พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์มีผลผูกพันบังคับได้ หากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คำว่า 'ทรัพย์สินอย่างใด ๆ ดังว่ามานี้ก็ดี' และคำว่า 'ทรัพย์สินเช่นว่านั้นก็ดี' ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น หมายถึงทรัพย์ต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในวรรคต้น ซึ่งรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเป็นหนังสือ หากไม่สมบูรณ์
การที่สามีจะยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ใครโดยเสน่หาได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ถ้าภริยาไม่ได้ยินยอมเป็นหนังสือ การให้นั้นไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเป็นหนังสือ หากไม่มีความยินยอม การโอนไม่สมบูรณ์
การที่สามีจะยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ใครโดยเสน่หาได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ถ้าภริยาไม่ได้ยินยอมเป็นหนังสือ การให้นั้นไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน และผลของการครอบครองทำประโยชน์เกิน 10 ปี ต่อการรับมรดก
ที่ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น หมายถึงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วย จึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การครอบครองปรปักษ์ และการอ้างสิทธิมรดก
ที่ว่า 'สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ' นั้นหมายถึงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วยกันจึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งตัวแทนทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐานการแต่งตั้ง สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ
การเช่าซื้อเป็นนิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือการตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อจึงต้องทำเป็นหนังสือด้วย
โจทก์มอบหมายให้ผู้จัดการแผนกเข้าทำสัญญาให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์กับจำเลยโดยมิได้แต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ การแต่งตั้งมอบหมายจึงเป็นโมฆะโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ได้แต่งตั้งให้ผู้จัดการแผนกเป็นตัวแทนโจทก์เข้าทำสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก) การเช่าซื้อดังกล่าวจึงเท่ากับไม่ได้ทำเป็นหนังสือและเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
โจทก์มอบหมายให้ผู้จัดการแผนกเข้าทำสัญญาให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์กับจำเลยโดยมิได้แต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ การแต่งตั้งมอบหมายจึงเป็นโมฆะโจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ได้แต่งตั้งให้ผู้จัดการแผนกเป็นตัวแทนโจทก์เข้าทำสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก) การเช่าซื้อดังกล่าวจึงเท่ากับไม่ได้ทำเป็นหนังสือและเป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้ต้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม การอ้างใบรับหายแล้วอ้างพยานบุคคลไม่เพียงพอ
การที่จำเลยอ้างว่าใบรับชำระหนี้ซึ่งมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือหาย แล้วนำพยานบุคคลเข้าสืบว่า ใบรับนั้นโจทก์ผู้ให้ยืมพิมพ์ลายนิ้วมือให้ไว้ และมีคนลงนามในใบรับนั้นเพียงคนเดียวเช่นนี้ ไม่เป็นการแสดงว่าโจทก์ผู้ให้ยืมได้ลงลายมือชื่อตามกฎหมาย จึงเท่ากับจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-708/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดไถ่สัญญาขายฝาก, สิทธิไถ่ถอน, หนังสือไม่เป็นสัญญาประนีประนอม, ราคาไถ่รวมดอกเบี้ย
สัญญาขายฝากทำเมื่อ 30 กันยายน 2498 กำหนดไถ่ใน 15 เดือนวันสุดท้ายที่จะไถ่ คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1-2 มกราคม 2500 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3มกราคม 2500 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรค 2 มิได้บังคับว่าจะต้องมีใบรับเงินมาแสดง
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิฟ้อง
ข้อตกลงระหว่างทายาทที่ให้แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งไว้เป็นทางภารจำยอมนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนย่อมไม่บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 ผู้รับโอนที่ดินบางส่วนจากทายาทคนหนึ่ง ไม่มีสิทธิฟ้องให้เปิดทางภารจำยอม