พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261-262/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงิน: เจ้าหนี้ผู้ขออายัดไม่ได้รับเงิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนด
การที่โจทก์ร้องขออายัดเงินของจำเลย และต่อมาได้มีการจ่ายเงินที่อายัดบางส่วนตามคำพิพากษาให้จำเลยไปเงินอายัดที่จ่ายให้จำเลยนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1 ตามตาราง 5(4)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพราะเงินจำนวนนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้ขออายัดมิได้รับไปเลย กรณีไม่เข้าตาราง 5(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงิน ช.พ.ค. และผลของการไม่ขอหมายบังคับคดีภายในระยะเวลาที่กำหนด
โจทก์ฟ้องว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ บัดนี้สามีจำเลยตายแล้วจึงขอให้จำเลยใช้ และยื่นคำร้องขออายัดเงินสงเคราะห์ ช.พ.ค. (ช่วยเพื่อนครู) จำเลยขอให้ถอนการยึดอ้างว่าเงิน ช.พ.ค. ไม่เป็นมรดกไม่อยู่ในบังคับแห่งการยึดและอายัดขอให้เพิกถอนการอายัด
ที่สุดโจทก์จำเลยตกลงกันว่าคงให้อายัดเงินงวดที่จำเลยยังไม่ได้เบิก
ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และมีคำบังคับแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ขอหมายบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ คำสั่งศาลซึ่งโจทก์ขออายัดเงิน ช.พ.ค. จึงถูกยกเลิกไปตาม ป.วิ.แพ่ง ม.260 (2) ต้องห้ามอุทธรณ์ ฎีกา.
ที่สุดโจทก์จำเลยตกลงกันว่าคงให้อายัดเงินงวดที่จำเลยยังไม่ได้เบิก
ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และมีคำบังคับแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ขอหมายบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับ คำสั่งศาลซึ่งโจทก์ขออายัดเงิน ช.พ.ค. จึงถูกยกเลิกไปตาม ป.วิ.แพ่ง ม.260 (2) ต้องห้ามอุทธรณ์ ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงิน ช.พ.ค. เพื่อชำระหนี้หลังมีคำบังคับ ศาลยกฎีกาเนื่องจากโจทก์ไม่ขอหมายบังคับคดีตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่าสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ บัดนี้สามีจำเลยตายแล้วจึงขอให้จำเลยใช้ และยื่นคำร้องขออายัดเงินสงเคราะห์ช.พ.ค.(ช่วยเพื่อนครู) จำเลยขอให้ถอนการยึดอ้างว่าเงิน ช.พ.ค.ไม่เป็นมรดกไม่อยู่ในบังคับแห่งการยึดและอายัดขอให้เพิกถอนการอายัด
ที่สุดโจทก์จำเลยตกลงกันว่าคงให้อายัดเงินงวดที่จำเลยยังไม่ได้เบิก
ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และมีคำบังคับแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ขอหมายบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับคำสั่งศาลซึ่งโจทก์ขออายัดเงิน ช.พ.ค. จึงถูกยกเลิกไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา
ที่สุดโจทก์จำเลยตกลงกันว่าคงให้อายัดเงินงวดที่จำเลยยังไม่ได้เบิก
ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และมีคำบังคับแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ขอหมายบังคับคดีภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับคำสั่งศาลซึ่งโจทก์ขออายัดเงิน ช.พ.ค. จึงถูกยกเลิกไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15022/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเฉพาะตัวจากการบังคับคดีแรงงาน การอายัดเงินและเฉลี่ยหนี้ต้องเป็นไปตามสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย
แม้ศาลจะมีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 กับโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 เข้าด้วยกัน ทั้งออกคำบังคับและออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่ละรายเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์แต่ละคน จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งหมดมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 ขออายัดเงินต่อสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก และแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่ายินดีรับเงินตามจำนวนที่บุคคลภายนอกแจ้งมา เป็นการบังคับคดีเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 มิได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินจำนวนดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีและจ่ายเงินแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14206/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินค่าจ้างก่อนพิพากษา: สิทธิของบุคคลภายนอกเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยขอให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และขอให้อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างและขอคืนเงินให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่เป็นคู่ความ จึงพอแปลได้ว่า เป็นกรณีที่ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 โดยความในวรรคหนึ่งของมาตรา 261 ได้บัญญัติให้นำมาตรา 312 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่ได้มีคำสั่งเรียกร้องเอาแก่ตนได้ตามมาตรา 312 ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี บทบัญญัติในมาตรา 312 เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 2 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ในลักษณะ 2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และการจ่ายเงินนี้ นอกจากให้สิทธิผู้ร้องที่ถูกบังคับตามสิทธิเรียกร้องชอบที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งสิทธิเรียกร้องที่เรียกเอาแก่ตนได้แล้ว ยังต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 311 วรรคสาม ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องได้ แม้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือมีเงื่อนไขหรือไม่ มาใช้บังคับด้วย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดโดยมีข้อโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ธนาคารตามข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องนั้น จึงไม่อาจรับฟัง ผู้ร้องในฐานะบุคคลภายนอกผู้ได้รับหมายอายัดย่อมไม่อาจขอให้เพิกถอนหมายคำสั่งอายัดชั่วคราวและขอคืนเงินที่อายัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งอายัดเงินและการใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ถือเป็นการทำละเมิด
แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท พ. และโจทก์บังคับคดีโดยขออายัดเงินฝากที่บริษัท พ. ฝากไว้กับจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โดยอ้างว่าบริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลยและจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย แต่การที่จำเลยปฏิเสธไม่ส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดโดยให้เหตุผลว่า บริษัท พ. เป็นลูกหนี้จำเลยกับโอนสิทธิในเงินฝากให้แก่จำเลย ทั้งยังจำนำเงินฝากไว้แก่จำเลยด้วย เป็นการใช้สิทธิปฏิเสธหรือโต้แย้งคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง การปฏิเสธของจำเลยจะฟังได้หรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นในคดีที่ได้มีคำสั่งอายัดเป็นผู้ไต่สวนและวินิจฉัย หากการปฏิเสธของจำเลยฟังไม่ได้ ศาลในคดีดังกล่าวก็ต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลย และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันเป็นขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง แต่มิได้หมายความว่าหากศาลชั้นต้นไต่สวนและวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วให้เป็นที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัด จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในคดีที่ศาลมีคำสั่งอายัดเงิน จำเลยวางหลักประกันจนเป็นที่พอใจแก่ศาลและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นการอุทธรณ์เพื่อประวิงคดีไม่ให้โจทก์ได้รับเงินตามคำพิพากษา การที่จำเลยใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งอายัดของศาลโดยการปฏิเสธไม่ยอมส่งเงินที่ศาลมีคำสั่งอายัดให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอายัดเงินสหกรณ์: เงินปันผล vs. เงินเฉลี่ยคืน/ค่าหุ้น เมื่อสมาชิกลาออก
ข้อความในหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีสาระสำคัญว่า ขออายัดเงินปันผลและเงินอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีเสร็จสิ้น นั้น ได้แยกการอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ เงินปันผลส่วนหนึ่ง และเงินอื่นๆ นอกจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง ในส่วนของเงินปันผล พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการขออายัดคดีนี้ บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นของสมาชิกแต่ละคนที่ชำระแล้ว เงินปันผลจึงเป็นเงินที่ผู้คัดค้านต้องจ่ายแก่สมาชิกทุกคนเป็นรายปีทุกๆ ปีขณะที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ ส่วนเงินอื่นๆ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (2) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้กระทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปีแต่ละปี เงินเฉลี่ยคืนจึงเป็นการจัดสรรจ่ายให้แก่เฉพาะสมาชิกบางคนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจ่ายเฉพาะในปีที่ทำเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายให้เป็นการเฉพาะในแต่ละครั้ง ไม่อาจจ่ายเป็นประจำทุกปีเสมอไปได้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 เพราะ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของสมาชิกนั้น เว้นแต่สมาชิกภาพนั้นจะสิ้นสุดลง ซึ่งไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และไม่ทราบล่วงหน้าด้วยว่าจะต้องจ่ายเมื่อใด จึงเป็นการจ่ายเฉพาะในแต่ละครั้งและไม่อาจจ่ายเป็นประจำปีรายได้เช่นกัน ดังนั้น คำขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหนังสือแจ้งอายัดในข้างต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งอายัดรวมถึงเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินประกันผลงานต้องไต่สวนเมื่อผู้ถูกอายัดปฏิเสธหนี้ ศาลออกหมายบังคับคดีก่อนไต่สวนไม่ชอบ
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือแจ้งอายัดเงินประกันผลงานของจำเลยไปยังผู้ร้อง ผู้ร้องได้มีหนังสือปฏิเสธการส่งเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่า ได้มีการหักเงินประกันผลงานไปแล้วและไม่มีเงินเหลือที่จะส่งให้ ถือว่าเป็นการปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงต้องไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องยังมีหนี้ต้องชำระแก่จำเลยอยู่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี การอายัดเงินจากผู้คัดค้านในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษา เงินค่าจ้างล่วงหน้าและเงินค่าเค
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากผู้คัดค้านร้อยละ 15 ของค่าจ้างตามสัญญาโดยรับไปก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งการอายัดไปยังผู้คัดค้าน เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะนำไปใช้ในการก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ผู้คัดค้านเฉพาะกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้คัดค้านและไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ แก่ผู้คัดค้าน เงินค่าจ้างล่วงหน้าที่จำเลยที่ 1 รับไปจึงไม่อยู่ที่ผู้คัดค้านอันอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่โจทก์ขออายัดได้ โจทก์ไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านในส่วนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคารระบุว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคู่สัญญาว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันตามสัญญานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่ยังไม่แน่นอนว่าจะสามารถเรียกร้องเอาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ผู้คัดค้านได้เป็นจำนวนเงินเท่าใด เนื่องจากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือการปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาผู้คัดค้านจึงไม่ถือว่าการโอนสิทธิเรียกร้องนี้เป็นการชำระหนี้ด้วยอย่างอื่นอันจะทำให้หนี้ที่ผู้โอนมีอยู่กับผู้รับโอนระงับลงบางส่วนหรือทั้งหมด และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ได้รับเงินจากผู้คัดค้านหรือได้รับไม่พอชำระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ผู้โอนยังคงผูกพันที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้รับโอนจนครบถ้วน ข้อความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่กันนั้นรวมถึงเงินค่าเคด้วย ทางปฏิบัติที่ผู้คัดค้านจ่ายเงินค่าเคให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมีผลเป็นเพียงการสละสิทธิเรียกร้องของธนาคารที่มีต่อจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านเท่านั้น หาทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะอายัดเงินค่าเคที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่ธนาคารไปแล้วไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้คัดค้านสำหรับเงินค่าเคเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิที่พิพาท หากฟ้องเรียกค่าเสียหายล้วน ไม่สามารถขออายัดเงินได้
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา กรณีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระเงินซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์มาด้วย มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์ที่จะร้องขอเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจะขอให้จำเลยนำทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้ และจะขอให้จำเลยหาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้