คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากทำร้ายร่างกายสาหัสเป็นความผิดฐานประทุษร้ายต่อร่างกายจากเหตุชุลมุน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเนื่องจากมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 299 ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลย้อนหลังต่อคดีอาญา
ในระหว่างพิจารณารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)โดยกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีน ต้องไม่เกินปริมาณ0.500กรัมเมื่อไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าวัตถุออกฤทธิ์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยที่2จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7214/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเจตนาการครอบครองที่ดินและผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับโอน
พ.สามีจำเลยเคยถูก ส.ร้องทุกข์และกล่าวหาดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ พ.ต่อสู้ว่าที่ดินที่ปลูกต้นไม้เป็นของ พ.ได้รับมาโดยทางมรดกมิได้อาศัยหรือเช่าที่ดินแปลงนั้นจากใคร ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า คดีไม่พอฟังว่าต้นไม้และที่ดินที่ปลูกต้นไม้เป็นของ ส. พิพากษายกฟ้อง คดีดังกล่าวถึงที่สุด จากข้อต่อสู้ของ พ.ในคดีดังกล่าวถือได้ว่า พ.ได้โต้แย้ง ส.ผู้มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทว่า พ.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเท่ากับ พ. ได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่ดินพิพาทจากการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส.มาเป็นการแย่งการครอบครองเพื่อตนเองแล้วตั้งแต่นั้น เมื่อ ส.ไม่ได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทเสียภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ส.ก็หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนซึ่งสิทธิครอบครองที่พิพาทจาก พ.
การที่ ส.ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์หลังจากที่ ส. หมดสิทธิที่จะฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจาก พ. หรือจำเลยแล้ว แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ส.โดยสุจริตและจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าหน้าที่โดยสุจริตก็ตาม โจทก์ในฐานะผู้รับโอนก็ย่อมจะไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคู่สัญญาและผลกระทบต่อสัญญาซื้อขาย รวมถึงการเลิกสัญญาสินค้า
ท. ได้แจ้งแก่จำเลยแต่แรกว่า ผู้ซื้อเครื่องจักรปั่นน้ำยางซึ่งจะเป็นคู่สัญญากับจำเลย คือบริษัทโจทก์ แต่เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนตั้งบริษัทจึงให้ใส่ชื่อ ท. และ ส. เป็นคู่สัญญาไปก่อน และเมื่อจดทะเบียนแล้วได้แจ้งแก่จำเลยให้ออกใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าใหม่ในนามบริษัทโจทก์ ซึ่งจำเลยก็ได้ออกให้ นอกจากนั้นในหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายที่จำเลยมีถึงบริษัทโจทก์ผ่าน ท. ได้ระบุไว้ชัดว่า บริษัทโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายฉบับแรกที่ทำไว้กับจำเลย ซึ่งมี ท. และ ส. เป็นผู้ลงชื่อในฐานะผู้ซื้อ ดังนั้นถือได้ว่าทั้ง ท. และจำเลยต่างมีเจตนาแท้จริงร่วมกันมาแต่ต้นว่าให้บริษัทโจทก์เป็นผู้ซื้อและเป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อต่อมาบริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาบริษัทโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่มีชื่อเป็นคู่สัญญาหาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ตกลงขยายระยะเวลาการเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่โจทก์ออกไป จากวันที่ระบุไว้ในใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้าโดยไม่มีกำหนดโจทก์จึงยังไม่ผิดสัญญาจนกว่าจำเลยจะกำหนดเวลาแน่นอนให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟ-เครดิตเสียก่อน เมื่อจำเลยยังมิได้กระทำการดังกล่าว แม้โจทก์จะไม่ได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตให้ โจทก์ก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำ เมื่อจำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และโจทก์ก็มีหนังสือถึงจำเลยเรียกเงินมัดจำคืน ตามพฤติการณ์ถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ซึ่งในกรณีนี้จำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาและเขตอำนาจศาล: การหลบหนี้และผลต่อการฟ้องร้อง
การที่จำเลยแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมแต่ยังไม่แจ้งย้ายเข้าที่ใดจึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยไปอยู่ณที่ใดแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา41ที่จำเลยแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมมีพฤติการณ์ส่อว่าจะหลบหนีหนี้จึงต้องถือว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเดิมตามฟ้องโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงได้ หากไม่ขัด กม.คุ้มครองแรงงาน และมีการยินยอมของลูกจ้าง
ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 เป็นกรณีต่อเนื่องมาจากมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเกิดจากข้อเรียกร้องโดยให้มีผลผูกพันนายจ้างกับลูกจ้างซึ่งลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือลูกจ้างที่มีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมในการเจรจาข้อเรียกร้องนั้น และเห็นได้ว่าความในมาตรา 20 เป็นเรื่องห้ามนายจ้างมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 และต่อมาตกลงกันได้ตามมาตรา 18 และ 22 เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้องดังกล่าวมา กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จ เสียใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 ได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานระดับบริหารและได้ทำข้อตกลงให้ยกเลิกระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานระดับบริหารของบริษัทซึ่งมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จข้อตกลงดังกล่าวนี้จึงใช้บังคับได้และมีผลผูกพันโจทก์ ในปี 2522 บริษัท จ. และบริษัทในเครือออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.1 และการโอนย้ายโจทก์ระหว่างบริษัทในเครือของบริษัท จ.กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องกันไปเสมือนได้ทำอยู่ในบริษัทเดียวกัน และคงให้สิทธิต่าง ๆ เช่นเดียวกัน และเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 ก็ได้ระบุได้เช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงรับโอนโจทก์มาพร้อมสิทธิต่าง ๆของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องเงินบำเหน็จตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งใช้บังคับได้สิทธิของโจทก์มีเพียงใด จำเลยที่ 1 ก็คงรับโอนมาเพียงนั้นเอกสารหมาย ล.1 จึงผูกพันโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964-4967/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายภาษีอากรเปลี่ยนแปลง การกระทำความผิดที่บัญญัติไว้แล้วแต่ถูกยกเลิกตามกฎหมายใหม่ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา83และมีบทลงโทษตามมาตรา92แห่งประมวลรัษฎากรปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534บัญญัติในมาตรา7ให้ยกเลิกความในหมวด4ภาษีการค้ามาตรา77ถึงมาตรา93เดิมและบัญญัติในมาตรา8ให้ใช้ความที่บัญญัติใหม่แทนซึ่งบทบัญญัติมาตรา8ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปแต่ความที่บัญญัติใหม่ในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534นั้นมิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดที่โจทก์ฟ้องไว้อีกจึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไปการกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารโดยพยานบุคคล
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยลงชื่อในฐานะพยานการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยลงชื่อในฐานะเป็นคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาเท่ากับเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะโจทก์เปลี่ยนแปลงหลังฟ้อง & ความเสียหายก่อนกระทำผิด ไม่กระทบอำนาจฟ้อง/ความรับผิด
ขณะยื่นฟ้องโจทก์ยังเป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์เป็นเพียงนิติบุคคลธรรมดาภายหลังฟ้องก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุกระทำผิดอาญาไม่ จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ การเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้ภายหลังตามที่จำเลยอ้างนั้นก็คงเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้า จึงไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายที่จำเลยได้ก่อขึ้น และไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากความผิดที่ได้กระทำนั้น
of 40