พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561-2562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า: การให้อภัยในความผิด, การอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น, สิทธิในทรัพย์สิน และค่าเลี้ยงชีพ
แม้จะฟังได้ว่าข้อกล่าวหาของโจทก์เป็นเหตุหย่าตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ให้อภัยในการกระทำของจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518
โจทก์นำ จ. มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1)
เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526
โจทก์นำ จ. มาอยู่ในบ้านโจทก์และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาจนมีบุตรด้วยกัน 1 คน โดยโจทก์ให้ใช้นามสกุลของโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภรรยา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ให้อภัยในการกระทำของโจทก์ จำเลยจึงมีเหตุฟ้องหย่าโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1516 (1)
เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ทั้งจำเลยไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรโดยโจทก์เคยให้เงินจำเลยเป็นค่าใช้จ่าย การที่โจทก์หย่ากับจำเลยทำให้จำเลยยากจนลง จำเลยจึงมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1526
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสต้องหลังหย่า การจำหน่ายสินสมรสระหว่างเป็นสามีภริยาไม่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องแบ่งสินสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 การจะแบ่งสินสมรสได้ต้องมีการหย่ากันเท่านั้น เมื่อไม่มีการหย่าแม้คู่สมรสจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว มาตรา 1534 ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 กฎหมายมิได้มุ่งประสงค์ให้แบ่งสินสมรสกันได้หากคู่สมรสยังเป็นสามีภริยากันอยู่ ฉะนั้น แม้โจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์สินสมรสแต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงคำขอของโจทก์ให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรสเท่านั้น เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, และการบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ต่อมาโจทก์ได้ทำร้ายจำเลยทั้งสองฝ่ายไม่ประสงค์จะเป็นสามีภริยากันต่อไป จึงไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจ โดยให้เจ้าพนักงานตำรวจทำบันทึกว่า โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกันและจะแบ่งทรัพย์สินกันตามบันทึก ซึ่งมีร้อยตำรวจโทส. และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการหย่าและเพื่อให้จำเลยไม่ติดใจเอาความโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยได้รับทรัพย์สินจากโจทก์เป็นการตอบแทน เมื่อมิได้เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลใช้เป็นหลักฐานแห่งการหย่าได้ตามมาตรา 1514 วรรคสอง และยังใช้บังคับในเรื่องการแบ่งทรัพย์สินตามบันทึกนั้นได้ด้วย ข้อตกลงเรื่องการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นข้อตกลงที่แบ่งแยกจากกันมิได้ จึงมิได้เป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างเดียวโดยตรง อันจะมีผลทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินที่ว่าโจทก์ตกลงขายรถยนต์ที่โจทก์ใช้อยู่โดยจะแบ่งเงินที่ขายได้ให้แก่โจทก์ 20,000 บาทจำเลยจะจ่ายให้ทันที่ 10,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยจะจ่ายเป็นเช็คให้อีก 10,000 บาท มีกำหนด 1 เดือน นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังใช้รถยนต์อยู่มิได้ขายตามข้อตกลง ส่วนจำเลยก็ชำระเงินให้โจทก์ไปเพียง 10,000 บาท ดังนั้น เมื่อข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดถึงกรณีที่มิได้ขายรถไว้ว่าคู่กรณีตกลงกันอย่างไร จึงต้องตีความโดยนัยที่จะทำให้เป็นผลบังคับได้ เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะได้เงินจากการขายรถเพียง 20,000 บาท เงินส่วนที่เหลือจากการขายเป็นของจำเลยทั้งหมด เมื่อไม่มีการขายรถ จำเลยจึงควรจะเป็นผู้มีสิทธิจัดการเกี่ยวกับรถนั้นโดยชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อตกลงจำนวน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบรถให้แก่จำเลย บันทึกข้อตกลงในการหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจะใช้บังคับทรัพย์สินอื่นที่มีอยู่ก่อนหรือได้มาหลังข้อตกลงนอกจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงนั้นไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างนั้นจึงต้องเป็นสินสมรสที่จะต้องนำมาแบ่งครึ่งกั สร้อยคอทองคำและพระเครื่องที่จำเลยซื้อให้แก่โจทก์ระหว่างสมรสเป็นทรัพย์ที่เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของโจทก์โดยเฉพาะ จึงเป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากมีการตกลงจะหย่ากัน เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นสินสมรส การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1531 วรรคสอง คู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 16 ก็บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียเพียงแต่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนเท่านั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนหย่า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาตามคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินโดยผู้มีกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยจำเลยที่ 1 มิได้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยแต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 187
