พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521-2522/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทจ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชย: ศาลยืนตามเดิม หากเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชย ลูกจ้างได้ค่าชดเชยเท่านั้น
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 กำหนดว่า ถ้าบริษัทเลิกจ้างโดยพนักงานไม่มีความผิด จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยตามข้อบังคับฯ ข้อ 9.9 ทั้งหมดแทนเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และหากเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยที่คำนวณไว้ตามข้อ 9.9 มีจำนวนน้อยกว่าเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บริษัทก็จะจ่ายเพิ่มให้เท่ากับเงินค่าชดเชยตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ของทางราชการเพียงอย่างเดียวเช่นกัน มีความหมายว่า หากลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จมีจำนวนน้อยกว่าค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แล้ว ลูกจ้างก็คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ได้รับค่าชดเชยไปถูกต้องแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521-2522/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทจ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชย: ศาลยืนตามศาลแรงงานกลาง ไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จซ้ำซ้อนหากค่าชดเชยสูงกว่า
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 กำหนดว่า ถ้าบริษัทเลิกจ้างโดยพนักงานไม่มีความผิด จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยตามข้อบังคับฯ ข้อ 9.9 ทั้งหมดแทนเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และหากเงินบำเหน็จหรือเงินค่าชดเชยที่คำนวณไว้ตามข้อ 9.9 มีจำนวนน้อยกว่าเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46บริษัทก็จะจ่ายเพิ่มให้เท่ากับเงินค่าชดเชยตามประกาศหรือกฎเกณฑ์ของทางราชการเพียงอย่างเดียวเช่นกัน มีความหมายว่า หากลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จมีจำนวนน้อยกว่าค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แล้ว ลูกจ้างก็คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ได้รับค่าชดเชยไปถูกต้องแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับดังกล่าวอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการออกข้อบังคับเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ และการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่แทนระเบียบเดิม
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลยมาตรา 15 (3) และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยของรัฐวิสาหกิจ: ข้อบังคับใหม่แทนที่ระเบียบเดิม และการคำนวณเงินบำเหน็จรวมค่าครองชีพ
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลย มาตรา 15(3)และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบปี พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391-1442/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงระเบียบเงินบำเหน็จของรัฐวิสาหกิจ และการบังคับใช้ข้อบังคับใหม่แทนระเบียบเดิม
เดิมจำเลยไม่มีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างเป็นของตนเอง จึงนำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502 ของกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลมตลอดมา จนถึง พ.ศ. 2521 จำเลยจึงได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จประกาศใช้บังคับ แต่ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้าง พ.ศ. 2502กำหนดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้แก่ราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายเป็นการทั่วไป จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งจึงหามีอำนาจที่จะยกเลิกเพิกถอนระเบียบดังกล่าวไม่ แต่มีอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจำเลยมาตรา 15(3) และมาตรา 18 ที่จะวางข้อบังคับเกี่ยวกับเงินบำเหน็จและเงินรางวัลของจำเลยเอง ซึ่งเมื่อได้ประกาศใช้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521 แล้วย่อมมีผลเท่ากับไม่นำเอาระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างพ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลมต่อไป ดังนั้น จะนำความในข้อ 5 วรรคท้าย และข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยคดีนี้ต้องบังคับตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2521.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเงินบำเหน็จพนักงานและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามทางภาษี
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วย มีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบ กฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่า สตาฟ รีไทร์เมนท์ เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ.2519 และตกลงให้ พ.รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ.ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ.2520 โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ.จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ.เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ.2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี (9)
รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ.2519 และตกลงให้ พ.รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ.ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ.2520 โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ.จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ.เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ.2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิและ 65 ตรี (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ทรัพย์สินพิพาท
