คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้เป็นตลาดนัด สัญญาอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้ตามสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำกับจำเลยมีคำว่าเช่าเพื่อ "ทำการเกษตร" และโจทก์เองก็รับว่า ในตอนทำสัญญาตกลงว่าจำเลยเช่าเพื่อปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่างทำการเกษตร แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ที่ดินพิพาททำเป็นตลาดนัดสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนโคกระบือ ไม่เคยเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ในที่ดินพิพาทเลย จะถือว่าจำเลยเป็นผู้เช่านาและได้ทำนาในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 5,21 หาได้ไม่ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 31 สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการเช่าที่ต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ สิทธิของผู้เช่าในการซื้อคืน
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาท พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อคชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน 15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่รู้ว่า พ. โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอโอนนาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเช่าที่ดินฯ คือต้องผ่าน คชก.ก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องต่อศาล
การฟ้องขอให้ผู้รับโอนโอนนาให้แก่ผู้เช่านาโดยอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาไปโดยมิได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือผู้เช่าจะต้องร้องขอต่อคชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยก่อน ตามมาตรา 54 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยเป็นประการใด ผู้ไม่พอใจมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด และหากมีการอุทธรณ์ต่อไปยัง คชก.จังหวัด และยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ผู้ไม่พอใจจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัย แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัย ตามมาตรา 56 และ 57 คำว่า อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัดตาม มาตรา 56 ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 หมายความว่า "มีสิทธิ" คู่กรณีจะใช้สิทธิก็ได้ ไม่ใช้สิทธิก็ได้ กล่าวคือเมื่อ คชก.ตำบล มีคำวินิจฉัยแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตามมีสิทธิที่จะเลือกอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเลือกที่จะไม่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลก็ถึงที่สุด ตามมาตรา 56 วรรคสอง เมื่อถึงที่สุดแล้วคู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาล เมื่อโจทก์ใช้สิทธิขอซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลาสองหรือสามปีต่อ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด แล้ว แม้ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัดจะได้มีคำวินิจฉัยเลยกำหนดสองปีหรือสามปีตามมาตรา 54 วรรคแรกก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด ต่อศาลภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 57 วรรคแรก ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์หากผู้ขายไม่แจ้งสิทธิซื้อก่อนแก่ผู้เช่านาตามพรบ.เช่าที่ดินฯ แต่ความผิดอยู่ที่ผู้ขาย ไม่กระทบสิทธิโจทก์
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยยังมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพราะมิได้บอกให้ ป. ผู้เช่านาได้ใช้สิทธิซื้อก่อน การที่จำเลยไม่แจ้งให้ ป. ทราบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของฝ่ายจำเลยเอง ไม่เกี่ยวกับโจทก์และไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาจะซื้อขายที่ฝ่ายจำเลยทำไว้กับโจทก์ จำเลยจะนำเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างเพื่อมิให้ผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวมิได้ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้เช่า มิใช่คุ้มครองผู้ให้เช่านาหรือจำเลยซึ่งคดีนี้มีข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเรื่องจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์แล้ว จำเลยย่อมผูกพันตามสัญญาและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้โจทก์ ถือว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่นาคืนของผู้เช่า: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ก่อนฟ้องร้อง
เมื่อโจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เช่านาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่นาจากผู้ให้เช่าโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2528 มาตรา 53 และมาตรา 54 โจทก์จำต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 54 มาตรา 56 และมาตรา 57กล่าวคือโจทก์ต้องร้องขอต่อ คชก. ตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยขายที่นาแก่โจทก์เสียก่อนตามมาตรา 54 วรรคสอง เมื่อ คชก. ตำบลวินิจฉัยประการใด โจทก์ไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ คชก. จังหวัดภายใน30 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัย แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย มิฉะนั้นให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นถึงที่สุดตามมาตรา 56 หาก คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว โจทก์ยังไม่พอใจโจทก์จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีได้ตามมาตรา 57 การที่โจทก์ขอซื้อที่นาจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยทันทีโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่นาของผู้เช่า: การบอกขายที่ไม่เป็นไปตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ ไม่ตัดสิทธิซื้อ
การที่ผู้ให้เช่านาบอกขายที่นาให้แก่จำเลย เป็นการบอกขายกันเอง โดยมิได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อมาผู้ให้เช่านาขายนาให้แก่โจทก์แทน จำเลยผู้เช่านาไม่หมดสิทธิที่จะซื้อนาดังกล่าว ดังนั้นข้อความที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้ให้เช่านาขายนาให้โจทก์โดยผู้ให้เช่านาไม่ได้บอกจำเลยก่อน หากบอกจำเลยแล้วจะซื้อไว้เอง จึงไม่เป็นข้อความที่อาจทำให้คู่ความแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีได้ ไม่เป็นข้อสำคัญในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 173วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำสวนไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยทำสวนไม่ใช่ทำนา พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติคุ้มครองเฉพาะการเช่านาโดยบังคับไว้ในหมวดที่ 2 ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นได้บัญญัติแยกไว้ต่างหากในหมวด 3 ว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นโดยมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติถึงกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่จนบัดนี้ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดอีก โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยขาดประโยชน์จากการที่อาจให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการในคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 218
แม้ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะบัญญัติให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดประกอบด้วยข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นกรรมการ โดยมิได้ระบุคำว่าหรือ "ผู้แทน" ไว้ก็ตาม แต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวจึงมอบหมายให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งอื่นประชุมแทนได้และถือว่าการประชุมคณะกรรมการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการและการประชุมที่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และประกาศคณะปฏิวัติ
การที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 7(2) ระบุ บุคคลที่เป็นคณะกรรมการโดยมิได้มีข้อความให้อำนาจบุคคลอื่นทำการแทน ดังนั้นกรรมการคนใดคนหนึ่งจะมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมาประชุมแทนในฐานะกรรมการตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ดังกล่าวย่อมเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับ 218 ข้อ 44 วรรคสอง(ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นสามารถมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้โดยให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
of 20