พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย แต่มีหลักเกณฑ์ต่างกัน
แม้ตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งแก้ไขโดยประกาศฯ ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 จะมิได้ระบุ งานจ้างบางลักษณะที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย อันเป็นข้อยกเว้น ดังที่เคยมีอยู่ก็ตาม ก็มิได้หมายความว่านายจ้างและลูกจ้างจะทำ สัญญาต่อกันเกี่ยวกับเงินค่าชดเชยไม่ได้เสียเลย ประกอบทั้งนายจ้าง ยังให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างเพราะจ่ายให้มากกว่าเงินค่าชดเชยตาม กฎหมายเสียอีก ดังนี้ ข้อตกลงและระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จ พนักงานดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเป็นของนายจ้าง แม้มีหลักเกณฑ์ แต่ต้องพิจารณาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้
การให้บำเหน็จความชอบแก่พนักงานเป็นอำนาจโดยเฉพาะของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหาใช่เป็นสิทธิของพนักงานไม่ การพิจารณาขึ้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นมีหลักเกณฑ์วางไว้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนเพราะเหตุข้อเดียวที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีวันลาป่วยเกินสิทธิข้ออ้างของจำเลยนี้ฟังไม่ได้ยังมีหลักเกณฑ์ข้ออื่น ๆ อีกที่จำเลยไม่ได้พิจารณาจำเลยจึงต้องพิจารณาความดีความชอบประจำปีของโจทก์ใหม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่
แม้จำเลยจะมอบให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นใช้ดุลพินิจเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีปกติหนึ่งขั้นของพนักงานตามหลักเกณฑ์และคำสั่งของจำเลยเพราะมีพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามแต่ขั้นสุดท้ายก็เป็นอำนาจของผู้อำนวยการธนาคารจำเลยที่จะพิจารณาสั่งและตามคำสั่งของจำเลยก็กำหนดไว้ชัดว่าผู้ที่จะสั่งขึ้นเงินเดือนหรือไม่ขึ้นเงินเดือนก็คือผู้อำนวยการธนาคารจำเลย กรณีจึงหาใช่เป็นอำนาจพิจารณาเด็ดขาดของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักผลขาดทุนสุทธิยกมาเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ต้องทำตามขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 ในแต่ละปีตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ผลการขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันซึ่งยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(12) นั้น หมายความว่าผลขาดทุนที่ยกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ แต่ต้องยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจุบัน ดังนั้น โดยวิธีการทางบัญชีดังกล่าวเมื่อโจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 โจทก์ ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 ให้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด.5ข้อ 1(4) เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513แต่ถ้าไม่มีกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในรอบปี พ.ศ. 2512 โจทก์ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้หักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่โจทก์จะเอาผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ. 2516 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบหลักเกณฑ์ปัญหาสำคัญและอนุญาตให้สู้คดี
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีและในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู้การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: หลักเกณฑ์ประกันภัยไม่ใช่เกณฑ์คำนวณความเสียหาย
หลักเกณฑ์การประกันภัยสากลในเรื่องรับประกันชีวิตบุคคลผู้มีอายุเกิน 40 ปีนั้น เป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจเพื่อความมั่นคงของบริษัทรับประกันภัยหาใช่เกณฑ์คำนวณค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันแท้จริง อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งมีอายุ 53 ปี ไม่ควรได้รับค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุเสื่อมเสียความสามารถในการประกอบการงานเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากการทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235-241/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่, ค่าอ้างเอกสาร, และการรับฟังพยานบุคคล: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสองนั้นเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ต้องมีการโต้แย้งไว้ภายหลังมีคำสั่งนั้นแล้ว คู่ความที่โต้แย้งจึงจะยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
