พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313-1319/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นอำนาจของนายอำเภอ ไม่ใช่เทศบาล
อำนาจที่จะดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันหรือนัยหนึ่งที่สาธารณประโยชน์ เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม อำนาจฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่นายอำเภอ
ความในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกัน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการใดเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเช่น ที่ชายตลิ่งซึ่งราษฎรทั่วไปใช้จอดเรือขึ้นสู่ถนนได้มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้วคือให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ และต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ภายในเขตเทศบาลจึงหาได้ครอบคลุมไปถึงที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการของนายอำเภออยู่แล้วไม่
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) (อ้างฎีกาที่ 153/2498, 1277/2503, 227-229/2504)
ความในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกัน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการใดเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเช่น ที่ชายตลิ่งซึ่งราษฎรทั่วไปใช้จอดเรือขึ้นสู่ถนนได้มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้วคือให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ และต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ภายในเขตเทศบาลจึงหาได้ครอบคลุมไปถึงที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการของนายอำเภออยู่แล้วไม่
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) (อ้างฎีกาที่ 153/2498, 1277/2503, 227-229/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่ต้องรับผิด
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่ว ๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้ว คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทน ฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัด ไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้นหากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ต้องมีเจตนาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรง
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินเกินระเบียบของเทศบาล: จำเลยต้องคืนเงินที่เบิกเกินไป แม้จะอ้างสุจริตไม่ได้
จำเลยให้การว่า ระเบียบและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและปลัดกระทรวงก็ไม่มีอำนาจลงนามในระเบียบและคำสั่ง โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างว่าขัดต่อพระราชกฤษฎีกาบทใดข้อใดและเหตุใดปลัดกระทรวงจึงไม่มีอำนาจลงนามนั้นถือว่าไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยให้
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตเงินเทศบาล ต้องพิจารณาจากวันที่ทราบตัวผู้กระทำผิดจริง ไม่ใช่แค่วันที่รู้เรื่องการทุจริต
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลสมุหบัญชีต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้นไม่ใช่กฎหมายจะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้นโดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกสาธารณสมบัติของเทศบาล: นายกเทศมนตรีฟ้องแทนเทศบาลได้
บุคคลในตำแหน่งนายกเทศมนตรีย่อมมีอำนาจฟ้องในนามของเทศบาลได้
ฟ้องโจทก์ขึ้นต้นว่า "นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูล โดยนายเขตต์ ฉัตรศิริ โจทก์" นั้นหมายความว่าฟ้องในนามของเทศบาลไม่ใช่ฟ้องเป็นส่วนตัว
เทศบาลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ย่อมหมายรวมถึงให้มีอำนาจฟ้องร้องคดีผู้ที่บุกรุกที่ดินนั้นด้วย
ฟ้องโจทก์ขึ้นต้นว่า "นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสตูล โดยนายเขตต์ ฉัตรศิริ โจทก์" นั้นหมายความว่าฟ้องในนามของเทศบาลไม่ใช่ฟ้องเป็นส่วนตัว
เทศบาลที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ย่อมหมายรวมถึงให้มีอำนาจฟ้องร้องคดีผู้ที่บุกรุกที่ดินนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
คณะเทศมนตรีเทศบาลเมืองในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ให้รื้อถอนอาคารฯที่ปลูกสร้างเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่จำเลยซึ่งถูกฟ้องฐานกระทำผิดพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯได้ตกลงกับนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า จะยอมรื้อถอนอาคารไปภายในกำหนด1 ปี นั้น ย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว และการที่พนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญานั้นได้ถอนคดีอาญาไป ก็ไม่ทำให้ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับนายกเทศมนตรีนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการตกลงที่ให้โจทก์ได้รับผลตามต้องการและแก้การกระทำของจำเลยที่ฝ่าฝืนกฎหมายไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลและการวางขายเนื้อสุกร ไม่ถือเป็นสถานการค้าที่ต้องเสียภาษี
โรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ซึ่งผู้ได้รับอนุญาติให้ฆ่าสุกรจำหน่ายต้องนำสุกรไปฆ่าตาม พ.ร.บ. อากรฆ่าสัตว์ และสถานที่ซึ่งผู้นำสุกรไปฆ่า นำเอาเนื้อสุกรไปวางนอกโรงฆ่าสัตว์นั้น ไม่ใช่สถานการค้าของผู้นำสุกรไปฆ่าตามที่กฎหมายบังคับที่จะต้องประเมินเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78, 79.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลละเลยหน้าที่จัดการความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือ จัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สะดุดตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาและในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้นดังนี้ต้องถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลละเลยหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือจัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สดุดตาแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา และในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้น ดังนี้ต้องถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์