คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการรังวัดพื้นที่อาคารเป็นหลัก และผลผูกพันตามคำท้าในคดีรุกล้ำ
โจทก์จำเลยเช่าที่ดินจากจำเลยร่วมมาปลูกห้องแถว โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง โดยต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งปลูกห้องแถวรุกล้ำที่ดินซึ่งตนเช่าขอให้รื้อถอนไป ชั้นพิจารณาคู่ความท้ายกันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นเดียวว่า อาคารปลูกสร้างของจำเลยมีเนื้อที่เกินกว่า 45 ตารางวาตามสัญญาเช่าหรอไม่ ถ้าเกินจำเลยยอมแพ้ ถ้าไม่เกินโจทก์ยอมแพ้ วิธีรังวัดคู่ความตกลงกันให้วัดจากด้านนอกของอาคาร และให้คำนวณเนื้อที่โดยให้จ่าศาลและช่างรังวัดของจำเลยร่วมเป็นผู้รังวัด ผลของการรังวัดปรากฏว่าอาคารปลูกสร้างของจำเลยมีเนื้อที่ตามที่เจ้าพนักงานที่ไปรังวัดคำนวณเนื้อที่ได้ 56.80 ตารางวา ดังนั้น เมื่อคู่ความตกลงให้ถือว่าอาคารของจำเลยเป็นหลักในการรังวัด มิใช่ให้ถือพื้นที่ที่จำเลยเช่าเป็นหลักรังวัด การรังวัดจึงถูกต้องตามคำท้า และเมื่อผลของการรังวัดปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลต้องพิพากษาให้เป็นไปตามคำท้านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดิน พร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาทจากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาท ดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของผู้ขายที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดินพร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปโจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาทดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผนังปิดทางเดินแล้วให้เช่าใช้เข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้องโจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผนังปิดช่องทางเดินแล้วให้เช่าใช้ ถือเป็นการปลูกสร้างอาคาร ต้องขออนุญาต
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้อง โจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้ เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร'ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินปลูกสร้างอาคาร: การตีความสิทธิการเช่าช่วงและการคุ้มครองผู้เช่าช่วง
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่า คู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10) และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯ ผู้เช่าย่อมมีสิทธิจะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้น ย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ 10 นั้นด้วย ฉะนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิเช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5 ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้ จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่ เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสัญญาสัญญาเช่าที่ดินกับการให้เช่าอาคาร สิทธิของผู้เช่าช่วง
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10) และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า 'ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯผู้เช่าย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ' ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้นย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ10 นั้นด้วย ฉะนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิให้เช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5 ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้ จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานะบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใดก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินปลูกสร้างอาคาร: สิทธิการเช่าช่วงอาคารที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า
แม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยจะเรียกชื่อว่าสัญญาเช่าที่ดินก็จริง. แต่ความมุ่งหมายในการทำสัญญาเช่า.คู่สัญญามีเจตนาที่จะให้ผู้เช่าทำการปลูกสร้างอาคารบนที่ดิน (สัญญาข้อ 1) เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันที (สัญญาข้อ 10). และสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า 'ห้ามมิให้ผู้เช่าเอาที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ฯลฯ. ผู้เช่าย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยหรือทำการค้าหรือให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอาคารที่ปลูกสร้างลงในที่ดินได้เสมอ.' ดังนี้ ข้อสัญญาที่ให้อาคารซึ่งปลูกสร้างขึ้นตกเป็นของโจทก์ และโจทก์ยอมให้จำเลยให้เช่าช่วงอาคารนั้น. ย่อมแสดงว่าสัญญาเช่านี้แท้จริงเป็นสัญญาให้เช่าที่ดินรวมทั้งอาคารที่ตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาข้อ10 นั้นด้วย. ฉะนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีสิทธิให้เช่าได้เฉพาะที่ดินที่ปลูกตึกจึงขัดกับความในสัญญาข้อ 5.ที่ห้ามมิให้เช่าช่วงที่ดิน. แต่ยอมให้เช่าช่วงอาคารได้. จำเลยร่วมผู้เช่าช่วงอาคารโดยชอบจึงหาได้อยู่ในฐานะบริวารหรือผู้อาศัยของจำเลยไม่. เมื่อเป็นดังนี้ จำเลยร่วมมีข้อต่อสู้ที่จะคงอยู่ในอาคารประการใด. ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังคำพยานของคู่ความต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร, เหตุผลทางกฎหมาย, สิทธิผู้เช่า, คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควมคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญ อันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า " ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มีความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปล-ว่า "ควร ฯลฯ" ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า"เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ในสภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจเด็ดขาด และคำสั่งต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
of 12