พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413-414/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินประกันและเงินฝาก
เรียกเงินประกันและเงินที่ฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินฝากก่อนใช้ประมวลแพ่ง: เริ่มนับจากวันฝาก มีอายุความ 10 ปี
สัญญาฝากเงิน ฝากเงินกันก่อนใช้ประมวลแพ่ง มีกำหนดอายุความที่จะเรียกคืนได้ภายใน 10 ปี เริ่มนับแต่วันมีสิทธิเรียกร้องเปนต้นไป
ประมวลแพ่ง ม.164 การฝากเงินตามประมวลแพ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยฉะเพาะดังนี้ ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี
ประมวลแพ่ง ม.164 การฝากเงินตามประมวลแพ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยฉะเพาะดังนี้ ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบัญชีเงินฝาก: เจ้าของบัญชีมีสิทธิเบิกถอน แม้เงินฝากจะมาจากผู้อื่น ธนาคารต้องคืนเงินให้เจ้าของบัญชี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใด คืนให้แก่ผู้นั้น..." ซึ่งบัญชีเงินฝากพิพาทมีชื่อจำเลยกับ ส. เป็นเจ้าของบัญชี โดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยกับ ส. เปิดบัญชีเงินฝากพิพาทดังกล่าวแทนผู้ร้อง และไม่ปรากฏว่าธนาคารผู้รับฝากรู้อยู่ก่อนแล้วว่า จำเลยกับ ส. เป็นตัวแทนของผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินในบัญชีเงินฝากพิพาทให้แก่จำเลยกับ ส. ตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยกับ ส. เท่านั้นจึงจะมีสิทธิเบิกถอนเงินออกจากบัญชีพิพาทดังกล่าวได้ ที่ผู้ร้องนำสืบว่า จำเลยกับ ส. นำเงินของผู้ร้องเข้าฝากในบัญชีเงินฝากพิพาทในนามของจำเลยกับ ส. นั้น เมื่อเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยกับ ส. ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น จำเลยกับ ส. เป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลยกับ ส. ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากและไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดบัญชีเงินฝากพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13687/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หักกลบลบหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาค้ำประกันและเงินฝาก
สัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.10 ที่ ค. ผู้ตายค้ำประกันบริษัท ล. จำกัด ผู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารจำเลย ระบุว่า ข้อ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับผู้เบิกเงินเกินบัญชีข้อ 4 ในกรณีที่ผู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดนัด ผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะต่อสู้ให้ธนาคารบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้เบิกเงินเกินบัญชีก่อนเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิด ถ้าธนาคารมิได้รับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันยินยอมชำระหนี้ที่ค้างโดยพลันถึงแม้การดำเนินการเช่นนั้นธนาคารจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อนก็ตาม และถึงแม้จะมิได้เรียกร้องหรือฟ้องร้องผู้ค้ำประกันร่วมกับผู้เบิกเงินเกินบัญชี ดังนี้ ผู้ตายเป็นเจ้าหนี้จำเลยในเงินฝากประจำ 3 เดือน และจำเลยเป็นหนี้ผู้ตายตามสัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งผู้ตายและจำเลยต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดจะชำระ เมื่อผู้ค้ำประกันตายความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่ระงับสิ้นไป ลูกหนี้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมจะหลุดพ้นจากหนี้ของตนด้วยวิธีหักกลบลบกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ดังนั้น จำเลยมีสิทธินำเงินฝากของผู้ตายหักชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15447/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เงินฝากอยู่ที่ธนาคาร ผู้เสียหายในคดีลักทรัพย์ไม่ใช่เจ้าของเงินฝาก
ป.พ.พ. บัญญัติเกี่ยวกับวิธีเฉพาะการฝากเงินไว้ตามมาตรา 672 ว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน และผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าว เงินฝากของโจทก์ร่วมที่ฝากไว้กับธนาคาร ย. สาขาแจ้งวัฒนะ ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารนับแต่วันที่มีการฝากเงิน โจทก์ร่วมมีสิทธิที่จะเบิกถอนเงินได้ ธนาคารเพียงแต่มีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น และในกรณีที่จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายเช็ค เงินที่ธนาคารจ่ายไปตามเช็คย่อมเป็นเงินของธนาคารและธนาคารไม่มีสิทธิหักจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ร่วม ดังนี้ เงินที่จำเลยลักไปจึงมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนเงิน 2,100,000 บาท แก่โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์จากธนาคาร: การกระทำโดยไม่มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดทางอาญา
เงินที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองนำฝากไว้ที่ธนาคารย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝาก ธนาคารมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของบัญชีตามเงื่อนไขที่ตกลงกันให้ครบถ้วน จำเลยทั้งสามไม่ได้รับมอบการครอบครองและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเงินดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกันทำเอกสารเท็จนำไปขอเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านแล้วถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีอำนาจ จึงเป็นการเอาเงินจากบัญชีเงินฝากของหมู่บ้านซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารไปโดยทุจริต การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของธนาคาร หาใช่เป็นความผิดฐานยักยอกไม่ เพราะการครอบครองเงินมิได้อยู่กับจำเลยทั้งสามในขณะที่จำเลยทั้งสามกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินฝากในบัญชีชื่อจำเลย ธนาคารคืนเงินให้จำเลย ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้รับฝากจำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สินนั้นฝากในนามของผู้ใดคืนให้แก่ผู้นั้น... บัญชีเงินฝากชื่อบัญชีเป็นการฝากในนามของจำเลยโดยไม่ปรากฏข้อความว่าจำเลยเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าวแทนผู้ร้อง ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากให้แก่จำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อให้จำเลยรับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าทั่วไปแทนผู้ร้อง แต่เงินที่ผู้ร้องนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากของจำเลยจึงเป็นกรณีการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึ่งต้องส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิเอาเงินนั้นออกใช้ได้ ฉะนั้นเงินที่ฝากจึงตกเป็นของธนาคาร เมื่อจำเลยใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินที่ฝากจากธนาคาร ธนาคารก็ไม่จำต้องคืนเงินตราอันเดียวกับที่รับฝาก ธนาคารคงมีแต่หน้าที่จะต้องคืนเงินให้ครบถ้วนเท่านั้น จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในนามของจำเลย ธนาคารผู้รับฝากจึงต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคารด้วย จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และมาตรา 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8963/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินฝาก – ผู้ฝากตามสัญญาเป็นผู้มีสิทธิเบิกถอน แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีให้ผู้อื่น
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร ท. ในนามของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากเงินต้องคืนเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ฝาก ผู้ร้องมิได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ท. ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินฝากที่รับฝากไว้จากบัญชีเงินฝากที่เปิดไว้ในนามของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 และ 672 ผู้ร้องเพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามหน้าที่ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเท่านั้น หากจำเลยไม่รับซื้อน้ำมันใช้แล้วจากลูกค้าตามที่ผู้ร้องอนุมัติเงินไป ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยคืนได้เอง ผู้ร้องมิใช่เจ้าของเงินฝากตามบัญชีธนาคารของจำเลยที่ถูกอายัดไว้ และไม่มีสิทธิขอให้ถอนอายัดเงินฝากดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8325/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน, คดีล้มละลาย, การหักกลบลบหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, เงินฝากประกัน
การที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ระบุจำนวนเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอน สามารถคำนวณยอดหนี้ถึงวันฟ้องได้ หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนการที่โจทก์อาจได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของ อ. ในภายหลังนั้น หาเป็นเหตุให้หนี้ตามฟ้องกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)
ความปรากฏเพียงว่าในการทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้มอบบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์และบัญชีเงินฝากประจำไว้ให้แก่โจทก์เป็นประกันเท่านั้น แต่มิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์นำเงินฝากดังกล่าวมาหักชำระหนี้ไว้อย่างไร สิทธิเรียกร้องในเงินฝากจึงยังเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นแม้โจทก์มิได้นำเงินฝากในบัญชีที่วางประกันไว้มาหักจากยอดหนี้ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง กรณีก็ต้องถือว่าจำเลยทั้งสามมียอดหนี้ค้างชำระอยู่ตามฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงขอให้โจทก์นำเงินฝากมาหักกลบลบหนี้ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินฝากและเงินเดือนที่ไม่ได้ยื่นแบบชำระภาษี และการหลีกเลี่ยงภาษีร่วมกันระหว่างผู้รับเงินได้และนายจ้าง
เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินเดือนและค่าน้ำมันรถยนต์ที่ได้รับจากห้าง ส. ซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่ง ป.รัษฎากร และนำเงินฝากเข้าบัญชีโจทก์ซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำสืบพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) วิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีนั้น เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีตามมาตรา 19 ถึง 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินโดยวิธีพิเศษ โดยกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้น อันจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเสียก่อนตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (8) เป็นจำนวนตามการประเมินในแต่ละปีภาษีพิพาท ซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่ามิใช่เงินได้ของโจทก์ เงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์มีรายการเงินฝากในบัญชีซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปีตามมาตรา 56 ทวิ
แม้ห้าง ส. มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษี แต่โจทก์ไม่ยื่นแบบและชำระภาษี โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน
โจทก์และห้าง ส. ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่สมควรงดเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มยังไม่มีเหตุอันสมควรให้งดหรือลด
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (8) เป็นจำนวนตามการประเมินในแต่ละปีภาษีพิพาท ซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่ามิใช่เงินได้ของโจทก์ เงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์มีรายการเงินฝากในบัญชีซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปีตามมาตรา 56 ทวิ
แม้ห้าง ส. มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษี แต่โจทก์ไม่ยื่นแบบและชำระภาษี โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน
โจทก์และห้าง ส. ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่สมควรงดเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มยังไม่มีเหตุอันสมควรให้งดหรือลด