คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (ปิดแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้
การที่โจทก์ปิดแสตมป์บนสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไม่บริบูรณ์ จะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมาตรา 680 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8697/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสมัครเลือกตั้งและการมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา: หลักฐานการรับสมัครที่สมบูรณ์
ในวันสมัครรับเลือกตั้งที่ผู้ร้องยื่นใบสมัครต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านได้บันทึกในใบสมัครว่า "ไม่รับเนื่องจากหลักฐานไม่มี (รูปถ่ายและหนังสือรับรองจากหัวหน้าพรรค)" ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้สมัครที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งได้ลงบันทึกและออกใบรับให้ ถึงแม้ว่า ก. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการการเลือกตั้งอนุมัติให้ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งได้ แต่หนังสือได้ออกเมื่อพ้นกำหนดวันรับสมัครแล้ว ทั้ง ก. ก็มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในขณะผู้ร้องยื่นใบสมัคร หนังสือดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องไว้แล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7720/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สัญญากู้เป็นหลักฐาน แม้ยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญา แต่ภายหลังได้ปิดและขีดฆ่าถูกต้องแล้ว ศาลรับฟังได้
ป. รัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดหรือขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ แม้ในขณะที่โจทก์อ้างส่งสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 1 ต่อศาลจะยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่ต่อมาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์ได้ขออนุญาตศาลปิดอากรแสตมป์ในตราสารนั้นเองเป็นเงิน 285 บาท ซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 5 ท้าย ป. รัษฎากร พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ครบถ้วนตามกฎหมาย ศาลย่อมรับฟังหนังสือสัญญากู้เอกสารหมาย จ. 1 เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ไม่จำต้องเสียเงินเพิ่มก่อนดังจำเลยอ้าง เพราะตามมาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114" ฉะนั้น การที่จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรโดยชำระเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 116 จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7617/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทต้องมีนิติสัมพันธ์ชัดเจน ศาลยกฟ้องหากโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ 74,000 บาท และสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้กู้ยืม จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยมอบเช็คให้แก่โจทก์ โจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จึงไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้กู้ยืมหรือไม่ ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องโจทก์รับโอนเช็คมาจากผู้อื่นโดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองยกมาตรา 916 มาปรับแล้ววินิจฉัยให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องคำให้การ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7428/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ แม้ข้อความจะถูกกรอกภายหลัง ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่ผูกพันได้
จำเลยให้การรับแล้วว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามที่โจทก์ฟ้องโดยจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในกระดาษที่ไม่มีการกรอกข้อความไว้ แม้หากข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามคำให้การของจำเลยว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารที่โจทก์กรอกข้อความขึ้นเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ยืมตามความเป็นจริงอัตราดอกเบี้ยก็ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงกันไว้ จึงเป็นการกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7012/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานการกู้ยืมและค้ำประกัน แม้ไม่ติดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้ ศาลสั่งค่าทนายความได้แม้ไม่มีผู้ขอ
เอกสารฉบับพิพาทไม่ใช่หนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นแต่เพียงหลักฐานการกู้ยืมเงินและหลักฐานการค้ำประกัน แม้โจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์มิได้ขอให้จำเลยใช้ค่าทนายความแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167เป็นบทบัญญัติบังคับศาลต้องมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้ไม่มีผู้ขอก็ตามค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องนี้จึงหาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินและการผิดนัดชำระหนี้ รวมถึงดอกเบี้ย
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป.(หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึง จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน: การตีความข้อตกลงและดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่า เงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไปถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม2537 จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืม สำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงจำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังความในตอนท้ายที่ลงชื่อว่าผู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารบันทึกการรับเงินเป็นหลักฐานการกู้ยืม การคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้
จำเลยได้รับเงินจำนวน 40,000 บาท ไปจากโจทก์และได้ทำบันทึกไว้ให้แก่โจทก์ ระบุไว้ทำนองว่าเงิน 40,000 บาท ที่จำเลยเอาไป ถ้า ป. (หมายถึงพี่สาวจำเลย) ไม่สามารถส่งให้ทันสิ้นเดือนธันวาคม 2537จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ ลงชื่อจำเลยผู้ยืมและโจทก์ผู้ให้ยืมสำหรับคำว่า จำเลยจะค้ำประกันรับผิดชอบให้ หมายถึงว่า จำเลยรับรองจะคืนเงินให้นั่นเอง หากพิจารณาข้อความในเอกสารดังกล่าวทั้งหมดรวมกันแล้วก็จะได้ความว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และปรากฏข้อความว่าจำเลยได้รับเงิน 40,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วหากภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ถ้าพี่สาวจำเลยไม่ใช้ให้จำเลยรับรองและรับผิดชอบจะคืนให้ กรณีจึงมีความหมายเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งแล้ว
หลักฐานการกู้ยืมเงินกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในวันสิ้นเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งก็คือวันที่ 31 ธันวาคม 2537 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเบิกความประจักษ์พยานที่ไม่น่าเชื่อถือและมีพิรุธ ทำให้ขาดหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
การที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยอาศัยเพียงคำเบิกความของประจักษ์พยานเพียงปากเดียวนั้น คำเบิกความของประจักษ์พยานต้องมีน้ำหนักมั่นคง ประกอบด้วยเหตุผลน่าเชื่อถือควรแก่การรับฟังพอจะลงโทษจำเลยได้
คำเบิกความของ น. ประจักษ์พยานโจทก์ปากเดียวที่เบิกความว่า เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดย ศ. บุตร น. ก็เห็นเหตุการณ์ด้วยแม้การที่โจทก์ไม่นำ ศ. เข้าเบิกความจะไม่เป็นข้อพิรุธ แต่คำเบิกความของ น. มีข้อพิรุธขัดต่อเหตุผลอยู่หลายตอนคือ น. ยืนยันว่า ผู้เสียหายวางกระเป๋าสตางค์ไว้ที่เขียงสับหมูแต่เมื่อน.ตอบคำถามศ. ว่ากระเป๋าสตางค์ดังกล่าวน่าจะเป็นของจำเลย แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในข้อเท็จจริง จึงไม่ตอบว่าเป็นของผู้เสียหาย และเมื่อ น. เห็นจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ไปไม่ได้ทักท้วง ซึ่งเป็นการขัดต่อวิสัยและเหตุผล เพราะผู้เสียหายเป็นลูกค้าประจำ ส่วน น. มีอาชีพค้าขายตามวิสัยย่อมต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า นอกจากนี้ น. เบิกความเกี่ยวกับธนบัตรที่ผู้เสียหายจ่ายเป็นค่าก๋วยเตี๋ยวว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 50 บาท แตกต่างกับผู้เสียหายที่เบิกความว่าเป็นธนบัตรฉบับละ 20 บาท 3 ใบ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ส่วนที่ น. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยหยิบกระเป๋าสตางค์ผู้เสียหายไป หรือพาเจ้าพนักงานตำรวจไปค้นบ้านจำเลย หาเป็นเหตุผลให้รับฟังว่า น. เห็นจำเลยหยิบเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป และการจับกุมจำเลยไม่พบกระเป๋าสตางค์หรือของกลางใด ๆ จากจำเลย ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
of 133