คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินเช่าซื้อ: หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ผิดฐานยักยอกหากไม่ได้เอาเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ความรับผิดชอบอยู่ที่ตัวแทน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นตัวแทนของโจทก์ร่วมในการเก็บเงินจากลูกค้าที่เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ร่วม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้เบียดบังเอาเงินของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ของจำเลยเองหรือของบุคคลที่ สาม แม้จำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วม การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้ส่งเงินที่เก็บจากลูกค้าให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาที่โจทก์ร่วมจะต้องเรียกร้องเอาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนผู้จัดการ: การร้องทุกข์ในนามส่วนตัวหรือไม่ในนามห้างหุ้นส่วน
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอ้างว่า จำเลยยักยอกเอาเงินของโจทก์ร่วมไป เป็นการร้องทุกข์ในนามของตนเองไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ได้ร้องทุกข์แทนห้าง ดังนี้ ถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาซื้อลดตั๋วเงินของห้างหุ้นส่วน โดยหุ้นส่วนผู้จัดการลงนามแทน แม้ไม่มีตราสำคัญ
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาของหุ้นส่วนผู้จัดการ แม้ไม่มีตราสำคัญ การค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่โจทก์ในนามจำเลยที่ 1 โดยไม่ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในสัญญาขายลดตั๋วเงิน มีจำเลยที่3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ด้วยจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ตามสัญญาแล้ว และเมื่อครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1ใช้เงินแก่โจทก์บางส่วน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวในฐานะกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญานั้น จำเลยที่ 3 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาขนส่งทางทะเล การร่วมรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการพิสูจน์ความเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญารับขน โดยบรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมกันเป็นผู้รับขนไม้ของโจทก์จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การโดยมิได้ปฏิเสธชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขนไม้ของโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ย่อมต้องฟังว่า จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นผู้ขนไม้ของโจทก์และจำเลยที่3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์ฟ้องส่วนที่จำเลยฎีกาว่าได้มอบไม้ให้โจทก์รับไปครบถ้วนแล้ว ไม้ที่นายเรือสั่งให้ทิ้งเป็นไม้ที่ผู้ขายส่งมอบเกินมานั้นจำเลยมิได้ให้การไว้เช่นนั้น จึงเป็นฎีกานอกเหนือไปจากที่จำเลยให้การไว้รับฟังไม่ได้.
กฎหมายมิได้บังคับว่าสัญญารับขนจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนไม้ของโจทก์ทำให้ไม้สูญหายไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาซื้อลดเช็คและการเชิดตัวแทน: ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ค้ำประกัน
เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ปฏิเสธว่ามิใช่ลายมือชื่อของตน กับในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อและคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 5 รับว่าเป็นลายมือชื่อของตนจริงคล้ายคลึงกันและสีหมึกก็เป็นสีเดียวกัน ประกอบกับจำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาขายลดเช็คกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็เป็นสามีภริยากัน จึงน่าเชื่อว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกัน เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 5 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 5 แล้วเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดี หรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 5 ต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนเชิด ศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิด ได้ เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิด มีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การที่จำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่ 1 ด้วยทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5หุ้นส่วนผู้จัดการได้เชิด จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2เชิด ตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล: จากหุ้นส่วนผู้จัดการสู่ผู้ชำระบัญชีเมื่อเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีสภาพเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้นผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนก็คือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง ฯ แต่เมื่อห้าง ฯ ได้เลิกกันตามคำพิพากษาและมีการตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว อำนาจในการฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่ผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้าง ฯ ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการบังคับชำระหนี้จากกองมรดก
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ.มีส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเพียงคนเดียว ปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ฮ. มีหนี้ภาษีอากรค้างซึ่งจะต้องชำระแก่จำเลยแต่ห้างฯ ไม่ยอมชำระ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา1070 ประกอบด้วยมาตรา 1080 บัญญัติให้เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนชอบที่จะเรียกให้ชำระเอาแต่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ เมื่อห้างฯ ดังกล่าวเป็นอันเลิกไปโดยผลของกฎหมายเพราะ ส.ตายส. จึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นอย่างไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1077(2) ซึ่งย่อมรวมถึงหนี้ภาษีอากรค้างด้วย ทรัพย์สินกองมรดกของ ส. จึงตก เป็นทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง จำเลยจึงชอบที่จะยึดทรัพย์สินดังกล่าวของ ส. เพื่อบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด: บทบัญญัติมาตรา 1036 ใช้กับหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
ป.พ.พ. หมวดว่าด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัดหาได้บัญญัติถึงการถอดถอน หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ จึงต้องนำมาตรา 1036 ในบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับ แต่จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอน ผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่ เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3051/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
ป.พ.พ.หมวดว่าด้วยห้างหุ้นส่วนจำกัดหาได้บัญญัติถึงการถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการไม่จึงต้องนำมาตรา1036ในบทบัญญัติว่าด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับแต่จะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้นเองเป็นผู้ถอดถอน จะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งไม่มีสิทธิมีส่วนในการจัดการเข้ามาถอดถอนผู้จัดการซึ่งตั้งโดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหาได้ไม่เว้นแต่จะได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น.
of 13