ได้ความจากคำฟ้องของ โจทก์ในคดีนี้กับที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. ก็ปรากฏว่าล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะหมิ่นประมาทโจทก์ หากแต่เพื่อประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 1 ที่ฟ้องโจทก์เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และข้อความที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. นอกจากข้อเท็จจริงจะฟังได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ว่าเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลดังกล่าวแล้ว ยังได้ความอีกว่าการกระทำของ จำเลยที่ 2 เป็นการเผยแพร่คำฟ้องไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะ ส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความดังกล่าวลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. จึงเป็น การรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับ ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) ไม่เป็นความผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินสาธารณะและเขตอุทยานฯ โดยสุจริตและมีคำสั่งอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ไม่แน่ชัดว่า จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือไม่ เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยสุจริต เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิที่จะทำได้ จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐ
คำสั่งอนุญาตให้จำเลยสร้างบังกะโลได้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ยังมีข้อโต้เถียงกันจนต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เมื่อจำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจากรองอธิบดีกรมป่าไม้ จึงน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติ
ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิด ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้นแล้ว นำมาฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
คำสั่งอนุญาตให้จำเลยสร้างบังกะโลได้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ยังมีข้อโต้เถียงกันจนต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เมื่อจำเลยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามที่ได้รับอนุญาตจากรองอธิบดีกรมป่าไม้ จึงน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินภายในเขตอุทยานแห่งชาติ
ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิด ข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้นแล้ว นำมาฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อเครื่องหมายบริการ 'MANDARIN' ที่คล้ายคลึงกันของโรงแรม การพิจารณาความสุจริตในการใช้ชื่อและการมีสิทธิที่ดีกว่า
โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยเป็นโรงแรมใหญ่ เริ่มเปิดดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2506 ได้รับความนิยม และมีชื่อเสียง ปี 2510 ได้รับการยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดอันดับหนึ่งของโลก ส่วนโจทก์นั้นเดิมชื่อ บริษัทควีนส์โฮเต็ล จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมใช้ชื่อว่า ควีนส์โฮเต็ล ในกรุงเทพมหานคร ในปี 2508 พ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์เคยเดินทางไปเมืองฮ่องกงทุกปี ปีละหลายครั้ง ย่อมต้องรู้จักโรงแรมแมนดารินของเมืองฮ่องกง พ. ประกอบกิจการโรงแรม ย่อมต้องศึกษาและมีความสนใจในกิจการของโรงแรมต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปเพื่อนำมาใช้กับโรงแรมของตน โรงแรมควีนส์โฮเต็ล ของโจทก์เปิดดำเนินงานได้เพียง 2 ปี ก็เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นแมนดาริน โฮเต็ล จำกัด และเปลี่ยนชื่อโรงแรมเป็นแมนดารินกรุงเทพ ในปี 2510 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่โรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลยกำลังมีชื่อเสียงและได้รับยกย่องว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด ไม่ปรากฏว่าเหตุใดโจทก์จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า บริษัทแมนดารินโฮเต็ล จำกัด การตั้งชื่อสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อการประกอบกิจการเป็นอย่างมาก ที่โจทก์อ้างว่าเหตุที่โจทก์เปลี่ยนชื่อจาก ควีนส์โฮเต็ล มาเป็นโรงแรมแมนดาริน เพราะผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นคนมีเชื้อสายจีนและเพื่อให้รู้สึกว่าเป็นการบริการของจีนนั้น ไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ถือหุ้นของโจทก์ในตอนเริ่มก่อตั้งบริษัทและโรงแรม กับตอนเปลี่ยนชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ถือหุ้นชุดเดียวกัน น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนชื่อบริษัทและโรงแรมของโจทก์ให้เหมือนกับชื่อโรงแรมแมนดารินที่เมืองฮ่องกงของจำเลย ก็เพื่อต้องการให้กิจการโรงแรมของโจทก์มีผู้ใช้บริการมากขึ้น กิจการเจริญขึ้น จึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์ใช้ชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN โดยสุจริต จำเลยจึงมีสิทธิในชื่อและเครื่องหมายบริการคำว่า MANDARIN ดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ราคาซื้อขายที่แท้จริงในคดีล้มละลาย การรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือจากสัญญาซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) บัญญัติห้ามเฉพาะการขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบกรรมการของผู้คัดค้านร่วมเป็นพยานประกอบสำเนาเช็คทั้งสี่ฉบับว่า ผู้คัดค้านร่วมชำระราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 2 ต่างไปจากราคาที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน เป็นการนำสืบถึงข้อความจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 2 มาในราคาเท่าใด มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายจึงไม่ต้องด้วยหลักกฎหมายปิดปากและไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
การซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 ดังนี้ การซื้อขายทรัพย์พิพาทโดยไม่ระบุราคาซื้อขายอันแท้จริงลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ตกเป็นโมฆะ การที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่ 2 ระบุราคาซื้อขายทรัพย์พิพาทต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้จะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ไม่เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการโอนทรัพย์พิพาทได้กระทำโดยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114(เดิม)
การซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านร่วมได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 ดังนี้ การซื้อขายทรัพย์พิพาทโดยไม่ระบุราคาซื้อขายอันแท้จริงลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ตกเป็นโมฆะ การที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่ 2 ระบุราคาซื้อขายทรัพย์พิพาทต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้จะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ไม่เป็นข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการโอนทรัพย์พิพาทได้กระทำโดยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114(เดิม)