พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้เงินกู้ได้ แม้ไม่ปรากฏในฟ้อง หากมีการนำสืบถึงความเป็นมาของหนี้ได้อย่างชัดเจน
จำเลยเป็นหนี้ค่าไม้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงเอาหนี้ค่าไม้จำนวนนี้มาทำเป็นสัญญากู้ตามฟ้อง ย่อมผูกพันบังคับกันได้อย่างหนี้เงินกู้ และการที่โจทก์นำสืบว่า สัญญากู้รายนี้เกิดจากการซื้อขายไม้ซึ่งจำเลยค้างชำระราคาอยู่ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ดังนี้ เป็นการนำสืบให้เห็นความเป็นมาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง หาใช่นอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล แม้มีการลดหนี้และทำสัญญาประนีประนอม เพราะหนี้เดิมยังไม่ระงับ
แม้สัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งแต่จำเลยได้ให้การและนำสืบรับเข้ามาว่าได้ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง ศาลจึงไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้
จำเลยค้ำประกัน ธ.ที่ทำงานกับโจทก์100,000บาทธ. ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์จำเลยยอมความกัน โจทก์ลดจำนวนเงินลงเหลือ 380,000 บาท ธ.ยอมใช้เงินโดยชำระในวันนั้นส่วนหนึ่งที่เหลือมีน.น้องธ. และภริยาธ. ออกเช็คลงวันล่วงหน้าให้กับทำสัญญาค้ำประกันให้ด้วย โจทก์ถอนคำร้องทุกข์ ศาลจำหน่ายคดีที่ ธ.ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเช็คของน.และธ. รับเงินไม่ได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันได้ การที่โจทก์ลดหนี้ให้ธ.และธ.ยังไม่ได้ใช้หนี้หนี้เดิมยังไม่ระงับและธ.ไม่ได้สละสิทธิหรือได้สิทธิอะไรจากโจทก์ ไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้เดิมยังอยู่ โจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันเดิมให้จำเลยรับผิด 100,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเปลี่ยนแปลงหลักประกันได้ ลูกหนี้มิใช่ผู้จำนองไม่มีสิทธิคัดค้าน การไถ่จำนองไม่ระงับหนี้เดิม
ส. จำนองที่ดินค้ำประกันหนี้ของโจทก์ จำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ผู้จำนองกับผู้รับจำนองตกลงกันเปลี่ยนแปลงหลักประกันได้ โดยลูกหนี้ไม่มีสิทธิขัดขวาง จำนองระงับเพราะไถ่จำนอง ไม่ทำให้หนี้เดิมของลูกหนี้ซึ่งมิใช่ผู้จำนองระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่: การรับสภาพหนี้โดยลูกหนี้ร่วม ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้
จำเลยเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินของโรงเรียนของโจทก์ร. เป็นเสมียนการเงิน จำเลยได้กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์สูญหายไป แล้ว ร. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่ผู้จัดการโรงเรียนด้วยความรู้เห็นยินยอมของโจทก์ โดยยินยอมผ่อนใช้เงินให้ ดังนี้จะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หาได้ไม่ เพราะร. และจำเลยต่างก็เป็นลูกหนี้เดิมฐานละเมิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ไม่มีการเปลี่ยนตัวเอาลูกหนี้คนใหม่หรือบุคคลที่สามเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนลูกหนี้เดิมแต่อย่างใด มูลหนี้ฐานละเมิดซึ่งเป็นหนี้เดิมของจำเลยจึงหาระงับไปไม่ จำเลยไม่พ้นความรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังใช้บังคับได้ แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับหนี้เดิม
โจทก์ให้ ถ. กู้ยืมเงินไปโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้องถ.ให้ชำระหนี้แล้วโจทก์กับถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ ถ. ไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ของ ถ. ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันให้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นได้เพราะการที่โจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ก่อหนี้ใหม่ แต่เป็นหลักฐานการสงวนสิทธิเรียกร้องเดิม และการชำระหนี้บางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ทั้งหมด ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
การรับสภาพหนี้ มิใช่เป็นการก่อให้เกิดหนี้ขึ้นใหม่ในตัวเองแต่ก็เป็นนิติกรรมประเภทสงวนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ในมูลหนี้เดิมให้คงอยู่ต่อไปและไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ถ้าหากจำเลยได้รับสภาพหนี้โดยชอบและหนังสือรับสภาพหนี้ถูกต้อง
ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆงวดแรกคือวันที่ 31 ตุลาคม 2506 แล้วจำเลยได้ผ่อนชำระมาเป็นคราวๆ แต่ไม่ตรงตามงวด ครั้งหนึ่งชำระด้วยเช็คเงินสดลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2511 ถือได้ว่าจำเลยรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้เงินบางส่วนแก่โจทก์ อันเป็นผลให้อายุความ 5 ปีสำหรับการชำระเงินงวดแรกซึ่งยังไม่ครบ กำหนดสะดุดหยุดลงและการที่จำเลยมิได้ชำระเงินครบถ้วนตามงวดดังที่ตกลงกันไว้ต้องถือว่าการชำระหนี้บางส่วนดังกล่าวเป็นการรับสภาพหนี้รายพิพาททั้งหมดด้วย
ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆงวดแรกคือวันที่ 31 ตุลาคม 2506 แล้วจำเลยได้ผ่อนชำระมาเป็นคราวๆ แต่ไม่ตรงตามงวด ครั้งหนึ่งชำระด้วยเช็คเงินสดลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2511 ถือได้ว่าจำเลยรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้เงินบางส่วนแก่โจทก์ อันเป็นผลให้อายุความ 5 ปีสำหรับการชำระเงินงวดแรกซึ่งยังไม่ครบ กำหนดสะดุดหยุดลงและการที่จำเลยมิได้ชำระเงินครบถ้วนตามงวดดังที่ตกลงกันไว้ต้องถือว่าการชำระหนี้บางส่วนดังกล่าวเป็นการรับสภาพหนี้รายพิพาททั้งหมดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันครอบคลุมหนี้เดิมและดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณี
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัทจึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้เดิมและหนี้ในอนาคต ข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัท จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาของผู้รับเรือนไม่ได้เป็นการแปลงหนี้เดิม แม้จะมีการผ่อนผันชำระหนี้กับผู้รับเรือน
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือนยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งโดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้วจะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำ ช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช.เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำ ช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช.เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ แม้โจทก์ไม่โต้แย้ง แต่หากมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้เดิม ก็ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย. จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยจะต้องรับผิดบ้างก็ขอหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าซึ่งโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยอยู่. แม้โจทก์จะมิได้แถลงโต้แย้งเกี่ยวกับข้อที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้. แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความเป็นพยานว่า การชำระค่าเช่าโจทก์ชำระล่วงหน้า 6เดือน. ต่อจากนั้นโจทก์ก็ชำระบ้างไม่ชำระบ้าง. ส่วนใบรับเงินโจทก์ได้รับบ้างไม่ได้รับบ้าง. แสดงว่าโจทก์ยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าเช่าที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้นั้นอยู่. จำเลยจึงจะนำหนี้ค่าเช่ามาขอหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่. ศาลไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นหนี้ค่าเช่าจำเลยอยู่จริงดังจำเลยกล่าวอ้างหรือไม่.