พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนหลายกรรมต่างกัน จำเลยต้องรับโทษตามจำนวนกรรมที่กระทำ
จำเลยหลอกลวงประชาชนโดย วิธีประกาศโฆษณา ณ ที่หน้าที่ทำการของจำเลยและโดย ทางหนังสือพิมพ์หลายครั้ง มีผู้เสียหายหลายคน มาสมัคร ไปทำงานในต่างประเทศกับจำเลยตาม ที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละ เวลากัน และจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากันการ กระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนหลายกรรมต่างกัน หาใช่จำเลยมีเจตนามุ่งกระทำต่อ ประชาชนเพียงครั้งเดียว และเป็นความผิดเพียงกรรมเดียวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ในการทำงานต่างประเทศถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดย วิธี ประกาศโฆษณา ณที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดย ทางหนังสือพิมพ์ หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศ กับจำเลยตาม ที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานมีอาวุธปืนและพกพาอาวุธปืนว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม และการใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษ
แม้ในคำฟ้องโจทก์จะบรรยายการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครอง และฐานพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนนั้นไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะเป็นวันเวลาเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ จึงมิใช่ความผิดกรรมเดียวแต่เป็นความผิดสองกรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร ทั้งอาวุธปืนที่จำเลยพกพาไปก็ยังเป็นอาวุธปืนชนิดทำเองและไม่มีหมายเลขทะเบียนประจำอาวุธปืนอีกด้วย แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน กับได้ให้การรับสารภาพมาโดยตลอด และหากจะฟังตามข้ออ้างของจำเลยว่าจำเลยเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจนได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน กรรมการวัด และผู้สื่อข่าวสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กับต้องมีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ถ้าจำเลยถูกจำคุก ครอบครัวของจำเลยจะได้รับความลำบากเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษให้จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร ทั้งอาวุธปืนที่จำเลยพกพาไปก็ยังเป็นอาวุธปืนชนิดทำเองและไม่มีหมายเลขทะเบียนประจำอาวุธปืนอีกด้วย แม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน กับได้ให้การรับสารภาพมาโดยตลอด และหากจะฟังตามข้ออ้างของจำเลยว่าจำเลยเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจนได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน กรรมการวัด และผู้สื่อข่าวสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กับต้องมีภาระเลี้ยงดูครอบครัว ถ้าจำเลยถูกจำคุก ครอบครัวของจำเลยจะได้รับความลำบากเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษให้จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษหลายกรรมต่างกันจากเช็ค และการเข้าสู่คดีของจำเลยที่ ๑ โดยการตั้งทนาย
โจทก์ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค ๒ ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา ๙๑ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๖เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ ๑ โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ ๑ ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ ๓ในนามของจำเลยที่ ๑ และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ ๓ กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๒.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ ๑ โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ ๑ ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ ๑ ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ ๓ในนามของจำเลยที่ ๑ และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ ๓ กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๒.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกัน และการรับสารภาพของจำเลยที่เป็นนิติบุคคล
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็คหลายกรรม, การลงโทษ, และการเข้ามาในคดีของจำเลย
โจทก์ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1 โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาวุธปืนโดยบรรยายฟ้องเป็นหลายกรรม หากอาวุธปืนเป็นกระบอกเดียวกันและต่อเนื่องกัน ถือเป็นกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสองกรรมแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่อาวุธปืนตามฟ้องเป็นกระบอกเดียวกันและโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมีอาวุธปืนกระบอกเดียวกันนี้ตั้งแต่เวลาตามฟ้องในกรรมแรกต่อเนื่องตลอดมาจนถึงเวลาตามฟ้องในกรรมหลัง การกระทำของจำเลยในข้อหานี้จึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511มาตรา 7,27 ฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย จำเลยจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อใดก็เป็นความผิดสำเร็จ และถ้า การจัดหางานนั้นได้กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 ด้วย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก เพราะจำเลยมีเจตนาที่แยกต่างหากจากความผิดฐานแรกดังนั้นแม้จำเลยจะได้กระทำดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2511มาตรา 7,27 ฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต สาระสำคัญอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามกฎหมาย จำเลยจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อใดก็เป็นความผิดสำเร็จ และถ้าการจัดหางานนั้นได้กระทำโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ด้วย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหาก เพราะจำเลยมีเจตนาที่แยกต่างหากจากความผิดฐานแรก ดังนั้นแม้จำเลยจะได้กระทำดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน.