พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า 'LOVEMAN' และความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำ
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN"ของโจทก์ร่วม กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อักษรโรมันคำว่า "KLOVEMANDESIGN" ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำเหมือนกัน และใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างมีคำว่า "LOVEMAN" เหมือนกันสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวเป็นสินค้าชนิดเดียวกันคือเสื้อเชิ้ต แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ประดิษฐ์ เป็นรูปครึ่งตัวคนสวมหมวกอย่างเครื่องหมายการค้าของ จำเลยที่ 2 และเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 มีอักษร "K" และคำว่า "DESIGN" กับประดิษฐ์ตัวอักษรคำว่า "DESIGN" ให้ใหญ่กว่าคำว่า "LOVEMAN" มาก แต่ก็ปรากฏ ตามตามคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าอักษร "K" กับคำว่า "DESIGN" ซึ่งแปลว่า การออกแบบ เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญ ในการค้าขายซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิ ของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรและคำดังกล่าว สาระสำคัญ ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำว่า "LOVEMAN" ที่เหลืออยู่ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจะเขียน ตัวอักษรคำว่า "LOVE" ติดกับคำว่า "MAN" ส่วนเครื่องหมาย การค้าของจำเลยที่ 2 วางตัวอักษรคำว่า "LOVE" อยู่บนคำว่า "MAN" ก็ตาม แต่ก็อ่านออกเสียงว่า "เลิฟแมน" เหมือนกัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและของจำเลยที่ 2 ใช้กับสินค้าเสื้อเชิ้ตเช่นเดียวกัน ประชาชนผู้ซื้อสินค้า ดังกล่าวอาจเรียกสินค้าเสื้อเชิ้ตของโจทก์ร่วมและของจำเลยทั้งสอง ที่มีไว้เพื่อจำหน่ายว่า "เสื้อเลิฟแมน" เหมือนกัน ดังนี้ ประชาชนผู้ซื้อสินค้าย่อมเกิดความสับสนหลงผิดในความเป็น เจ้าของสินค้านั้นได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายจนนับได้ว่าเป็นการเลียนแบบ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วมที่ได้ จดทะเบียนแล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับ จำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าเสื้อเชิ้ตของกลาง ที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "LOVEMAN" ของโจทก์ร่วม โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าสินค้าเสื้อเชิ้ตนั้นมีเครื่องหมายการค้า ที่เลียนแบบดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110(1) ประกอบด้วยมาตรา 109 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีเช็ค – เจตนาต้องชัดเจนในการยุติข้อพิพาททางอาญา
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 และฟ้องเรียกเงินทางแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย คดีนี้จำเลย ให้การปฏิเสธ แต่ในระหว่างพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยได้เจรจา ตกลงกันโดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่ยอมรับสารภาพตามฟ้อง และโจทก์ยอมให้เวลาแก่จำเลยเพื่อ ให้จำเลยหาเงินมาชำระหนี้โดยยอมลดจำนวนเงินลง โดยให้ จำเลยชำระหนี้ภายในกำหนด และโจทก์จะถอนฟ้องคดีแพ่งด้วย เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ยอมลดหนี้และให้โอกาสแก่จำเลย โดยโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญา จนกว่าจำเลยได้ชำระเงินตามข้อตกลงแก่โจทก์แล้ว จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) สิทธินำคดีอาญา มาฟ้องจึงยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการอุทธรณ์คำพิพากษาอาญา: การอนุญาตอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลไม่ชอบ
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1อุทธรณ์ มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้วจึงนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิมาอนุโลมบังคับใช้กับกรณีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับการริบรถยนต์ของกลางโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้ยันจำเลยได้ หากพนักงานสอบสวนไม่มีสาเหตุโกรธเคือง และการฟ้องคดีอาญาต้องมีการร้องทุกข์
คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับ ป. ลักทรัพย์ของผู้เสียหาย เป็นพยานบอกเล่าที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงนำไปรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เท่านั้น แต่คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าพยานเป็นผู้สอบสวนจำเลย และจำเลยได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน เป็นคำเบิกความของประจักษ์พยานในข้อที่ว่ามีการสอบสวนจำเลยแล้วจำเลยให้การรับสารภาพว่าอย่างไร ทั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจคำให้การดังกล่าวจึงใช้ยันจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน แต่ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ดังนี้ศาลจะลงโทษตามมาตรา 365 ไม่ได้เพราะโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 สูงกว่ามาตรา 364เป็นการเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง พยานหลักบานของโจทก์ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุก คำเบิกความและข้อนำสืบของพยานโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบในความผิดฐานนี้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจทำการสอบสวนพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120และ 121 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทตามฟ้องชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์หนังสือแก่โจทก์เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่ต่อมาโจทก์และจำเลยทำหนังสือผ่อนชำระหนี้กันโดยข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์โดยจะขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ไปจนครบรวม 10 งวดโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ข้อความดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ ส่วนที่นำหนี้อื่นมารวมผ่อนชำระด้วยก็เพียงเพื่อความสะดวกไม่ต้องทำหนังสือหลายฉบับ ทั้งมิได้มีการเพิ่มเติมลูกหนี้แต่อย่างใด เพราะโจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาทอยู่แล้ว และตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น จำเลยจะต้องผ่อนชำระหนี้จนครบ 10 งวด โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญา ถ้าหากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายทันทีจึงเป็นเงื่อนไขในการ ที่โจทก์จะระงับคดีอาญาให้แก่จำเลย และตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองในทันที ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ทำให้คดีอาญาเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7186/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้บางส่วนหลังกระทำผิด ไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญายังคงอยู่
จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์บางส่วนก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่โจทก์ไม่ได้ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 แก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของคำพิพากษาอาญา: การระบุมาตราผิดและวิธีการลดมาตราส่วนโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 48 และมาตรา 73 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ระบุอ้างบทมาตราที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษยกขึ้นปรับแก่คดีตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)ประกอบมาตรา 214 บัญญัติไว้ถูกต้องแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามวรรคใดนั้นเป็นเพียงการไม่สมบูรณ์ชัดเจนเท่านั้น ไม่ทำให้เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76คือการลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยกระทำโดยลดลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งแล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงในระหว่างนั้น มิใช่ให้ศาลกำหนดโทษที่จะลงไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่ได้กำหนดไว้ จึงต่างกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 ซึ่งเป็นเรื่องการคำนวณการเพิ่มโทษหรือลดโทษที่จะลงจากโทษที่ได้กำหนดแล้ว และการลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 มิใช่เป็นบทมาตราซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือบทกำหนดโทษแม้ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทที่ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2ว่าเป็นมาตรา 76 ก็ไม่เป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5987/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อความผิดและโทษทางอาญา
จำเลยขับรถบรรทุกเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพระราชบัญญัติจราจรทางบก และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกต่อมามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้เมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลต้องยกฟ้องข้อหานี้และให้ยกคำขอพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เสพเมทแอมเฟตามีนขับรถบรรทุกเป็นภัยร้ายแรงไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์กล่าวโทษทางอาญา: การพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของคำร้องทุกข์และการนับอายุความ
การที่ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์พบพนักงานสอบสวน แล้วแจ้งความว่าผู้แจ้งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ มาแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้น เป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่าโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร้องทุกข์ภายหลังคดีขาดอายุความคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอาญา: ผู้ค้ำประกันไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แม้ถูกเช็คเด้ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ส่วนจำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ จะถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ต้องรับฟังข้ออุทธรณ์ของโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้เช่นนั้น