การที่โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารไม่ครบ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่เสียเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้โจทก์เสียให้ครบและโจทก์เสียครบแล้ว ก็รับฟังเอกสารทั้งหมดเป็นพยานได้
ตัวโจทก์มิได้มาเบิกความเป็นพยาน แต่บุตรโจทก์มาเบิกความในฐานะเป็นพยานโจทก์โดยเป็นผู้รู้เห็นเรื่องราวที่เบิกความเอง ดังนี้ บุตรโจทก์หาใช่เบิกความเป็นพยานแทนตัวโจทก์ไม่ คำของบุตรโจทก์จึงรับฟังเป็นพยานได้ตามกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน
การที่โจทก์เสียค่าอ้างเอกสารไม่ครบ ไม่ปรากฏว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนไม่เสียเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้โจทก์เสียให้ครบและโจทก์เสียครบแล้ว ก็รับฟังเอกสารทั้งหมดเป็นพยานได้
ตัวโจทก์มิได้มาเบิกความเป็นพยาน แต่บุตรโจทก์มาเบิกความในฐานะเป็นพยานโจทก์โดยเป็นผู้รู้เห็นเรื่องราวที่เบิกความเอง ดังนี้ บุตรโจทก์หาใช่เบิกความเป็นพยานแทนตัวโจทก์ไม่ คำของบุตรโจทก์จึงรับฟังเป็นพยานได้ตามกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์: หลักเกณฑ์การมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทน และข้อจำกัดของเอกสารมอบอำนาจ
ตามธรรมดาบุคคลย่อมตั้งตัวแทนทำแทนตนได้เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษทำนองว่า ให้ต้องกระทำด้วยตนเอง หรือตามสภาพไม่เปิดช่อง ให้มอบหมายจัดการแทนกันได้
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
เรื่องร้องทุกข์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 และ 5 นั้น มิใช่หมายความว่า ห้ามขาดไม่ให้มีการมอบอำนาจกัน เป็นแต่บัญญัติให้บุคคลดังกล่าวในมาตรา 5มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนกิจการในมาตรา 3 กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่า กรณีใดมีกฎหมายห้าม หรือเป็นกรณีตามสภาพต้องกระทำเองหรือไม่ เรื่องร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
หนังสือถึงพนักงานสอบสวน ซึ่งมีข้อความว่า "เนื่องด้วยธนาคารมีเรื่องบางอย่างที่ต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจแต่เนื่องจากข้าพเจ้า(กรรมการผู้จัดการนิติบุคคล) มีกิจจำเป็นไม่สามารถมาแจ้งความด้วยตนเองได้ โดยหนังสือฉบับนี้ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้นายสุรินทร์เจ้าหน้าที่ของธนาคารเป็นผู้แจ้งความแทนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าขอรับรองผิดชอบในการที่นายสุรินทร์ปฏิบัติแทนข้าพเจ้า" และลงชื่อกรรมการผู้จัดการนิติบุคคลนั้น ถือว่าไม่ใช่คำร้องทุกข์โดยตนเองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123 จะว่าเป็นการมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ก็ไม่ถนัด เพราะการแจ้งความนั้น อาจเป็นการร้องทุกข์ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้ และก็ไม่มีข้อความให้เห็นว่าให้มาแจ้งความเรื่องอะไร อันจะพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นการมอบให้มาร้องทุกข์ถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องร้องตั๋วแลกเงินและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
ตั๋วแลกเงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนข้อกำหนดลงไว้ว่าไม่จำต้องมีคำคัดค้านนั้น เมื่อถึงกำหนดผู้ทรงยื่นตั๋วเงินให้ผู้รับรองจ่ายเงินผู้รับรองไม่จ่ายผู้ทรงไม่ต้องทำคำคัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมบูรณ์และการใช้ ม.47(3) ป.วิ.พ.
จะนำบทบัญญัติของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.47(3) มาใช้ก็แต่ในกรณีที่ศาลมีความสงสัยในความแท้จริงของใบมอบอำนาจ จึงจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตาม ม.47(3) ถ้าใบมอบอำนาจใดศาลเชื่อแล้วก็ไม่ต้องนำ ม.47(3) นี้มาใช้และ ม.47(3) นี้ไม่ใข่บทบัญญัติที่บัญญัติถึงแบบของใบมอบอำนาจอย่างใดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยที่มีโทษรอการลงโทษ และหลักเกณฑ์การเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกและปรับ แต่โทษจำคุกรอการลงอาญาไว้ เช่นนี้ ศาลจะเพิ่มโทษจำเลยในคดีหลังตามมาตรา 42 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ระบุไว้เป็นพิเศษเช่นของเดิมและจะเพิ่มโทษตามมาตรา 72 ก็ไม่ได้ เพราะโทษที่รอไว้ยังไม่ได้รับจริง ไม่เรียกว่าพ้นโทษไปแล้ว