พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยึดของกลางและการตรวจสอบสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ซื้อสุจริต
โจทก์ซื้อเพลารถยนต์เก่าของกลางจากพ่อค้าซึ่งขายของเก่าโดยสุจริตในตลาดเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ของกลางดังกล่าวจึงใม่ใช่สิ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เจ้าพนักงานของจำเลยไม่มีอำนาจยึดไว้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
การที่จำเลยยึดของกลางไว้เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง จำเลยก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐานก่อน เพราะโจทก์อ้างว่าของกลางเป็นของที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดก่อนถูกยึดถึง 2 ปี โจทก์ฟ้องเรียกของกลางคืนหลังจากยื่นคำร้องเพียง 1 เดือนเศษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่คืนของกลางให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย และผูกพัน กทม. ในการชดเชยค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่ง ของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการ ทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เข้าข่ายบกพร่องหน้าที่แต่ไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลงต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำ ความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์ กลับ เข้า ทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และ ค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่า จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานเงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวัน เลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้ คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ. ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิตก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ. ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้น ผู้จัดการภาคกลาง 2 ก็ได้อนุมัติให้ พ. กู้เงินอีก 3,500,000 บาทส่วน การ ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน2,100,000 บาทนั้นเป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลย สาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกัน จำเลยอุทธรณ์ ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ. และและห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงิน ตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า อำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลาง รับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าว นำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 ราย ดังกล่าว กู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงิน เกิน บัญชี เกินกว่า อำนาจดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการ นำ เงิน ชำระหนี้ เพื่อ ลด จำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่า จะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อ เช็ค ที่ มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคาร แต่ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหาย แก่ จำเลย แต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ ที่ นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดู หลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ สาขา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไป ตรวจ สภาพ หลักทรัพย์ และ เป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบ ประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ไม่ใช่การกระทำแทนกรมตำรวจ
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ทำสัญญาเอง ฟ้องเองได้
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิจารณาบุคคลที่เกิดหลังประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรจากบิดามารดาต่างด้าว และอำนาจหน้าที่นายอำเภอในการจดทะเบียนสัญชาติ
หลังจากจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารแล้วเศรษฐกิจของบ้านเมืองเปลี่ยนไป วัสดุก่อสร้างขึ้นราคา ทางราชการโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงคิดค่าวัสดุก่อสร้างที่ราคาเพิ่มขึ้นชดเชยให้แก่ผู้ก่อสร้างที่รับจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ของทางราชการสัญญาชดเชยค่าก่อสร้างให้ผู้รับจ้างระบุให้ยึดถือสัญญาการก่อสร้างที่ได้ทำไว้ต่อกันเป็นสัญญาเดิมและเป็นหลักที่จะปฏิบัติตามสัญญานี้ ต่อไป เงินชดเชยค่าก่อสร้างจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาก่อสร้างเดิม การรับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของการรับจ้าง ทำของชนิดหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 โจทก์เป็นพ่อค้ารับจ้าง ทำของเรียกร้องเอาค่าทำของ จึงต้องเรียกร้องเอาภายใน2 ปี นับแต่วันส่งมอบของ กรณีของโจทก์ส่งมอบงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2518 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม2527 เกิน 2 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3253/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักยึดสินค้าและการประเมินภาษีอากรใหม่ของศุลกากร ไม่เป็นการละเมิด
สินค้าที่โจทก์นำเข้าบางส่วนไม่ตรงกับชนิดและราคาที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าและแบบรายการการค้า จำเลยได้ประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่และแจ้งให้โจทก์ทราบว่าอากรขาดไป และจำเลยเห็นว่ากรณีของโจทก์เป็นความผิดตามมาตรา 99,27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 สมควรทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากรโดยเปรียบเทียบปรับและให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่ขาดให้ครบถ้วน ซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ เมื่อโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วย จำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์การกระทำของจำเลยทั้งหมดไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อว่าจำเลยกลั่นแกล้ง อันเป็นการจงใจให้โจทก์เสียหาย แต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายให้ไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมดูแล คชก. ของนายอำเภอและการแจ้งข้อเท็จจริงต่อ คชก. ไม่ถือเป็นการละเมิด
นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบล (คชก.) ในท้องที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 14(2)
โจทก์ผู้เช่าที่นามีกรณีพิพาทกับเจ้าของที่นา และอยู่ระหว่างคชก. ตำบลกำลังจะพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก. ตำบล แจ้งว่าโจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่พิพาทต่อหน้าศาลแล้ว ขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ประธานคชก. ตำบลจึงทำหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยมีหนังสือให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาพิพาทและคืนนาให้เจ้าของเป็นเหตุให้โจทก์ออกไปจากที่นาพิพาท ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลโดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริตอันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก. ตำบลให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์ผู้เช่าที่นามีกรณีพิพาทกับเจ้าของที่นา และอยู่ระหว่างคชก. ตำบลกำลังจะพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยในฐานะนายอำเภอทำหนังสือถึงประธาน คชก. ตำบล แจ้งว่าโจทก์กับเจ้าของที่นาได้ตกลงยอมความในเรื่องที่พิพาทต่อหน้าศาลแล้ว ขอให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ประธานคชก. ตำบลจึงทำหนังสือถึงโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยมีหนังสือให้สั่งโจทก์ออกไปจากที่นาพิพาทและคืนนาให้เจ้าของเป็นเหตุให้โจทก์ออกไปจากที่นาพิพาท ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยมีหนังสือถึงประธานคชก.ตำบลโดยตรง และข้อความในหนังสือก็เป็นการกล่าวถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้นในศาลตามความเป็นจริงโดยสุจริตอันเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ คชก. ตำบลให้เป็นไปโดยถูกต้องเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3232-3233/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ การขอแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย
จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จะขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดการเพิกถอนชื่อโจทก์แล้วใส่ชื่อจำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่จำเลย เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป.