คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือพิมพ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ข้อความดูหมิ่นผู้อื่นผ่านหนังสือพิมพ์เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
ฟ้องว่า จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ช่องสังคมอยุธยา โดยทิดแก้ว ว่า "วันก่อนเกินผ่านตลาดหัวรอได้ยินเสียเจ๊แต๋ว มาดามของคุณประสิทธิ์ มานะประเสริฐศักดิ์ บก. แหลมทอง ตะโกนลั่นกลางตลาดว่า ถ้าคนที่ชื่อสุชาติ บุญเกษม เดินผ่านหน้าร้านเมื่อไร จะถอดรองเท้าตบหน้าสักที เสียเท่าไหร่ก็ยอม จริงหรือเปล่าจ๊ะเจ๊ "ทิดแก้ว" กลัวจะไม่จริงดังปากว่าเท่านั้นแหละ แฮะ ๆ" ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328 ข้อความดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น เพราะทำให้ผู้เสียหายบังเกิดความอับอาย เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 เป็นการอ้างบทมาตราที่ผิด ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 393 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นด้วยการโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ ศาลฎีกาพิพากษากลับโดยใช้บทมาตรา 393 แทน 326, 328
ฟ้องว่า จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ช่องสังคมอยุธยา โดยทิดแก้ว ว่า"วันก่อนเดินผ่านตลาดหักรอได้ยินเสียงเจ๊แต๋วมาดามของคุณประเสริฐมานะประเสริฐศักดิ์บก.แหลมทองตะโกนลั่นกลางตลาดว่า ถ้าคนที่ชื่อสุชาติบุญเกษมเดินผ่านหน้าร้านเมื่อไรจะถอดรองเท้าตบหน้าสักทีเสียเท่าไรก็ยอม จริงหรือเปล่าจ๊ะเจ๊"ทิดแก้ว" กลัวจะไม่จริงดังปากว่าเท่านั้นแหละแฮะ ๆ" ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328ข้อความดังนี้เป็นข้อความดูหมิ่น เพราะทำให้ผู้เสียหายบังเกิดความอับอายเป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393เป้นการอ้างบทมาตราที่ผิด ศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 393 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2814/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการอนุมัติหนังสือพิมพ์และการใช้ดุลพินิจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 27 ใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขออนุญาตซึ่งมีสัญชาติอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 24(3) หรือยื่นคำขอออกหนังสือพิมพ์เป็นภาษาอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 24(4) โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และยื่นคำขออนุญาตออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องบังคับตามมาตรา 24 วรรคแรก ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2501 ข้อ 1. ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ใช้ดุลพินิจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรือสั่งเป็นประการอื่นตามความเหมาะสมแก่กรณีเป็นเรื่องๆ ไป ดังนั้น ที่จำเลยมีคำสั่งคำขอของโจทก์ว่า เห็นสมควรรอไว้ก่อนจนกว่าพระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับใหม่จะประกาศใช้ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 มาตรา 33 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและผลกระทบต่อชื่อเสียง การแก้ไขข่าว และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตพิมพ์สิ้นสุดเมื่อไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ตามกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็อ้างไม่ได้
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโดยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดใบอนุญาตผู้พิมพ์-โฆษณา-บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ กรณีไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ต่อเนื่องตามกฎหมาย แม้มีเหตุสุดวิสัย
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโทษหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากิจการหนังสือพิมพ์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ ถือเป็นโมฆะ
สัญญาเช่ากิจการพิมพ์และจ้างพิมพ์หนังสือซึ่งมีวัตถุประสงค์ว่าผู้เช่าเป็นฝ่ายตั้งกองบรรณาธิการเองโดยตลอด ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องคงอาศัยแต่ชื่อผู้ให้เช่าลงพิมพ์เป็นบรรณาธิการเท่านั้น เป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 24 เป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลต้องรับฟังพยานทั้งสองฝ่ายก่อนตัดสินว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการใส่ความทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ แล้วส่งไปโฆษณาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จำเลยให้การว่า จำเลยได้ร้องเรียนจริง โดยส่งคำร้องเรียนไปลงหนังสือพิมพ์ด้วยความสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับจำเลยตามคลองธรรมและเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริง ขอพิสูจน์ความจริง ดังนี้เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด และเพื่อมิให้จำเลยต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 329 (1) และมาตรา 330 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นคำให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลต้องรับฟังพยานทั้งโจทก์จำเลยก่อนชี้ขาดความผิด
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการใส่ความทำหนังสือร้องเรียนกล่าวหาโจทก์ แล้วส่งไปโฆษณาตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์จำเลยให้การว่า จำเลยได้ร้องเรียนจริงโดยส่งคำร้องเรียนไปลงหนังสือพิมพ์ด้วยความสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับจำเลยตามคลองธรรมและเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ข้อความที่ร้องเรียนเป็นความจริงขอพิสูจน์ความจริง ดังนี้เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด และเพื่อมิให้จำเลยต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 329(1) และมาตรา 330 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นคำให้การปฏิเสธ
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความผิด ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานของโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดไปทีเดียว จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศคำร้องไร้ความสามารถทางหนังสือพิมพ์และการหมดสิทธิคัดค้าน
การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งว่า ส.เป็นบุคคลไร้ความสามารถทางหนังสือพิมพ์รายวัน ถือว่าประกาศของศาลเป็นที่รู้กันทั่วไป เมื่อประกาศครบแล้วศาลชั้นต้นเริ่มทำการไต่สวน จึงเป็นการดำเนินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 แล้ว ผู้คัดค้านจะอ้างว่าไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่ศาลประกาศ ย่อมไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านไม่ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดตามที่ศาลประกาศ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิจะยื่นคำคัดค้าน
of 11