พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม้ยืนตามคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ – การปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 234
เมื่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งยืนตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก แต่เป็นคำสั่งในกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามป.วิ.พ.มาตรา 234 คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้สร้างโรงเรียนมีเงื่อนไข: สิทธิครอบครองยังคงอยู่กับผู้ให้ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
ขณะโจทก์ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนั้น โรงเรียนที่จะสร้างขึ้นยังไม่มีที่ดินและอาคารเรียนเป็นของตนเอง และยังไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อเป็นที่สร้างโรงเรียนดังกล่าว จึงเป็นการที่โจทก์ยกให้ที่มีวัตถุประสงค์ชี้ชัดอยู่ในตัวว่าเพื่อให้จำเลยนำที่ดินพิพาทไปใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างโรงเรียน ได้แก่อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นประการสำคัญ กรณีมิใช่เป็นการสละสิทธิครอบครองด้วยการยกให้โดยเด็ดขาด แต่เป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ จำเลยย่อมไม่สามารถนำที่ดินพิพาทไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามอำเภอใจ และเมื่อโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอยู่โดยจำเลยไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลย แม้คณะกรรมการศึกษาโดยศึกษาธิการอำเภอเคยจ้างรถเกรดมาไถที่ดินพิพาทให้เตียน ก็ไม่ปรากฏว่าได้ดำเนินการอื่นใดต่อมาเป็นกิจจะลักษณะที่พอจะแสดงว่าจำเลยได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาท และตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ทางโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอก็ไม่ได้เข้าไปก่อสร้างหรือทำประโยชน์อย่างอื่นในที่ดินพิพาทเลย การที่หลังจากจำเลยได้รับงบประมาณสำหรับสร้างโรงเรียนแล้ว จำเลยไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นสถานที่สร้างโรงเรียน แต่กลับไปสร้างโรงเรียนในที่ดินแปลงอื่นที่ไกลออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งบุคคลอื่นยกให้และมีความเหมาะสมกว่า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าปลูกสร้างอาคารหรือปลูกสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเกี่ยวกับการสร้างโรงเรียนลงในที่ดินพิพาทดังนี้จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้รับเอาที่ดินพิพาทที่โจทก์ยกให้ไปสร้างโรงเรียนตามเงื่อนไขของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาภายหลังว่าจำเลยจะสงวนที่ดินพิพาทไว้ใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นของโรงเรียนเป็นการฝ่าฝืนต่อความประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์หาได้ไม่ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของทางราชการและไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง
นับตั้งแต่โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้จำเลยสร้างโรงเรียน จำเลยไม่ได้ยุ่งเกี่ยวที่ดินพิพาทเลย มีแต่ในระยะแรก นักเรียนโรงเรียนมัธยมที่จำเลยสร้างขึ้นในที่ดินแปลงอื่นได้มาขออนุญาตโจทก์ทำแปลงสาธิตการเกษตรในที่ดินพิพาทบางส่วน แต่ปลูกพืชไม่ได้ผลเพราะขาดแคลนน้ำ จึงเลิกไปไม่ได้กลับมาปลูกอีก โจทก์ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานออกมารังวัดตรวจสอบที่ดิน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน หลังจากนั้น โจทก์และบุตรปลูกบ้านและห้องแถวลงในที่ดินพิพาทจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านเช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุ โจทก์ก็ไปขอคืน จำเลยจึงให้โจทก์หาที่ดินแปลงอื่นไปแลก แต่ตกลงราคากันไม่ได้ โจทก์ก็ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ เมื่อโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทของโจทก์ และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยนำที่ดินของโจทก์ไปขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุโดยไม่ชอบ มิใช่เป็นเรื่องการทำนิติกรรมระหว่างโจทก์หรือจำเลยศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยกระทำให้ถูกต้องโดยให้จำเลยถอนคำคัดค้าน และให้เพิกถอนที่พิพาทออกจากทะเบียนได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4093/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนประกันภัย: เงื่อนไขการยอมรับผิดและขอบเขตความรับผิด
ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 1.5.1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยเว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น และข้อ 1.10 เงื่อนไขบังคับก่อนระบุว่า บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณี ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับผิดต่อคู่กรณี การที่พนักงานสอบสวนสั่งปรับโจทก์ในข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายนั้น เป็นการกระทำของพนักงานสอบสวนเอง หาใช่โจทก์ยอมรับผิดต่อคู่กรณีไม่ โจทก์จึงมิได้กระทำผิดเงื่อนไขซึ่งจำเลยจะอ้างเป็นเหตุที่จะไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทน และจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องก็อยู่ในวงเงินที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยแคชเชียร์เช็คภายใต้เงื่อนไขการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: สิทธิของเจ้าหนี้บังคับคดี
หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยแล้วต่อมา ศ.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายจำเลย โดย ศ.ได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินจากธนาคาร น. และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคาร น.จึงได้ออกแคชเชียร์เช็คจำนวน 6,200,945.44 บาท เพื่อให้ ศ.ใช้ชำระค่าซื้อที่ดิน ต่อมาได้มีการมอบแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์ได้ขอถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของฝ่ายจำเลยเพื่อจะได้จดทะเบียนโอนขายแก่ ศ.และจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคาร น.ต่อไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์ ศ. และธนาคาร น.ตกลงให้โจทก์ถือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไว้เป็นประกันในการที่ยอมถอนการยึดทรัพย์ที่ดินให้เท่านั้น หากต่อมาตกลงซื้อขายกันไม่ได้โจทก์ย่อมคืนแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร น.ได้ การที่ ศ.จะชำระค่าที่ดินโดยแคชเชียร์เช็คดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ศ.ในคราวเดียวภายในวันเดียวกันเพียงแต่ต้องมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ก่อน เพื่อให้ขั้นตอนการถอนการยึดทรัพย์ซึ่งต้องกระทำก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กระทำได้สำเร็จ โดย ศ.มีเจตนาจะชำระเงินค่าที่ดินตามแคชเชียร์เช็คนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นค่าซื้อที่ดินโดยเงื่อนไขว่าต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ.ได้ในวันเดียวกันนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ.ได้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่มีสิทธิได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้นเป็นการชำระค่าที่ดิน และการมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แล้ว โจทก์ย่อมจะคืนแคชเชียร์เช็คแก่ธนาคาร น. ตามข้อตกลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย และโจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยแคชเชียร์เช็คภายใต้เงื่อนไขการซื้อขายที่ดิน ย่อมไม่ถือว่าเป็นการชำระหนี้จนกว่าจะมีการซื้อขายสำเร็จ
หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยแล้ว ต่อมา ศ. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่ถูกยึดกับฝ่ายจำเลย โดย ศ. ได้ขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินจากธนาคาร น. และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคาร น.จึงได้ออกแคชเชียร์เช็คจำนวน 6,200,945.44 บาท เพื่อให้ศ. ใช้ชำระค่าซื้อที่ดิน ต่อมาได้มีการมอบแคชเชียร์เช็คดังกล่าวแก่โจทก์และโจทก์ได้ขอถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของฝ่ายจำเลยเพื่อจะได้จดทะเบียนโอนขายแก่ ศ. และจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคาร น. ต่อไป และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตแล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์ ศ. และธนาคาร น.ตกลงให้โจทก์ถือแคชเชียร์เช็คดังกล่าวไว้เป็นประกันในการที่ยอมถอนการยึดทรัพย์ที่ดินให้เท่านั้น หากต่อมาตกลงซื้อขายกันไม่ได้โจทก์ย่อมคืนแคชเชียร์เช็คให้แก่ธนาคาร น. ได้ การที่ ศ. จะชำระค่าที่ดินโดยแคชเชียร์เช็คดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ศ. ในคราวเดียวภายในวันเดียวกันเพียงแต่ต้องมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ก่อน เพื่อให้ขั้นตอนการถอนการยึดทรัพย์ซึ่งต้องกระทำก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กระทำได้สำเร็จ โดย ศ. มีเจตนาจะชำระเงินค่าที่ดินตามแคชเชียร์เช็คนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นค่าซื้อที่ดินโดยเงื่อนไขว่าต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ศ.ได้ในวันเดียวกันนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ. ได้ จำเลยที่ 2 จึงยังไม่มีสิทธิได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คนั้นเป็นการชำระค่าที่ดินและการมอบแคชเชียร์เช็คให้โจทก์ยึดถือไว้ เช่นนี้ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์แล้วโจทก์ย่อมจะคืนแคชเชียร์เช็คแก่ธนาคาร น. ตามข้อตกลงได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลย และโจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ไม่ถือเป็นการยื่นเสนอราคาที่ถูกต้อง สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าว ทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคา จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญา จึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคา คำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิด โจทก์ริบหลักประกันไม่ได้
