คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่านา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่านาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 การคุ้มครองระยะเวลา 5 ปี และการพิจารณาจากสัญญาเช่ารายปี
มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493มุ่งคุ้มครองผู้เช่านาผู้อื่น ทำให้มีสิทธิเช่าทำได้ติดต่อกันไปมีกำหนด 5 ปีนับแต่วันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับในกรณีตามอนุมาตรา (1) หรือนับแต่วันทำสัญญาเช่าในกรณีตามอนุมาตรา (2) การที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่า การเช่ารายใดจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าการเช่ารายนั้นได้ทำสัญญาเช่ากันมาตั้งแต่เมื่อใดเกิน 5 ปีตามสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองแล้วหรือไม่ จะถือเอาหนังสือสัญญาเช่าฉบับใดฉบับหนึ่งที่ทำกันไว้เป็นเกณฑ์พิจารณาแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ จำเลยได้ทำสัญญาเช่าทำนาพิพาทกับโจทก์เป็นรายปีทุกปีติดต่อกันมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ถึงปีพ.ศ. 2514 ระยะเวลากว่า 5 ปีแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองให้มีสิทธิเช่าต่อได้อีกต่อไป มิใช่ว่าเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไปแล้ว สัญญาเช่าฉบับที่ทำกันเมื่อ พ.ศ. 2514 นั้นยังมีอายุต่อไปอีก 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังการขายและการเช่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน เมื่อเจ้าของขายและมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองในที่นั้น ไม่ใช่โจทก์ได้สิทธิครอบครองโดยการแจ้งการครอบครอง
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปีในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป สัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507 เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมา กรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่า จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ. 2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา (2) แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือ จำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507 การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกา 857-859/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่านาและการครอบครองที่ดินหลังสัญญาหมดอายุ: การชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นที่นาซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเมื่อเจ้าของขายและมอบการครอบครองให้โจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้สิทธิครอบครองในที่นั้นไม่ใช่โจทก์ได้สิทธิครอบครองโดยการแจ้งการครอบครอง
จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ.2503แต่เมื่อที่พิพาทที่จำเลยเช่ามีเนื้อที่เพียง 40 ไร่ และอยู่ตำบลบางเพรียง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นท้องที่ที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493และพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 9(2) กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุต่อไปอีก 5 ปี ในเมื่อจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไป เมื่อจำเลยยังคงยึดถือครอบครองนาพิพาทต่อมา ก็ต้องถือว่าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อไปสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีอายุต่อไป 5 ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ.2503 ถึง พ.ศ.2507เมื่อถือว่าจำเลยเช่านาจากโจทก์ตลอดมากรณีเป็นเรื่องจำเลยยึดถือครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ในฐานะผู้เช่าจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความเมื่อจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตลอดมาจนถึง พ.ศ.2503 และสัญญาเช่ามีอายุต่อไปจนถึง พ.ศ.2507 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493 มาตรา 9(2)แม้สัญญาเช่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือจำเลยก็ต้องชำระค่าเช่านาในปีการเช่าดังกล่าวให้โจทก์ตามพระราชบัญญัตควบคุมการเช่านา พ.ศ.2493 มาตรา 12
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีอายุเพียงสิ้น พ.ศ. 2507การที่จำเลยยังคงทำนาพิพาทตลอดมา ต้องถือว่าจำเลยเข้าทำโดยละเมิดต่อโจทก์แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชำระค่าเช่าจนกว่าจำเลยจะเลิกทำนา ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ค่าเช่าที่โจทก์ฟ้องเรียกตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาเช่าผูกพันต่อกันนั้นก็คือค่าเสียหายนั่นเอง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ได้ (อ้างฎีกาที่ 857-858-859/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038-1039/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางเช่านา: สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีผลบังคับ สัญญาจ้างทำนาใช้เป็นหลักฐานเช่าไม่ได้
ทำสัญญาจ้างทำนาเป็นหนังสือโดยอำพรางนิติกรรมการเช่านา สัญญาเช่านาที่ถูกอำพรางนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับ และจะถือเอาหลักฐานสัญญาจ้างทำนาเป็นหลักฐานการเช่านามิได้ เมื่อการเช่านามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ และโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากนาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในนาที่เช่านั้นต่อไปได้ การอยู่ต่อมาของจำเลยจึงเป็นละเมิด
ประชุมใหญ่ ครั้ง 20/2509

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038-1039/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการเช่านา: สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มี สัญญาสัญญาจ้างทำนาใช้ไม่ได้
ทำสัญญาจ้างทำนาเป็นหนังสือโดยอำพรางนิติกรรมการเช่านาสัญญาเช่านาที่ถูกอำพรางนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับและจะถือเอาหลักฐานสัญญาจ้างทำนาเป็นหลักฐานการเช่านามิได้ เมื่อการเช่านามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ และโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากนาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในนาที่เช่านั้นต่อไปได้ การอยู่ต่อมาของจำเลยจึงเป็นละเมิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำนาโดยอาศัยสิทธิผู้เช่าเดิม ไม่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เช่านา
ผู้ที่ทำนาโดยอาศัยสิทธิของผู้เช่านานั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญํติการเช่านา พ.ศ. 2493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237-244/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่านา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย/ค่าเช่าที่ค้างชำระ
คดีที่จำเลยตายเสียก่อนได้รับสำเนาฟ้องอุทธรณ์นั้น จะดำเนินต่อไปได้ก็ต่อเมื่อได้มีผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ และศาลจะต้องมีคำสั่งอนุญาตด้วย
การคุ้มครองที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 ในกรณีที่จะบังคับไม่ให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาและขับไล่ผู้เช่าออกจากที่นานั้น จะมีได้ก็แต่ในระหว่างที่สัญญาเช่ายังมีอายุอยู่เท่านั้น
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อผู้ให้เช่าเป็นโจทก์ฟ้อง แม้จำเลยให้การรับว่าได้เป็นผู้เช่าแต่ต่อสู้ไม่ยอมออกจากที่เช่านั้น หาใช่หลักฐานเป็นหนังสืออันโจทก์จะฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาเช่าก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา ทำให้สัญญาเช่าไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าว
เมื่อการเช่านาได้ตกลงเลิกกันก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา 2493 ฉนั้นจะนำ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่ามา 2493 มาใช้บังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่านาก่อนฤดูทำนา: สิทธิบอกเลิกสัญญา
การเช่านานั้นสันนิษฐานว่าเช่ากันชั่วฤดูทำนา เมื่อบอกเลิกการเช่านาก่อนฤดูทำนาปีใหม่สัญญาเช่าก็ต้องระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเช่านา: เจ้าของนามีสิทธิฟ้องบังคับได้ทันทีเมื่อผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการอำเภอ
คณะกรรมการอำเภอมีคำสั่งให้ผู้เช่านาคืนนาที่เช่าให้แก่เจ้าของนาตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 แต่ผุ้เช่านาขัดขืนไม่ยอมคืนและยังคงเข้าทำนานั้นอยู่ต่อไปอีก เช่นนี้ เจ้าของนาชอบที่จะเสนอคดีพิพาทนั้นต่อศาลได้ทันที ไม่จำต้องรอให้พ้นกำหนด 20 วันตาม พ.ร.บ.ควยคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 มาตรา 14 เพราะกรณีเป็นคนละเรื่องกัน
of 9