คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างทำของ vs. ซื้อขาย: หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกเลิกการประเมิน และของดหรือลดเบี้ยปรับโดยให้เหตุผลว่า ในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยถือความเข้าใจและความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ หากมีกรณีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้คำถามนำ และใช้คำพูดในเชิงใช้อำนาจอันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมสรรพากร พร้อมทั้งโจทก์ได้ยื่นหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมาพร้อมด้วย คำอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการครูค้ายาเสพติดรายใหญ่ ศาลยืนโทษจำคุก 25 ปี พิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมและบทบาทหน้าที่
จำเลยที่3กับพวกถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับพร้อมเมทแอมเฟตามีน80,000เม็ดนับว่าของกลางมีจำนวนมากถือได้ว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่จำเลยที่3รับราชการครูซึ่งสังคมถือว่าเป็นปูชนียบุคคลจึงสมควรประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชนแต่จำเลยที่3กลับกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเสียเองศาลกำหนดโทษจำคุกจำเลยที่3มีกำหนด50ปีตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา89ประกอบพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา10,12ซึ่งเป็นบทลงโทษข้าราชการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นแต่ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงได้ไม่เกิน50ปีแล้วลดโทษให้จำเลยที่3กึ่งหนึ่งคงจำคุก25ปีเหมาะสมแก่ความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7986/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อเด็กในความดูแล: หน้าที่ควบคุมดูแลนอกเวลาราชการมีผลต่อการรับโทษ
ความหมายของข้อความที่ว่า ศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนหรือเคยสอนศิษย์ เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีหน้าที่ดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ เพราะเหตุเกิดที่บ้านพ.และอยู่นอกเวลาควบคุมดูแลของจำเลย การกระทำของจำเลยก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในความดูแล ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า ผู้เสียหายเป็นผู้อยู่ในความควบคุมของจำเลยตามหน้าที่ราชการ เมื่อเป็นข้อที่มิได้กล่าวในฟ้องจึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินของโจทก์ร่วม: ผู้จัดการมีหน้าที่ส่งมอบเงินแต่ไม่ส่งมอบถือเป็นความผิดฐานยักยอก
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก.2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก.จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส.กรรมการของบริษัทก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก.แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก.ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก.ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานตามมาตรา 157: การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและขอบเขตหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและจัดเก็บค่าธรรมเนียม ตลอดทั้งภาษีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จำเลยกลับรับค่าธรรมเนียมดังกล่าวโดยไม่ออกใบเสร็จรับเงินแล้วนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งเรียกเก็บเงินเกินอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
วันเวลาเกิดเหตุในคำฟ้องเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ใช่สาระสำคัญของคำฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลากระทำผิดที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่จำเลยก็นำสืบรับว่าได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ดังนี้ จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
กรณีที่เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา157 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้น ต้องเป็นหน้าที่โดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงย่อมไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ จ. ฉ.และ ช.แต่เพียงว่า จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน ควบคุมและดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีเงินได้เกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ มิได้บรรยายว่า จำเลยมีหน้าที่ในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือรับค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ จ.ฉ. และ ช.ดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่คู่ความในการมาศาล และผลของการไม่ตรวจสอบข้อมูลนัดความ
เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลจึงมีหน้าที่ต้องนำข้อเท็จจริงมาแสดงต่อศาล หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็จำต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว คดีนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและได้กลับไปเพราะตรวจบัญชีนัดความของศาลในช่วงเช้าแล้วไม่พบรายชื่อคู่ความ โดยมิได้ตรวจดูบัญชีนัดความในช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่คดีของโจทก์ได้นัดไว้ในช่วงบ่าย และมิได้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ศาลแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดพลาดของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เองดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: หน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมและอำนาจศาล
โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ได้ตกลงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่กฎหมายบัญญัติไว้จำเลยที่ 1 ผู้จะขายจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสิ้นแทนโจทก์อันจะทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เช่นนั้นด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ มิใช่ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์หรือฟ้องเรียกที่ดินพิพาทของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสาม ศาลจึงไม่มีอำนาจพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองและการไถ่ถอนจำนอง: โจทก์มีหน้าที่ไถ่ถอนจำนองเมื่อได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาท กับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น
เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: ผู้ซื้อมีหน้าที่ดำเนินการนำเข้าเมื่อมีข้อตกลงในสัญญา
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเข้าใจได้ว่าเจตนาของจำเลยต้องการซื้อเลื่อยโซ่ยนต์ที่เป็นของผลิตจากต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปหรือทวีปอเมริกาเป็นของใหม่ซึ่งไม่เคยถูกใช้งานมาก่อนโดยโจทก์จะต้องสามารถแสดงหลักฐานในเรื่องนี้จากโรงงานผู้ผลิตต่อจำเลยได้หากจำเลยสงสัยว่าไม่ใช่ของใหม่อีกทั้งในสัญญาซื้อขายยังกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ขอยกเว้นค่าภาษีอากรขาเข้าให้แก่โจทก์แสดงว่าเลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยตกลงซื้อจากโจทก์จะต้องเป็นเลื่อยโซ่ยนต์ที่โจทก์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนที่จำเลยอ้างว่าตามสัญญาซื้อขายไม่ปรากฏข้อความที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อมีหน้าที่เป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใดนั้นเมื่อได้ความว่าสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อได้เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่โจทก์ต้องส่งมอบให้แก่จำเลยโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายในการขออนุญาตนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ขออนุญาตนำเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยตามที่อ้างจำเลยก็คงไม่มีหนังสือขออนุญาตถึงอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ดังกล่าวข้างต้นส่วนการที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและอธิบดีกรมป่าไม้ไม่อนุญาตก็เนื่องจากเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีและประกาศกระทรวงพาณิชย์จำเลยก็ควรเสนอเรื่องต่อกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้นำเรื่องขออนุญาตนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรีให้นำเข้าได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อนำไปใช้ในราชการแต่จำเลยกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ถูกต้องจนสินค้าถูกกรมศุลกากรยึดจึงถือได้ว่าการนำเข้าสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุขัดข้องจากทางฝ่ายจำเลยจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาสินค้าเลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องที่ถูกยึดให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและการค้ำประกันหนี้: ผลกระทบจากคำพิพากษาเดิมและหน้าที่ของผู้แทน
จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของ ม. และโจทก์เคยฟ้อง ม. และจำเลยทั้งสามกับพวกในเรื่องตัวแทนละเมิดมาแล้ว คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามในฐานะกรรมการโจทก์สมคบร่วมกันจ่ายเงินโจทก์ซื้อหุ้น เกินไปกว่าราคาที่โจทก์ซื้อรวม 10,814,416.53 บาทจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้คืนโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 144 วรรคหนึ่งอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ม. อีก ส่วนที่จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของธ. และ ม.นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ธ.และ ม.เป็นหนี้โจทก์จริง ดังนั้น แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ธ.และ ม. ลูกหนี้โจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการเข้าโครงการ4 เมษายน เพื่อรับสิทธิรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้มีเจตนาผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม ก็ปรากฏว่าขณะทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสามเป็นผู้แทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการซึ่งถือว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคล จึงถือว่าความรู้ของจำเลยทั้งสามเป็นความรู้ของโจทก์ไม่ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 74 ส่วนจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่ามีกรรมการคนอื่นของโจทก์รู้เห็นด้วยเมื่อธ.และม.เป็นหนี้โจทก์จริง และจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาค้ำประกันบุคคลทั้งสองไว้ต่อโจทก์เช่นนี้สัญญาค้ำประกันก็ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
of 71