พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องเกิน 1 ปีหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยผู้เป็นทายาทชั้นเดียวกัน โดยกล่าวในฟ้องว่าได้ปกครองทรัพย์นั้นร่วมกับจำลยฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยและต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว เมื่อปรากฎว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีแล้ว เช่นนี้โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าเหตุใดตนจึงชอบที่จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีได้ ถ้าโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน จำเลยก็ย่อมชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องคดีเกิน 1 ปี จำเป็นต้องพิสูจน์เหตุยกเว้น
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยผู้เป็นทายาทชั้นเดียวกัน โดยกล่าวในฟ้องว่า ได้ปกครองทรัพย์นั้นร่วมกับจำเลย ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยและต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว เมื่อปรากฏว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าเหตุใดตนจึงชอบที่จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีได้ ถ้าโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน จำเลยก็ย่อมชนะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกเริ่มนับเมื่อใด: ทายาทรู้ถึงการเสียชีวิต แม้มีการฟ้องร้องเรียกทรัพย์มรดกก่อนหน้านี้
ทายาทคนหนึ่งฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากผู้ที่ยึดถือไว้ จนชนะคดีได้ทรัพย์มรดกนั้นมาภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปีแล้ว ดังนี้ทายาทคนอื่นจะฟ้องขอแบ่งมรดกนี้จากทายาทผู้ได้มรดกมานั้นอีก ย่อมถึงว่าขาดอายุความมรดกตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก 1 ปี เริ่มนับแต่วันรู้ความตาย แม้มีการฟ้องร้องเรียกทรัพย์มรดกก่อนหน้านี้
ทายาทคนหนึ่งฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากผู้ที่ยึดถือไว้ จนชนะคดีได้ทรัพย์มรดกนั้นมา ภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปีแล้ว ดังนี้ ทายาทคนอื่นจะฟ้องขอแบ่งมรดกนี้จากทายาทผู้ได้มรดกมานั้นอีก ย่อมถือว่า ขาดอายุความมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การนับระยะเวลาเมื่อวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
เมื่อกำหนดอายุความมรดก 1 ปีสิ้นสุดลงในวันตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการก็ย่อมนำคดีมรดกมาฟ้องในวันจันทร์ต่อจากวันอาทิตย์นั้นซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ถือว่ายังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: วันหยุดราชการและวันเริ่มทำงานใหม่
เมื่อกำหนดอายุความมรดก 1 ปีสิ้นสุดลงในวันตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ก็ย่อมนำคดีมรดกมาฟ้องในวันจันทร์ต่อจากวันอาทิตย์นั้น ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ ถือว่ายังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการฟ้องคดีอนาถา: การขยายเวลาและการขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องและยื่นคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถานั้น เมื่อศาลสั่งยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาเสียแล้ว การร้องขอฟ้องอย่างคนอนาถาในครั้งนั้น ก็เป็นอันหมดสิ้นไป โจทก์จะฟ้องหรือร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาใหม่ก็ต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ
มาตรา 23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องขยายเวลา ส่วนอายุความมรดกนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี และมาตรา 191 บัญญัติว่าอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นผู้ใดหาอาจจะขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่
เจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2490 โจทก์มาร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 19 กรกฎาคม 2491 ศาลไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาในวันที่ 7 สิงหาคม 2491 ครั้นวันที่ 9 สิงหาคม 2491 โจทก์จึงได้นำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องชำระเมื่อเวลายื่นคำฟ้องมาชำระต่อศาล ศาลสั่งรับฟ้องของโจทก์ในวันนั้น ดังนี้ ต้องถือว่า คดีขาดอายุความมรดกแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2493)
มาตรา 23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องขยายเวลา ส่วนอายุความมรดกนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี และมาตรา 191 บัญญัติว่าอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นผู้ใดหาอาจจะขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่
เจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2490 โจทก์มาร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาในวันที่ 19 กรกฎาคม 2491 ศาลไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องขอว่าความอย่างคนอนาถาในวันที่ 7 สิงหาคม 2491 ครั้นวันที่ 9 สิงหาคม 2491 โจทก์จึงได้นำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องชำระเมื่อเวลายื่นคำฟ้องมาชำระต่อศาล ศาลสั่งรับฟ้องของโจทก์ในวันนั้น ดังนี้ ต้องถือว่า คดีขาดอายุความมรดกแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และอายุความมรดกในที่ดินมรดกเมื่อไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โดยเจ้าของที่ดินยกให้ ต่อมาเจ้าของที่ดินตาย โจทก์ครอบครองตลอดมาเกินอายุความ 1 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าเจ้าของที่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยไม่ใช่ให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้าของที่ดิน ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกัน และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินอายุความมรดกแล้ว ไม่มีทายาทคนอื่นของเจ้าของที่ดินเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาลย่อมพิพากษาแบ่งส่วนที่รายพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก, ทรัพย์สมรส, พินัยกรรม: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตโดยอ้างอิงพินัยกรรมและสถานะสมรส
ไนคดีที่มีผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องร้องพายไนอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความย่อมสดุดหยุดลงตาม ม.173 ผู้วายชนม์ทำพินัยกัมยกทรัพย์ไห้โจท ต่อมาผู้วายชนม์ได้ขายไห้จำเลยที่ 1 และจำเลยก็ได้ต่อสู้ว่าเอาสินส่วนตัวไปซื้อที่รายพิพาทนี้ สาลดีกาฟังว่าคดียังไม่มีเหตุผลที่จะไห้เห็นว่าได้มีการแยกทรัพย์กัน ทรัพย์นั้นจึงเปนสมรส และโจทมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์ตามพินัยกัม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยกอายุความมรดกสงวนไว้สำหรับทายาทหรือผู้มีสิทธิแทนเท่านั้น บุตรเลี้ยงไม่มีอำนาจยกอายุความ
อายุความมรดกที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้นั้น ต้องเปนทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะไช้สิทธิของทายาทหรือเปนผู้จัดการมรดกเท่านั้น ผู้ที่เปนเพียงสไพ้เลี้ยง ไม่มีอำนาดยกอายุความมรดก 1 ปีขึ้นมาตัดฟ้อง เพราะไม่ไช่ทายาท