พบผลลัพธ์ทั้งหมด 217 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบเงินฝากไม่ใช่การจำนำ แม้จะยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายป่าน: การรับชำระราคาตามกำหนดส่งมอบ และการฟ้องร้องเมื่อผิดนัดชำระ
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยาย ให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใด เท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสอง ไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้นหาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคลแต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 บัญญัติว่าถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยการส่งมอบ และผลกระทบต่อการขอคืนของกลาง
ผู้ร้องได้ยกรถยนต์ของกลางให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 1แล้ว หลังจากยกให้ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย การให้รถยนต์ของกลางเพียงแต่ส่งมอบให้ก็สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 แล้ว หลักฐานทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่กรณีที่จะต้องจดทะเบียนการโอนตาม มาตรา 525 ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องจึงไม่อาจขอคืนรถยนต์ของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน แต่หากมีการส่งมอบทรัพย์สินและชำระหนี้บางส่วนแล้ว ย่อมบังคับใช้ได้
ทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ และทำสัญญากันโดยที่ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนกับจำเลย ได้ส่งมอบที่ดินในส่วนที่ตกลงแลกเปลี่ยนให้แก่จำเลยแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพราะได้มีการชำระหนี้ตามสัญญากันบางส่วนแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์นำมาฟ้องบังคับได้ไม่เป็นโมฆะ หลังจากโฉนดที่ดินพิพาทได้ออกแล้ว โจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ และจำเลยก็ได้ไปยังสำนักงานที่ดินเมื่อเดือนมิถุนายนและตุลาคม 2522 เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ขาดสิทธิครอบครองแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฟังว่าสัญญาแลกเปลี่ยนไม่เป็นโมฆะ ใช้บังคับได้ การที่จะวินิจฉัยต่อไปว่า สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ตามฎีกาของจำเลยย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อตกลงซื้อขาย แม้ยังมิได้ส่งมอบหรือจดทะเบียน ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดกับความผิดของผู้เช่าซื้อ
ป. ขายรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 แต่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์การที่ ป. กับจำเลยที่ 1 ไปทำคำเสนอใช้บริการของผู้ร้องโดยให้ผู้ร้องตกลงชำระราคารถยนต์ของกลางให้แก่ ป. และให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางจากผู้ร้อง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่า ป. ตกลงขายรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้องโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 แม้ผู้ร้องจะมิได้ครอบครองรถยนต์ของกลางเลยก็ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบกันโดยปริยาย กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกเป็นของผู้ร้องในทันทีที่ตกลงซื้อขายกัน แม้จะจดทะเบียนโอนกันในภายหลังการซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะใบคู่มือการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเงินทุนลงทุนในกิจการต่าง ๆ รวมทั้งการให้เช่าซื้อ มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าไม้ อันเป็นเหตุให้มีการจับกุมจำเลยที่ 1 มาดำเนินคดีแต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่ามีพนักงานของผู้ร่วมร้องในการกระทำความผิดด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ต้องคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด (ฝิ่น) โดยการส่งมอบเงินและยา
จ่าสิบตำรวจ ส.ผู้ล่อซื้อฝิ่นส่งมอบเงินค่าซื้อฝิ่นให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2ยืนอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 นับเงินแล้วส่งให้จำเลยที่ 2 ตรวจนับเงินต่อ พร้อมทั้งจำเลยที่ 1 ได้มอบฝิ่นให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันขายหรือจำหน่ายฝิ่นตามความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบเงินและฝิ่นเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อฝิ่นส่งมอบเงินค่าซื้อฝิ่นให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 นับเงินแล้วส่งให้จำเลยที่ 2 ตรวจนับเงินต่อ พร้อมทั้งจำเลยที่ 1 ได้มอบฝิ่นให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันขายหรือจำหน่ายฝิ่นตามความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอน ยักยอกไม่ได้ เหตุไม่มีการส่งมอบหรือตรวจนับ
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกข้าวเปลือกของโจทก์จำนวน 400 กระสอบซึ่งฝากไว้ที่ยุ้งข้าวของจำเลย โดยข้าวเปลือกจำนวนดังกล่าวจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ามีการตรวจนับจำนวนหรือคัดเลือกข้าวเปลือกเพื่อกำหนดส่งมอบให้แก่โจทก์ ข้าวเปลือกที่โจทก์กล่าวอ้างจึงยังไม่เป็นวัตถุแห่งหนี้ที่จะชำระให้แก่กัน และกรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกยังไม่โอนไปเป็นของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองข้าวเปลือกของโจทก์ ไม่อาจเป็นความผิดฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าว: การฟ้องเรียกเงินคืนเนื่องจากส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของทรัพย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อข้าวบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบข้าวน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกัน มิใช่ฟ้องในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน ดังนั้นจึงนำอายุความตามมาตรา 467 มาปรับมิได้ การฟ้องเรียกเงินคืนในกรณีนี้มิได้มีอายุความกำหนดไว้.