คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาเงิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานจัดหางาน
โจทก์บรรยายคำฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งแปด ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นเงินตอบแทนจากคนหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่คำฟ้องตอนหลังบรรยายว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งแปดด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกและรับรองว่า จำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งแปดไปทำงานต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตอบแทนได้ ความจริงจำเลยเพียงแต่ดำเนินการให้ผู้เสียหายทั้งแปดเดินทางไปต่างประเทศได้เท่านั้น ไม่สามารถจัดให้ผู้เสียหายทั้งแปดได้ทำงานโดยได้รับค่าจ้างตอบแทนตามที่อ้าง การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์แสดงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งแปด แต่อ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาเงินจากผู้เสียหายทั้งแปดเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาผู้ให้เช่าซื้อและการยินยอมให้ใช้รถแม้ผิดสัญญา ถือเป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหาย สูญหาย หรือถูกริบไม่ว่าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดฝ่ายเดียวและยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาครบถ้วน เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อเท่านั้น อีกทั้งไม่ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญา ผู้ร้องได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามรถที่เช่าซื้อคืนแต่ประการใด ทั้งที่จำเลยก็มีภูมิลำเนาที่เดียวกับผู้ร้อง ผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าไม่ได้ติดตามจำเลยเพราะไม่ทราบว่าจำเลยไปไหน เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง เมื่อจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อแต่ผู้ร้องยังคงให้จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางต่อไป โดยไม่ได้ติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืน จนกระทั่งจำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีคำสั่งให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมาร้องขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกือบ 5 ปี นับแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าการหลอกลวง หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง แม้มีการรับเงินก็ไม่ผิด พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวัน โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวันโดยถูกต้องตามกฎหมายและในอัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ป. ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ โดยโจทก์รับว่าเป็นผู้เสียหายจริง ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วย่อมทำให้คำขอในส่วนคดีแพ่งที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย จึงต้องยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์เสียด้วยปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานสำคัญกว่า หากไม่มี ถือเป็นการหลอกลวง ไม่ใช่ความผิดฐานจัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ การที่คำฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยบอกกล่าวและให้ถ้อยคำรับรองแก่ผู้เสียหายทั้งสองว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคนหางานจะต้องเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่เคยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางให้ดำเนินการดังกล่าวได้ อีกทั้งไม่สามารถส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศตามที่กล่าวอ้างได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งสอง คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกายบุพการี ไม่ถึงเจตนาฆ่า ลดโทษจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยเข้าไปขอเงินและยืมรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลย แต่ผู้เสียหายปฏิเสธ จำเลยจึงใช้อาวุธมีเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายที่หัวไหล่ด้านขวาและศีรษะอย่างละหนึ่งครั้ง แล้วแทงที่หลังของผู้เสียหายอีกหนึ่งครั้ง ยังไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาถึงขนาดจะต้องมุ่งประสงค์ต่อชีวิตของผู้เสียหาย ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยมีอาการมึนเมาสุรา แม้จะไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ก็ตาม แต่ก็เป็นพฤติการณ์แวดล้อมให้เห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธมีดเหน็บปลายแหลมแทงผู้เสียหาย จำเลยไม่ได้กระทำโดยแรง โดยจะเห็นชัดเจนว่า เมื่อจำเลยใช้มีดเหน็บปลายแหลมฟันแทงผู้เสียหายแล้ว ส. ผู้เป็นตาของจำเลยก็สามารถเข้าไปแย่งมีดจากจำเลยไว้ได้ จำเลยจึงวิ่งหลบหนีไป ขณะเกิดเหตุ ส. มีอายุถึง 73 ปี จำเลยมีอายุเพียง 24 ปี หากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายแล้ว จำเลยก็น่าจะสามารถขัดขืนมิให้ ส. ผู้สูงอายุกว่าแย่งมีดเหน็ปลายแหลมไปได้ ประกอบลักษณะบาดแผลที่ศีรษะ หัวไหล่ด้านขวาและกลางหลัง