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนด แต่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์ และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่ 1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์ การเสนอราคาของจำเลยที่ 1 มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคา หากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่ มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 1 ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์ การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลย แต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ 10 ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วย ซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์ คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผล สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคา โดยเรียกให้จำเลยที่ 2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำผิดเงื่อนไข การประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่ เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์ หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหาก จึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่ การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขประกวดราคา ถือเป็นคำเสนอใหม่ สัญญาจึงไม่เกิดขึ้น
เอกสารการยื่นเสนอราคากำหนดให้ยื่นซองเสนอราคาภายในเวลากำหนดแต่จำเลยที่1มิได้ยื่นภายในเวลาดังกล่าวทั้งมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการประกวดราคาที่กำหนดไว้ไม่ได้ยื่นซองเสนอราคาที่กรอกข้อความในแบบฟอร์มเสนอราคาประมูลของโจทก์และไม่มีหลักฐานแสดงว่าจำเลยที่1ได้ลงทะเบียนรับแบบและเอกสารไปจากโจทก์การเสนอราคาของจำเลยที่1มิได้เสนอตามเอกสารการยื่นเสนอราคาหากแต่เป็นคำเสนอขึ้นใหม่มิใช่การยื่นเสนอราคาในการประกวดราคาจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคาดังกล่าวมาบังคับไม่ได้ หนังสือเสนอราคาของจำเลยที่1ได้เสนอเพื่อประสงค์จะเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศกับโจทก์การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาจึงเป็นคำสนองที่โจทก์ประสงค์จะทำสัญญากับจำเลยแต่คำสนองของโจทก์กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยต้องนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวงเงินค้ำประกันร้อยละ10ของมูลค่าตามสัญญาจ้างไปวางประกันด้วยซึ่งเป็นเงื่อนไขในเอกสารการยื่นราคาคำสนองของโจทก์จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของโจทก์เมื่อจำเลยไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและไม่ยอมทำสัญญากับโจทก์คำเสนอใหม่ของโจทก์ดังกล่าวจึงสิ้นผลสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงยังไม่เกินขึ้นโจทก์จึงริบหลักประกันการประกวดราคาโดยเรียกให้จำเลยที่2ชำระเงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะตั้งประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศตามที่ได้กระทำไว้ต่อโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ศาลก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยก่อนว่าจำเลยได้ยื่นเสนอประกวดราคารับเหมาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบปรับอากาศและระบายอากาศต่อโจทก์หรือไม่เมื่อฟังว่าจำเลยไม่ได้ยื่นเสนอประกวดราคาก่อสร้างหรือติดตั้งระบบงานดังกล่าวต่อโจทก์หากแต่เป็นคำเสนอใหม่ต่างหากจึงนำเงื่อนไขการประกวดราคามาใช้กับจำเลยไม่ได้ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดเงื่อนไขการประกวดราคาระบบปรับอากาศและระบายอากาศที่ทำไว้ต่อโจทก์หรือไม่การวินิจฉัยดังกล่าวถือได้ว่ายังอยู่ในประเด็นแห่งคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา แม้จะเคยถอนฟ้องไปก่อนแล้ว
การที่โจทก์ยอมถอนฟ้องในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขยังอยู่กินฉันสามีภริยากับหญิงอื่นจนกระทั่งปัจจุบันจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยตลอดไปการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติ: เหตุสุดวิสัยจากการถูกจำคุกในคดีอื่น
จำเลยถูกจับกุมในวันเวลาเกิดเหตุเดียวกันในข้อหาร่วมกันบุกรุกและมีวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครอง พนักงานอัยการได้แยกฟ้องคดีร่วมกันบุกรุกเป็นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย6 เดือน ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาก่อนคดีดังกล่าว ให้จำคุก 6 เดือน รอการลงโทษ2 ปี และคุมความประพฤติไว้ การที่จำเลยมิได้ไปรายงานตัวในครั้งที่ 3 ถึงครั้งที่ 5ในคดีนี้ก็เพราะเหตุถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำ จึงไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด และกรณีมิใช่จำเลยกระทำความผิดขึ้นอีกหลังจากที่มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้ว ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้จากรอการลงโทษเป็นให้ลงโทษที่รอไว้แก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 57 หาได้ไม่