คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สินหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253 (2)หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้หลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะได้มีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบ เพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน/บริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นหุ้นส่วนและการรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ.น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ.เป็นที่ตั้งห้างฯ อ.บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯและกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์บังคับคดีต้องไม่เกินกว่าหนี้สินและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี แม้ทรัพย์ในบ้านไม่ชัดเจนก็ยึดที่ดินพร้อมบ้านได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินและบ้านของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินราคาไว้ 12,500,000 บาท โดยที่ดินและบ้านดังกล่าวติดจำนองธนาคาร เป็นหนี้จำนอง16,000,000 บาทเศษ ธนาคารดังกล่าวได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว ในวันทำการยึด บ้านจำเลยยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ อยู่ในระหว่างตกแต่งจำเลยไม่อยู่บ้าน เห็นได้ว่าไม่เป็นที่แน่นอนว่าทรัพย์สินในบ้านจะเป็นของจำเลยหรือไม่โจทก์ย่อมนำยึดที่ดินพร้อมบ้านซึ่งมีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นของจำเลยได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นของจำเลย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่ายึดทรัพย์เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคแรก การยึดทรัพย์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภรรยาในหนี้สิน: การร่วมรับผิดในหนี้จากการลงลายมือชื่อให้ความยินยอม
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดรับผิดหนี้ร่วมของห้างหุ้นส่วน และการจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องรับผิดในหนี้สินร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. เป็นหนี้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น 190,000 บาทเศษ โจทก์ย่อมฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ทั้งหมดดังกล่าวได้
จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ที่โจทก์จะฟ้องขอให้พิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายได้ ศาลหาจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามมูลหนี้ในฟ้องหรือไม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อขึ้นเมื่อทราบภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้เจตนาจะพยุงฐานะของลูกหนี้แม้จะกระทำโดยสุจริตก็ตาม เมื่อหนี้ที่ก่อขึ้นนี้เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94 (2)แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้ง แต่ถ้าตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปรากฏว่าเป็นหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลก็มีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 94 ประกอบด้วยมาตรา 106 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการผ่อนชำระงวด การสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ของสัญญากู้ยืมลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายนั้นถือได้ว่าบ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยที่1ที่2และส. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ. ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส.ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย การที่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและการที่บ. ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ฉะนั้นการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ. ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
of 48