คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำผิด เมื่อเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจ ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบมาตรา 17
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 35เป็นบทบัญญัติในเรื่องริบของกลางที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ แต่เมื่อมีผู้ร้องขอให้สั่งคืนของกลางที่ศาลสั่งริบไปแล้ว พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ประกอบด้วยมาตรา17 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานบุคคลแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง ไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า ความจริงผู้ซื้อทรัพย์พิพาทคือจำเลย มิใช่ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้ซื้อในสัญญาซื้อขายนั้น เป็นการสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องหรือจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงเพื่อแสดงว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยได้ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช่าซื้อ-ค้ำประกัน: ค่าเช่าซื้อมีอายุความ 2 ปี, สิทธิเจ้าของทรัพย์ 10 ปี, สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากผู้ให้เช่าซื้อเป็นพ่อค้า ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6)
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนนั้น เป็นการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์คืนอยู่ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี
ผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งทำสัญญาไว้ว่าตนไม่มีสิทธิถอนการค้ำประกันไม่ว่าเวลาใดนั้น จะแสดงเจตนาฝ่ายเดียวขอถอนการค้ำประกันภายหลังจากผู้เช่าซื้อผิดสัญญาแล้วโดยฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อมิได้ตกลงด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีลักทรัพย์โดยไม่ระบุชื่อเจ้าของทรัพย์ ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพได้
ฟ้องว่าจำเลยบังอาจอาศัยโอกาสที่มีเพลิงไหม้ลักกระปุกอัดจารบีโรงสีเล็ก 1 อัน ราคา 80 บาท ของผู้ขนย้ายสิ่งของหนีไป โดยทุจริต ดังนี้ พอที่จะเข้าใจได้ว่าทรัพย์เป็นของคนใดคนหนึ่งในพวกขนของหนีไฟ แล้วจำเลยบังอาจลักเอาไป เท่ากับฟ้องระบุตัวเจ้าทรัพย์ไว้พอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
เมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วว่าได้ลักของกลางของผู้ขนของหนีไฟ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษไปได้ตามข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพนั้น ศาลจะยกเอาข้อสงสัยว่า ที่จำเลยรับอาจไม่ใช่ความจริง มาเป็นเหตุยกฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีลักทรัพย์: การระบุตัวเจ้าของทรัพย์และการรับสารภาพของจำเลย
ฟ้องว่าจำเลยบังอาจอาศัยโอกาสที่มีเพลิงไหม้ลักกระปุกอัดจารบีโรงสีเล็ก 1 อัน ราคา 80 บาท ของผู้ขนย้ายสิ่งของหนีไป โดยทุจริต. ดังนี้ พอที่จะเข้าใจได้ว่าทรัพย์เป็นของคนใดคนหนึ่งในพวกขนของหนีไฟ แล้วจำเลยบังอาจลักเอาไป. เท่ากับฟ้องระบุตัวเจ้าทรัพย์ไว้พอสมควรที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้. ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
เมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วว่าได้ลักของกลางของผู้ขนของหนีไฟ. ศาลย่อมพิพากษาลงโทษไปได้ตามข้อเท็จจริงที่จำเลยรับสารภาพนั้น. ศาลจะยกเอาข้อสงสัยว่า ที่จำเลยรับอาจไม่ใช่ความจริง.มาเป็นเหตุยกฟ้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจพิจารณาคืนของกลางให้เจ้าของได้ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยหลักประมวลกฎหมายอาญา
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13)พ.ศ.2499 มาตรา 4(คือมาตรา 27 ทวิ) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกันความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิ มิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องก็ย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของทรัพย์สิน vs. ผู้ประกอบการค้าในฐานะนิติบุคคล
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งได้ใช้ประกอบการค้าโดยบริษัทชาญสิริเทรดดิ้งจำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายของบริษัท. โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้หนึ่งอยู่ในบริษัทฯ จึงเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ประกอบการค้าในตึกแถวดังกล่าว. แต่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้น. เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้เวนคืนตึกแถวของโจทก์ดังกล่าว. บริษัทฯจึงได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้นและต้องออกไปจากตึก. จึงเป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 มาตรา 14 วรรคสาม. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้ร้องทุกข์ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้องแทน
ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำเลยตัดฟันต้นมะขามเทศในที่ดินของมารดา เมื่อมารดาไม่ร้องทุกข์ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของทรัพย์ได้
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำให้เสียทรัพย์: เจ้าของทรัพย์ต้องเป็นผู้ร้องทุกข์ หรือได้รับมอบอำนาจ หากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ครอบครองไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายกับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำเลยตัดฟันต้นมะขามเทศในที่ดินของมารดา เมื่อมารดาไม่ร้องทุกข์ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้าของทรัพย์ได้
บทบัญญัติในมาตรา 194 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้นหมายเฉพาะข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์เท่านั้น
คดีเรื่องทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยฟังว่าทรัพย์นั้นไม่ใช่ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าผู้เสียหายเป็นผู้ครอบครองมีอำนาจร้องทุกข์ได้ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์อาจยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยมิได้เป็นคนทำให้ทรัพย์นั้นเสียหายได้ เพราะมิใช่ข้อเท็จจริงที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่มีอุทธรณ์ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะ ผู้เสียหายที่ร้องทุกข์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้เป็นผู้ทำให้ทรัพย์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
แม้โจทก์ฎีกาอ้างว่าเป็นฎีกาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจแปลข้อความในฎีกานั้นได้ว่า พอถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย และถ้าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ: ผู้เสียหายคือเจ้าของทรัพย์ ไม่ใช่ตัวแทน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองเครื่องพิมพ์ดีดของบริษัทอีสต์เอเซียติค จำกัด มีอำนาจจัดการจำหน่ายและให้เช่าซื้อ จำเลยได้เช่าซื้อเครื่องพิมพ์ดีดนั้นไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ส่งคืนเครื่องพิมพ์ดีดกลับยักยอกเสีย ดังนี้ เพื่อได้ความว่าโจทก์เป็นเพียงผู้ช่วยผู้จัดการแผนกขายเครื่องพิมพ์ดีดของบริษัทอีสต์เอเซียติค จำกัด เพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อในฐานะตัวแทนบริษัทตามหน้าที่ ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) คือ บริษัท โจทก์เป็นเพียงผู้ปฏิบัติงานของบริษัทคนหนึ่งไม่ปรากฏว่ามีความรับผิดชอบหรือเสียหายอย่างใดนอกเหนือไปกว่านั้น จึงย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะพึงดำเนินคดีแก่จำเลยในนามของโจทก์เป็นส่วนตัวได้
of 14