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของสมรสโดยการหย่าก่อนการฟ้องร้อง ทำให้การสมรสซ้อนไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ภายหลังผู้ร้องทราบว่า ก่อนที่ ป. จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องได้เคยจดทะเบียนสมรสกับส.มาก่อน แม้ผู้ร้องกับป.ได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ป.มีคู่สมรสอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับป. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452,1496และตามมาตรา 1495 จะบัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นจะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ แต่ตามมาตรา 1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อการสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับ ป.จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บ้านที่สร้างระหว่างสมรสเป็นสินสมรสต้องแบ่งเท่ากัน
ผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อ 4 ธันวาคม 2504บ้านพิพาทปลูกในระหว่าง พ.ศ. 2517 ถึง 2524 หลังจากที่ผู้ร้องที่ 1ซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านมาเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้ว จึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรสกันได้มาระหว่างสมรสอันเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474(1) เมื่อผู้ร้องที่ 1และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากัน ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชาย และหญิงได้ส่วนเท่ากัน เมื่อยังไม่มีการแบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสนั้นจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของร่วมกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินยังเป็นของร่วมกันจนกว่าจะแบ่ง
ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2187/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: แม้หย่าและศาลไม่ได้กำหนดให้จ่าย ก็ฟ้องได้ในฐานะผู้ปกครอง
บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมกันแม้โจทก์จำเลยจะหย่าขาดจากกัน และศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง จ. บุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในนามตนเองได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมารดาและผู้ใช้อำนาจปกครองไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนผู้เยาว์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1565 ไม่เป็นคดีอุทลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงให้ศาลวินิจฉัยสิทธิปกครองบุตรและค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังหย่า คำพิพากษาถือเป็นที่สุด
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์หรือจำเลยสมควรเป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสองกับประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยไม่ต้องมีการสืบพยานกันต่อไป โดยโจทก์จำเลยแถลงเรื่องฐานะและรายได้ต่อศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยดังนี้ เท่ากับคู่ความตกลงกันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดในประเด็นที่กล่าวมาแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็นที่ตกลงกันโดยพิจารณาตามเหตุผลที่เห็นว่าสมควรและเหมาะสม และไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อเหตุผลอย่างไรแล้ว ก็ต้องบังคับคดีไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว จำเลยจะโต้เถียงว่าตนเป็นผู้สมควรจะปกครองบุตรมากกว่าโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงให้ศาลวินิจฉัยสิทธิปกครองบุตรและการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังหย่า ย่อมผูกพันคู่ความ
การที่โจทก์และจำเลยแถลงในวันชี้สองสถานว่ายินยอมหย่ากันโดยไม่สืบพยาน แต่ขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นที่ว่า โจทก์หรือจำเลยสมควรเป็นผู้ปกครองบุตรทั้งสองกับประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยไม่ต้องมีการสืบพยานกันต่อไปโดยคู่ความแถลงเรื่องฐานะและรายได้ต่อศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็นที่ตกลงกันโดยพิจารณาตามเหตุผลที่เห็นว่าสมควรและเหมาะสม โดยให้โจทก์ผู้เป็นมารดาเป็นผู้ปกครองบุตรสาวคนโตอายุ 8 ปี และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสาวเดือนละ 1,000 บาทจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ ส่วนบุตรชายคนเล็กอายุ 6 ปี ให้จำเลยผู้เป็นบิดาเป็นผู้ปกครองแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อเหตุผลอย่างไรแล้ก็ต้องบังคับคดีไปตามคำวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว จำเลยจะโต้เถียงว่าตนเป็นผู้สมควรจะปกครองบุตรมากกว่าโจทก์หาได้ไม่.