แม้จะเป็นอวัยวะที่สำคัญ แต่แพทย์ก็ให้ความเห็นว่าถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนจะหายภายในสองสัปดาห์ อันแสดงว่าบาดแผลมิได้เกิดจากการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้ถึงแก่ความตาย เมื่อบาดแผลที่ผู้เสียหายผู้เป็นบิดาของจำเลยได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 296 นอกจากนี้แม้จำเลยจะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายผู้เป็นบุพการีจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยก็ให้การรับสารภาพแสดงให้เป็นว่าจำเลยได้รู้สำนึกในความผิดของตน และผู้เสียหายได้เบิกความว่า ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยเนื่องจากเป็นบุตรชายเพียงคนเดียว เมื่อจำเลยไม่เคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อนจึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวเพื่อรักษาสายสัมพันธ์ทางครอบครัว อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ต้องมีเจตนาประสงค์ต่อทรัพย์ การกระทำที่เกิดจากความคึกคะนองหลังดื่มสุราและฉวยโอกาสไม่ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
วันเกิดเหตุเป็นวันสงกรานต์ พ. เรียกผู้เสียหายให้ดื่มสุรา จำเลยเดินมายืนข้างหน้าผู้เสียหาย ช. ยืนข้างหลัง จำเลยขว้างแก้วที่วางอยู่บนโต๊ะใส่หน้าผู้เสียหายถูกหน้าผากเลือดไหล ผู้เสียหายลุกขึ้นยืนจะป้องกันตัว ช. กระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายจากด้านหลังขาดติดมือ จากนั้นจำเลยและ ช. ได้รุมชกต่อยผู้เสียหาย ง. และ ด. ใช้ไม้ฟืนยาว 1 เมตร คนละท่อนตีท้ายทอยผู้เสียหายแตก การกระทำของจำเลยน่าจะเกิดจากความคึกคะนองเมื่อได้ดื่มสุราเข้าไป และเป็นการพาลหาเรื่องมากกว่าจะเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย การที่ ช. กระชากสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายจากด้านหลังขาดติดมือไป เป็นการฉวยโอกาสเป็นส่วนตัวลำพังเพียงคนเดียว จำเลยไม่ได้สมรู้ร่วมคิดด้วย จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับพวกชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจตนาทำร้ายร่างกาย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหาย เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็มิได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ในข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ต่อเนื่องกัน
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำหน่ายไปจะเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายไปในเวลาที่ต่อเนื่องกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกการมีเมทแอมเฟตามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต่างหากจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตั้งแต่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา: การวิ่งไล่ตามผู้ตายพร้อมคนร้ายถืออาวุธถือเป็นเล็งเห็นผล
จำเลยเป็นพวกเดียวกับคนร้ายอีกสองคนซึ่งเป็นผู้วิ่งไล่ถืออาวุธคล้ายมีดเป็นของมีคมยาวประมาณ 1 ศอก แทงผู้ตายจนถึงแก่ความตาย การที่จำเลยชกต่อยผู้ตายก่อนเมื่อผู้ตายวิ่งหนีจำเลยก็วิ่งไล่ตามผู้ตายไปพร้อมๆ กับคนร้ายทั้งสองที่ถืออาวุธไปด้วย สภาพอาวุธเห็นได้ชัดเจนว่าอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ หากจำเลยไม่มีเจตนาร่วมกับคนร้ายทั้งสอง เมื่อจำเลยชกต่อยผู้ตายครั้งแรกแล้ว จำเลยอาจหยุดกระทำโดยไม่วิ่งไล่ตามผู้ตายไปก็ได้ แต่จำเลยหากระทำไม่ การที่จำเลยวิ่งไล่ตามไปทำร้ายผู้ตายกับพวกของจำเลยซึ่งวิ่งถืออาวุธดังกล่าวไปด้วย จึงย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจมีการทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายได้ ทั้งเป็นการที่อยู่ในภาวะที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดกับคนร้ายทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12487/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองและการครบกำหนดอายุความ 10 ปี
ที่ดินของจำเลยและที่ดินของมารดาและยายจำเลยตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันเป็นแปลงใหญ่ จำเลยทราบดีว่า ท. ยายจำเลยขายฝากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่และเป็นที่ดินที่จำเลยได้ครอบครองทำกินอยู่ด้วยไว้แก่โจทก์ แต่จำเลยคงทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมา ภายหลังจำเลยทราบด้วยว่า ท. ไม่ไถ่คืน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยก็ยังทำกินอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา จึงต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยมิได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือโดยบอกกล่าวต่อโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ฐานะการครอบครอบที่ดินพิพาทของจำเลยก็คงมีตามเดิมไม่อาจจะถือได้ว่าจำเลยครอบครองเพื่อตนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จนเมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทและจำเลยคัดค้านการรังวัด อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2537 จึงจะพอถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทนั้นแล้ว แต่เมื่อคำนวณถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
of 408