พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินซ้ำกับคดีที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นฟ้องซ้ำไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน ส. เป็นโจทก์ฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดิน โดยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ซึ่งต่อมาคู่ความในคดีดังกล่าวตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ส่วนคดีนี้โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอ้างเหตุผลเดียวกันว่า การออกโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับที่ดินของส. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. โจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินพิพาทต่อจาก ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอันเป็นการฟ้องอธิบดีกรมที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 แม้ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยผิดพลาดคลาดเคลื่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61 รายเดียวกันนั่นเองโจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่ความเดียวกันและต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินเลขที่ 15865 ออกทับที่ดินของ ส. อีก อันเป็นเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งมีคำวินิจฉัยมาแล้ว จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกผู้สุจริต-เจตนาลวง: เพิกถอนนิติกรรมขายฝากไม่ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9865/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผลของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่ และความสิ้นสุดของกระบวนการยุติธรรม
ขณะที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าราคาไม่เหมาะสมเพราะราคาต่ำกว่าราคาประเมิน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 309 ทวิ มีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำมาใช้กับกรณีนี้โดยไม่คำนึงว่าคดีนี้จะมีการฟ้องร้องต่อกันก่อนที่บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วหรือไม่เมื่อคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องซึ่งมีผลเท่ากับยกคำร้องและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้มีการสมรสซ้อน แต่กฎหมายเดิมยังใช้บังคับ
บ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อ 6 ธ.ค. 2501 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยอีกเมื่อ 16 มี.ค. 2505 ป.พ.พ. บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1488 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น เมื่อในขณะที่ บ. ซื้อที่พิพาทยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องร้องให้การสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยยังชอบอยู่ ดังนั้นที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของทั้ง บ. โจทก์ และจำเลย
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงด้วยการใช้โฉนดที่ดินที่ถูกเพิกถอนเป็นประกันหนี้
จำเลยทั้งสองขอกู้ยืมเงินโจทก์โดยใช้โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเพิกถอนแล้วให้ยึดถือเป็นประกัน โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อเท็จจริงนี้ไว้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยทั้งสองเสนอใช้ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวชำระแทนเงินกู้ โดยจำเลยที่ 1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียน จำเลยที่ 2ทำหนังสือให้ความยินยอม ทั้งที่โฉนดที่ดินนั้นถูกเพิกถอนเพราะที่ดินตามโฉนดที่ดินถูกขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่แล้ว เป็นเหตุให้โจทก์คืนหนังสือสัญญากู้ให้แก่จำเลย ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงจนโจทก์หลงเชื่อและได้เงินจากโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8362/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดมีสิทธิรับทราบคำร้องเพิกถอนการขาย เพื่อปกป้องประโยชน์ส่วนได้เสีย
ป.วิ.พ. มาตรา 280 เป็นเพียงบทสันนิษฐานเพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาค 4 ว่าด้วยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้ถือว่าบุคคลตามที่ระบุไว้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีเท่านั้น มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากที่ระบุไว้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ได้
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ย่อมกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ซื้อทรัพย์ได้โดยตรง จึงต้องให้โอกาสผู้ซื้อทรัพย์ได้โต้แย้งคัดค้านด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เสียก่อนไต่สวนคำร้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ย่อมกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ซื้อทรัพย์ได้โดยตรง จึงต้องให้โอกาสผู้ซื้อทรัพย์ได้โต้แย้งคัดค้านด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งสำเนาคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เสียก่อนไต่สวนคำร้อง เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า MAKITA และ MAKITO และการจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ทำให้ถูกเพิกถอนได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITA อ่านว่า มากิต้า หรือ มากิตะ ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร และตัวเขียนเล็กแบบอักษรประดิษฐ์กับอักษร M.E.W. ในรูปวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันคำว่า MAKITO อ่านว่า มากิโต้ หรือ มากิโตะ มีลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร ซึ่งทั้งสองคำจะประกอบด้วยจำนวนตัวอักษรโรมัน 6 ตัว เท่ากัน มีอักษร 5 ตัวหน้าเหมือนกัน โดยจัดวางเรียงชิดติดกันอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ต่างกันแต่อักษรตัวสุดท้ายซึ่งของโจทก์จะเป็นตัวอักษร A ส่วนของจำเลยจะเป็นตัวอักษร O แม้จะเห็นความแตกต่างของตัวอักษรตัวสุดท้ายอย่างชัดเจนเมื่อเขียนเป็นอักษรโรมันลักษณะตัวพิมพ์ใหญ่ แต่หากเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า makita ในการเขียนเป็นอักษรประดิษฐ์ ซึ่งเขียนในลักษณะของตัวเขียนเล็กคือ makita จะเห็นได้ว่าอักษรตัวสุดท้ายคือ a จะมีลักษณะกลมคล้ายตัวอักษร o เพียงแต่ด้านล่างทางด้านขวาของตัวอักษร a จะมีหางลากออกมา ซึ่งหากบุคคลผู้ไม่คุ้นเคยกับอักษรโรมันอาจสังเกตไม่เห็นความแตกต่างได้ และเมื่อพิจารณาเสียงเรียกขานคำว่า makita กับ MAKITO แล้ว เสียงเรียกขานจะใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ พยางค์แรกออกเสียงเหมือนกัน พยางค์ท้ายสุดของโจทก์ออกเสียงเป็น ตะ หรือ ต้า ส่วนของจำเลยออกเสียงเป็น โต้ หรือ โตะ แม้โจทก์จะยังไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MATIKA ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่กับสินค้าของโจทก์ คงใช้แต่เครื่องหมายการค้าคำว่า makita ซึ่งเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO โดยเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ก็ตาม แต่ข้อแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์เล็กกับตัวพิมพ์ใหญ่ดังกล่าวหาใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดไม่ เครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 จำเลยนำเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO มาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประเภทเครื่องมือช่าง ในรายการสินค้า ใบเลื่อยใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ จำเลยก็ยอมรับว่าสินค้าใบเลื่อยของจำเลยสามารถใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้ารวมถึงเลื่อยวงเดือนแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้า เลื่อยชักแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าและเลื่อยสายพานแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์เป็นเวลาถึงประมาณ 