คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากเป็นการลงทุนโดยสมัครใจ
การที่ผู้กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่3ต้องเป็นผลโดยตรงจากการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง บริษัทย. โดยจำเลยที่2ถึงที่5อ้างว่าได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายประกอบกิจการเกี่ยวกับการเป็นโบรคเกอร์ให้กับผู้ลงทุนในการติดต่อซื้อขายในสัญญาสกุลเงินตราต่างประเทศกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลกโดยบริษัทย.เป็นคอมมิสชั่นเฮ้าส์ของตลาดโลกซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแต่การที่โจทก์และบุคคลอื่นนำเงินไปลงทุนกับบริษัทย. เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสั่งขายเงินตราต่างประเทศมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรการที่จะได้กำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทั้งการประกอบกิจการดังกล่าวก็เป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของบริษัทย. หากแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเท่านั้นจึงเป็นความสมัครใจในการร่วมลงทุนการได้ไปซึ่งทรัพย์สินในการร่วมลงทุนมิได้เกิดจากผลโดยตรงจากการถูกหลอกลวงว่าบริษัทย. ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่2ถึงที่5จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่า หากไม่มีเจตนาแต่หลอกลวงเพื่อเอาเงิน แม้รับสารภาพก็ไม่ผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานมาตรา30วรรคหนึ่งนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ40,000บาทต่อเดือนซึ่งผู้เสียหายทั้งหกต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานได้คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้คงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามที่โจทก์ฟ้องแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: กรณีหลอกลวงรับสมัครงานและเรียกเก็บเงินประกัน/หุ้น
บริษัทมีเจตนาเพียงจะเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากประชาชนผู้มาสมัครงานโดยมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตัวกรรมการของบริษัทเองหรือเพื่อบริษัทอันเป็นการกระทำโดยทุจริตโดยประกาศหลอกลวงให้ประชาชนมาสมัครงานด้วยแสดงข้อความเท็จว่าให้สมัครเข้ามาทำงานแต่บริษัทหามีงานให้ทำไม่จำเลยที่1และที่2ในฐานะกรรมการบริหารงานของบริษัทย่อมจะต้องทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทไม่มีงานให้ทำแต่ก็ยังร่วมดำเนินการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานตลอดมาเป็นการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนและในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงานดังกล่าวเป็นเหตุทำให้บริษัทกับกรรมการของบริษัทได้ไปซึ่งเงินประกันการทำงานจากผู้สมัครการกระทำของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,343วรรคแรก การที่บริษัทได้รับผู้เสียหายเข้าทำงานแล้วได้ให้ผู้เสียหายซื้อหุ้นคนละ30หุ้นเป็นเงิน3,000บาทมีลักษณะเป็นการรับเข้าร่วมลงทุนและได้มีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้เสียหายโดยให้เงินปันผลหรือเงินค่าครองชีพเดือนละ135บาทจึงเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา3เมื่อบริษัทจัดให้มีผู้รับเงินในการรับสมัครงานที่มิชอบหรือจ่ายหรือตกลงหรือจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดดังกล่าวและในการกู้เงินดังกล่าวได้มีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเดือนละ135บาทหรือคิดเป็นอัตราถึงร้อยละ54ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำผิดตามมาตรา5แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นผู้ร่วมรับเงินที่ผู้เสียหายได้นำมาเข้าร่วมลงทุนเพื่อให้ผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวจึงมีความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ.2527มาตรา5 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ผู้หลอกลวงต้องประสงค์ต่อผลคือการทำงานของผู้ถูกหลอกลวงให้ประกอบการงานให้แก่ตนหรือบุคคลที่สามโดยจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือโดยจะใช้ค่าแรงงานต่ำกว่าที่ตกลงกันการกระทำของจำเลยที่1และที่2ที่ได้กระทำในนามของบริษัทโดยอ้างว่ามีงานให้ทำก็ดีการรับผู้เสียหายเข้าทำงานก็ดีการคืนเงินประกันการทำงานเมื่อครบกำหนด6เดือนแล้วก็ดีล้วนเป็นอุบายทุจริตคิดตั้งเรื่องขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อและมอบเงินให้แสดงว่าจำเลยที่1และที่2หลอกลวงผู้เสียหายให้ส่งมอบเงินแก่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นมิได้มีเจตนาหลอกลวงเพื่อมิให้มาทำงานเพราะความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำที่จำเลยที่1และที่2จัดให้มีการทำงานในช่วงแรกๆและจ่ายเงินเดือนให้ก็เป็นวิธีการในการหลอกลวงอย่างหนึ่งซึ่งต่อมาภายหลังก็ไม่มีงานให้ทำและไม่จ่ายเงินเดือนให้กรณีจึงมิให้เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ต่อผลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา344ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยรวมโทษทุกกระทงแล้วปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(2)ทั้งที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดคือความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงถึง20ปีนั้นไม่ถูกต้องที่ถูกต้องปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)รวมจำคุกคนละ50ปีแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งห้าคงแก้ไขให้ถูกต้องได้เฉพาะปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: คำคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นหลอกลวง
จำเลยชวนโจทก์ร่วมซื้อคอนโดมิเนียม ตึกแถว และที่ดินโดยยืนยันว่าอีก 4 เดือน จะมีผู้ซื้อต่อ และจำเลยให้ผู้เสียหายทำพิธีเสริมดวงและเรียกค่าครู โดยยืนยันว่าจะทำให้ดวงดีขายตึกแถวที่ดินได้ หรือบุตรจะมีบุญบารมีสูงกว่าบิดามารดา ผู้เสียหายกับสามีจะไม่ต้องหย่ากัน ล้วนเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ไม่ใช่คำหลอกลวงแต่เป็นคำคาดการณ์ แม้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่ายให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน: คำคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นหลอกลวงหากผู้เสียหายเข้าทำพิธีโดยสมัครใจ
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้กระทำความผิดต้องกระทำโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามการที่จำเลยชวนโจทก์ร่วมซื้อคอนโดมิเนียมตึกแถวและที่ดินโดยยืนยันว่าอีก4เดือนจะมีผู้ซื้อต่อการที่จำเลยให้ผู้เสียหายทำพิธีเสริมดวงและเรียกค่าครูโดยยืนยันว่าจะทำให้ดวงดีขายตึกแถวที่ดินได้หรือบุตรจะมีบุญบารมีสูงกว่าบิดามารดาผู้เสียหายกับสามีจะไม่ต้องหย่ากันล้วนเป็นคำยืนยันเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้นคำยืนยันดังกล่าวไม่ใช่คำหลอกลวงแต่เป็นคำคาดการณ์ที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่ายจึงมิได้เป็นผลจากการหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิด/หลอกลวง นิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะ อำนาจฟ้องโจทก์ที่ 2
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่1ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่1โดยสำคัญผิดว่าเป็นนิติกรรมการจดทะเบียนจำนองเพิ่มวงเงินตามคำหลอกลวงของจำเลยที่1กับสามีนิติกรรมระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1จึงตกเป็นโมฆะแล้วพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1เท่านั้นนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเช่นนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่2ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงว่าจะส่งไปทำงานต่างประเทศ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวก ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน 210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงส่งไปทำงานต่างประเทศ: เจตนาหลอกลวง, การกระทำร่วม, รอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดหญิงมีภาระ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวกผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหาย ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นจำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขบวนการหลอกลวงส่งไปค้าประเวณีต่างประเทศ: การกระทำผิดกรรมเดียวและความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสองว่า สามารถติดต่อส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือต่อได้ เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วมีคนมารับโจทก์ร่วมทั้งสองไปควบคุมตัวไม่ให้หลบหนี เพื่อให้โจทก์ร่วมทั้งสองทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงในการจัดส่งโจทก์ร่วมทั้งสองออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียวการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกขายของปลอมเป็นของโบราณ
การที่จำเลยนำของกลางมาขายให้ผู้เสียหายและบอกผู้เสียหายว่าของกลางเป็นวัตถุโบราณสมัยทวาราวดีหรือลพบุรี ซึ่งเป็นความเท็จ โดยจำเลยทราบดีว่าของกลางไม่ใช่ของจริง แต่หลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อเพื่อจะได้เงินจากผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกง และกรณีมิใช่ผิดสัญญาทางแพ่งเพราะมิใช่มีเจตนาซื้อขายกันแล้วจำเลยผิดสัญญาแต่เป็นเจตนาหลอกลวงเอาเงินผู้เสียหาย
of 50