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย ระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอายัดเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ในวันที่ยื่นอุทธรณ์โจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาโดยขอให้ศาลมีคำสั่งงดปล่อยการอายัดเงินบำเหน็จหรือให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางศาล ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องภายหลังจากจำเลยรับเงินบำเหน็จไปจากศาลแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำเลยนำเงินบำเหน็จที่รับไปแล้วมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ดังนี้ เงินบำเหน็จดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินหรือเงินพิพาทกันโดยตรงในคดีล้มละลาย ศาลจะสั่งให้จำเลยนำเงินดังกล่าวมาวางต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบสหกรณ์จ่ายเงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยได้ และการใช้ดุลพินิจไม่จ่ายโบนัสเมื่อเลิกจ้างเพราะผิดวินัย
ระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างของจำเลยกำหนดว่า พนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ หากลูกจ้างผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชยเท่านั้น โดยลูกจ้างผู้นั้นยังคงได้รับเงินค่าชดเชยเต็มจำนวนตามสิทธิของตนที่พึงได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อยู่นั่นเอง ระเบียบดังกล่าวจึงหาได้หลีกเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย หรือ ขัดต่อกฎหมายแรงงาน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิดวินัยจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจตามระเบียบที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
เงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานนายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็แล้วแต่นายจ้างจะกำหนด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะกระทำผิดวินัยจำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจตามระเบียบที่จะใช้ดุลพินิจไม่จ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับสภาพการจ้างและขอบเขตการจ่ายเงินบำเหน็จ: การอุทธรณ์ที่เกินกรอบและข้อจำกัดของข้อบังคับ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์โดยอ้างว่าจำเลยมีข้อบังคับให้จ่ายเงินบำเหน็จ แต่อุทธรณ์ว่าเดิมจำเลยมีข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2528 โดยไม่ระบุว่าเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยจะเป็นอย่างไร ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529 ยกเลิกฉบับปี พ.ศ. 2528 เพื่อประโยชน์แก่จำเลยข้อบังคับฉบับหลังนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ ทั้งกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ หากโจทก์ตกลงด้วยก็มีผลใช้บังคับได้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529 กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งมีความหมายว่าพนักงานของจำเลยคนใดที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอยู่แล้วหากค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จ จำเลยก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เต็มจำนวนกับยังจ่ายเงินบำเหน็จให้อีกตามจำนวนที่แตกต่างกันเฉพาะส่วนที่มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยเกินกว่าจำนวนค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเงินที่โจทก์ได้รับจึงเป็นค่าชดเชยเต็มจำนวนแล้ว โจทก์คงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น
ตามข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529 กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งมีความหมายว่าพนักงานของจำเลยคนใดที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอยู่แล้วหากค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จ จำเลยก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เต็มจำนวนกับยังจ่ายเงินบำเหน็จให้อีกตามจำนวนที่แตกต่างกันเฉพาะส่วนที่มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยเกินกว่าจำนวนค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเงินที่โจทก์ได้รับจึงเป็นค่าชดเชยเต็มจำนวนแล้ว โจทก์คงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเงินบำเหน็จต้องห้ามอุทธรณ์หากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานชั้นต้น และการจ่ายเงินบำเหน็จควบคู่กับค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์โดยอ้างว่าจำเลยมีข้อบังคับให้จ่ายเงินบำเหน็จ แต่อุทธรณ์ว่าเดิมจำเลยมีข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2528โดยไม่ระบุว่าเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยจะเป็นอย่างไร ต่อมาจำเลยออกข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529ยกเลิกฉบับปี พ.ศ. 2528 เพื่อประโยชน์แก่จำเลย ข้อบังคับฉบับหลังนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ ทั้งกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ หากโจทก์ตกลงด้วยก็มีผลใช้บังคับได้ อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตามข้อบังคับโรงพิมพ์ตำรวจว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2529กำหนดว่าในกรณีที่พนักงานออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่ ซึ่งมีความหมายว่าพนักงานของจำเลยคนใดที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานอยู่แล้ว หากค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จ จำเลยก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เต็มจำนวนกับยังจ่ายเงินบำเหน็จให้อีกตามจำนวนที่แตกต่างกันเฉพาะส่วนที่มีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยนั้น เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยเกินกว่าจำนวนค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว เงินที่โจทก์ได้รับจึงเป็นค่าชดเชยเต็มจำนวนแล้ว โจทก์คงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่ยังขาดอยู่เท่านั้น