27 ปี และปรากฏว่าสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 30 ปี แล้ว ก่อนสินค้าของจำเลยมีวางจำหน่ายหลายปี การที่จำเลยผลิตสินค้าใบเลื่อยและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO เพื่อใช้กับสินค้าดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยในการเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า MAKITO ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ได้ ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 จำเลยนำเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO มาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 7 ประเภทเครื่องมือช่าง ในรายการสินค้า ใบเลื่อยใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ จำเลยก็ยอมรับว่าสินค้าใบเลื่อยของจำเลยสามารถใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้า ของโจทก์ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยสำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้ารวมถึงเลื่อยวงเดือนแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้า เลื่อยชักแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าและเลื่อยสายพานแบบมือถือทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าด้วยตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ก่อนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO สำหรับสินค้าจำพวกที่ 7 รายการสินค้าซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์เป็นเวลาถึงประมาณ 27 ปี และปรากฏว่าสินค้าเครื่องมือช่างของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 30 ปี แล้ว ก่อนสินค้าของจำเลยมีวางจำหน่ายหลายปี การที่จำเลยผลิตสินค้าใบเลื่อยและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO เพื่อใช้กับสินค้าดังกล่าวซึ่งสามารถนำมาใช้กับเครื่องเลื่อยไฟฟ้าของโจทก์ได้ ย่อมส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยในการเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า makita ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า MAKITO ดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MAKITO ได้ ตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรอการลงโทษและการฎีกาที่ไม่ชอบเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและปรับ โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คุมความประพฤติของจำเลยห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกประเภท กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ต่อมาพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยยังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่ประพฤติตามเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติตามที่ศาลกำหนด จึงให้ลงโทษจำคุกซึ่งรอการลงโทษไว้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 17 วรรคสองจำเลยจะฎีกาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8034/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน ละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายเดิม ศาลสั่งเพิกถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยอยู่ที่คำว่า "UNIOR" ส่วนอักษรตัวอื่นเป็นเพียงส่วนปลีกย่อย เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ และเมื่อโจทก์ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันได้ ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในคำ "UNIOR" เพราะไปคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "UNITOR" ของผู้อื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนโจทก์ ก็เป็นปัญหาระหว่างโจทก์กับผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "UNITOR" มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิในคำว่า "UNIOR" ดีกว่าโจทก์
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งโจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่ามีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แล้วเสร็จจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าเฉพาะในเรื่องค่าเสียหาย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้า
การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและนำไปใช้กับสินค้าของจำเลยที่เป็นสินค้าพวกเดียวกันซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายของโจทก์ แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งโจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่ามีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับสินค้าในการลวงขายว่าเป็นสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงควรได้รับค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะดำเนินการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แล้วเสร็จจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าเฉพาะในเรื่องค่าเสียหาย ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์รายเดือน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7906/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินโดยเอกสารปลอม และผลกระทบต่อการจำนองของบุคคลภายนอกที่สุจริต
การที่โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ผู้ปลอมเอกสารโดยกรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความว่า โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจจัดการยื่นคำขอจดทะเบียนขายที่ดินของโจทก์โดยยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนในนามของจำเลยที่ 1 ได้ด้วย ทำให้สามารถโอนที่ดินไปเป็นของตนเองได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือที่ดินไว้ โจทก์สามารถฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 แม้โจทก์จะมีส่วนประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ยังมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 ได้ ในเมื่อที่ดินนั้นยังมิได้โอนเปลี่ยนมือไปเป็นของบุคคลอื่น ยังอยู่ในวิสัยที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ทำขึ้นโดยปราศจากอำนาจได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ผู้ปรากฏชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในขณะนั้น แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่จำนอง แต่พฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้พร้อม น.ส.3 ก. ทั้งยังมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโจทก์จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์มาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตหาได้ไม่ หากสุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองจึงถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และแม้ที่ดินจะต้องถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 1 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย
จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 ผู้ปรากฏชื่อเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในขณะนั้น แม้ขณะจดทะเบียนจำนองจำเลยที่ 1 จะมิได้เป็นเจ้าของที่ดินที่จำนอง แต่พฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้พร้อม น.ส.3 ก. ทั้งยังมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ไว้กับจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโจทก์จะยกเอาผลที่เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์มาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตหาได้ไม่ หากสุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ การที่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองจึงถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และแม้ที่ดินจะต้องถูกโอนกลับไปเป็นของโจทก์นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 1 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย