คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4178/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระอากรและเงินเพิ่มหลังเพิกสิทธิส่งเสริมการลงทุน จำเลยต้องชำระตามกฎหมายศุลกากร
กรณีของจำเลยไม่อาจบังคับตามมาตรา 54 วรรคสอง และมาตรา 55 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 เพราะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมิได้มีคำเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 54 วรรคสอง แต่คณะกรรมการใช้อำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์แก่จำเลย ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และได้แจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมีหน้าที่ชำระภาษีอากรและภาษีอากรเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 55 วรรคสาม แต่จำเลยมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 112 จัตวา ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์คิดเงินเพิ่มจากจำเลยเกินเงินภาษีอากร เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสี่นั้น จำเลยมิได้กล่าวอ้างความข้อนี้มาในคำให้การ ทั้งยังเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย เพราะศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยต้องชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาหาใช่ต้องชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 55 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางภาษีของหุ้นส่วนและทายาทในกรณีห้างหุ้นส่วนเลิก และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา ๕๖ วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน ๒ คน คือ ห. กับจำเลยที่ ๑เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ ๑ แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา ๗๗ และ ๘๔ ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๐๕๕(๕) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ ๑ จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๘
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๒๕ เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๑ รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา ๘๙ ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น ๑๕ วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา ๘๙ ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา56วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน2คนคือ ห. กับจำเลยที่1เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้นเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่1แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา77และ84ฉวรรคสองเมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1055(5)และไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษีการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1025เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น15วันถัดจากเดือนภาษีทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร, การอุทธรณ์ภาษี, และเงินเพิ่มทางภาษีอากร: ศาลฎีกาวินิจฉัยการประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการบังคับชำระภาษีอากร
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมือง ฮ่องกง เข้ามาในราชอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรและภาษีอากร การอุทธรณ์ และเงินเพิ่มตามกฎหมายภาษีอากร
จำเลยนำสินค้าของเด็กเล่นจากเมือง ฮ่องกง เข้ามาในราชอาณาจักรเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง จึงแจ้งการประเมินให้จำเลยชำระภาษีอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มเติม เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินที่ประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จึงต้องถือว่าการประเมินให้จำเลยชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้นเป็นอันชอบแล้ว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ผู้ประกอบการค้าต้องชำระเงินเพิ่มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ชำระภาษีการค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นทางแก้กรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการวิศวกรรมมิใช่ค่าสิทธิทางภาษี เงินเพิ่มต้องฟ้องได้แม้ไม่อ้างเหตุชัดเจน
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ด. นิติบุคคลต่างประเทศเป็นค่าบริการในการที่บริษัท ด. เป็นผู้ดำเนินการออกแบบแปลนและแผนผังในการสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกให้โจทก์ รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักรด้วยโดยไม่ปรากฏว่าบริษัท ด.ได้ให้เทคโนโลยี่อย่างใดแก่โจทก์ มิใช่เป็นเงินค่าสิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แต่ถือได้ว่าเป็นเงินค่าบริการทางด้านวิศวกรรม อันเป็นวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ตามมาตรา 70 (4)
ในชั้นโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้โจทก์จะขอให้เพิกถอนการเสียเงินเพิ่มโดยขอมาลอย ๆ มิได้อ้างเหตุอย่างใด ก็ถือว่าโจทก์ได้กล่าวเป็นการอุทธรณ์ในประเด็นเรื่องเงินเพิ่มไว้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในประเด็นเรื่องเงินเพิ่มต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน แม้ธนาคารค้ำประกันชำระเกิน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา บัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่ม: หนี้เก่ากว่าปลดเปลื้องก่อน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวาบัญญัติว่า เมื่อผู้นำของเข้านำเงินมาชำระค่าภาษีอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระนั้น เห็นว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้ มิใช่ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 โจทก์จึงจะนำเงินที่ธนาคารค้ำประกันมาหักชำระเงินเพิ่มค่าภาษีอากรก่อนไม่ได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้รายที่เก่าที่สุดเป็นอันได้เปลื้องไปก่อน เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรเป็นหนี้เก่ากว่าหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากร ดังนี้ หนี้ค่าภาษีอากรย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนหนี้เงินเพิ่มค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากรผิดนัด: ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ แต่ใช้เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
กรณีผู้มีหน้าที่ชำระภาษีอากรผิดนัด ประมวลรัษฎากร มาตรา 27กำหนดทางแก้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการชำระเงินเพิ่ม: ใช้กฎหมายในขณะนำเข้าและชำระภาษี
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินราคาสินค้าของจำเลยเพิ่มขึ้นเช่นนี้ การชำระเงินเพิ่มภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ต้องนำบทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรมาบังคับ มิใช่บทบัญญัติที่ใช้ในขณะที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินให้ชำระ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้นำของเข้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ค้างชำระและกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ค้างชำระ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยให้เสียเงินเพิ่มดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกเงินเพิ่มในลักษณะเช่นนี้จากจำเลยอีกดังนั้น ถึงแม้ว่าเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลนับถึงวันฟ้องจะยังไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ศาลก็พิพากษาให้จำเลยชำระเงินเพิ่มภาษีการค้าและเงินเพิ่มภาษีบำรุงเทศบาลแก่โจทก์จนครบจำนวนภาษีที่ค้างชำระอีกไม่ได้.
of 15