พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินมัดจำและค่าเสียหายจากสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ไม่ใช่การฟ้องบังคับเกี่ยวกับตัวทรัพย์ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามภูมิลำเนาจำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืน กับเรียกค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เป็นการฟ้องให้บังคับตัวจำเลยเป็นหนี้เหนือบุคคลไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับเกี่ยวกับตัวทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดิน, เงินมัดจำ, การยกเลิกสัญญา, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำ, สัญญาจะซื้อจะขาย, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยาน และศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่ยุติ เพราะยังจะต้องมีการดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้กระทำกันมาแล้วได้ และจะถือเอาข้อตกลงนั้นมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วโจทก์ก็มีสิทธิให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(1) การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน ซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีเลิกสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระดอกเบี้ยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนเงินมัดจำจากข้อตกลงซื้อขายที่ยังไม่สมบูรณ์ และอายุความการฟ้องเรียกคืน
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าว มา ผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอ แก่ การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบ พยานโจทก์จำเลยได้ เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(1) และถือไม่ได้ว่า เป็น การ เลิกสัญญา ซึ่ง ต้อง ให้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงิน มัดจำคืนดังกล่าวไม่มี กฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญา ตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลย เป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อพ้นกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาชำระหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิริบเงินมัดจำเมื่อถึงกำหนด
ตามข้อตกลงในสัญญาระบุกำหนดเวลาการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ 2 ช่วง คือภายในวันที่ 2 มิถุนายน2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาให้โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อปฏิบัติชำระหนี้และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน มิฉะนั้นโจทก์จะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 11,200 บาท และภายในวันที่ 2 กรกฎาคม2528 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่จะโอนกรรมสิทธิ์กันหากโจทก์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยในฐานะผู้จะขายมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 50,000 บาท ดังนี้ จำเลยยังไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำจนกว่าเวลาจะล่วงพ้นวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 อันเป็นกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติชำระหนี้ต่อกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาว่าสัญญาเป็นโมฆะแล้ว ฟ้องใหม่เรียกเงินมัดจำจากสัญญานั้น ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง หากไม่คืนถือเป็นทุจริต
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เงินค่าที่ดินที่ผู้จะขายรับไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อผู้จะขายต้องคืนให้โจทก์ฐานเป็นลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนแต่ผู้จะขายไม่คืนให้ต้องถือว่าผู้จะขายตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืน และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องโจทก์ได้เรียกให้ผู้จะขายหรือจำเลยซึ่งเป็นทายาทคืนเงินให้ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับตั้งแต่วันฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายตกเป็นโมฆะ ผู้จะขายต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เงินค่าที่ดินที่ผู้จะขายรับไว้จากโจทก์ผู้จะซื้อ ผู้จะขายต้องคืนให้โจทก์ฐานเป็นลาภมิควรได้ หากมีการเรียกเงินดังกล่าวคืนแต่ผู้จะขายไม่คืนให้ต้องถือว่าผู้จะขายตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนและตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไปเมื่อก่อนฟ้องโจทก์ไม่ได้เรียกให้ผู้จะขายหรือจำเลยซึ่งเป็นทายาทคืนเงินให้ ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับตั้งแต่วันฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้