คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ในคดีล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยโอนที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน เป็นการตีใช้หนี้จำนองหนี้เงินยืมนอกสัญญาจำนอง หนี้ตามเช็คกับได้เงินสดจากผู้คัดค้านจำนวนหนึ่งภายหลังจากมีการขอให้จำเลยล้มละลาย และจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย มีเจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ 3 รายรวมเป็นเงิน330,607 บาท แต่จำเลยมีทรัพย์สินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้เพียง 29,534.32 บาท จำเลยย่อมรู้อยู่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ทั้งที่พิพาทก็มีราคาเกินกว่าหนี้จำนอง การโอนที่พิพาทตีใช้หนี้ให้ผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้รายอื่น ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนในระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 รับโอนที่พิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากมีการขอให้ล้มละลาย แม้จะรับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองการโอนในระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้รับโอนช่วงย่อมถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3321/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นอำนาจในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(2) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจที่จะจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยต่อไป รวมตลอดทั้งไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการจำนอง ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,114,115 ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องขอถอนฎีกาของผู้รับโอนและพิจารณาฎีกาของผู้รับโอนและฎีกาของผู้รับจำนองต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสีย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนในราคาต่ำกว่าตลาดเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การโอนที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้น ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนและการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้คนอื่น ๆ เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนีได้ต่อไป จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยในส่วนที่จะเรียกให้โอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่แล้วก่อนโอนตามนัยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 995,000 บาทต่อมาในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนการโอนไว้ในราคาเพียง500,000 บาท แม้ก่อนการโอนผู้คัดค้านต้องไปไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยแต่ก็ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนองและโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทในวันเดียวกัน โดยเงินที่นำไปไถ่ถอนเป็นเงินค่าบ้านและที่ดินพิพาทที่ต้องชำระให้จำเลยนั้นเอง การที่ผู้คัดค้านทำการไถ่ถอนจำนองและรับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้เดิม และเป็นการได้ทรัพย์ไปในขณะที่เจ้าหนี้รายอื่น ๆยังมิได้รับชำระหนี้ ประกอบกับได้ความว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน การโอนทรัพย์สินของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 มีความมุ่งหมายถึงการโอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ ของลูกหนี้ ซึ่งได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น โดยหาได้คำนึงถึงเหตุอันสมควรความจำเป็นหรือการถูกบังคับตามสัญญาไม่เมื่อตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี & บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายในการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และในชั้นพิจารณาก็มิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งมิได้มาศาลและนำสืบให้ศาลเห็นว่าการโอนดังกล่าวเป็นการโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ตัวได้ว่า การโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทดังกล่าว จากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ล้มละลายแล้วแม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 116 เพราะมิได้เป็นผู้รับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนที่พิพาทนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ล้มละลายต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จะได้รับโอนโดยสุจริต หรือมีค่าตอบแทนก็ตามย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย พิจารณาจากเจตนาลูกหนี้และราคาซื้อขายที่สมเหตุสมผล
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำการโอนที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านภายในสามเดือนก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่การโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการโอนที่สืบเนื่องมาจากลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวให้ผู้คัดค้านไว้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายประมาณ 2 ปีเศษ โดยลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 จะต้องโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านเมื่อสร้างเสร็จ ผู้คัดค้านชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ยังเหลืออีก 200,000 บาท แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวไปจำนองบริษัท เครดิตฟองซิเอร์เอเซีย จำกัด ไว้ และไม่สามารถไถ่ถอนจำนองมาเพื่อโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 300,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนอง ทำให้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าโอนเกินกว่าที่สัญญากำหนดถึง 100,000 บาท การโอนดังกล่าวเป็นการโอนตามสัญญาที่ลูกหนี้จำต้องโอนให้ผู้คัดค้านอยู่แล้ว ซึ่งราคาที่ดินและตึกแถวที่ผู้คัดค้านรับโอนนั้นก็ใกล้เคียงกับราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดีประเมินไว้ในปี 2529 เป็นเงิน 545,300 บาท แต่ ปรากฏว่าผู้คัดค้านรับโอนในปี 2524 ก่อนการประเมินถึง 5 ปี แสดงว่าราคาขณะรับโอนนั้นผู้รับโอนได้ รับโอนในราคาที่สูงกว่าปกติ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใดส่อแสดงว่าลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมสิทธิเช่า: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าระหว่างเจ้าของร่วมด้วยกัน
โจทก์และบุตรโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่าตึกพิพาทโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิดังกล่าวแทน ต่อมาได้มีการโอนเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของ อ. เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เพราะทั้งโจทก์และ อ. ต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าเมื่อมีเจ้าของร่วมหลายคน โจทก์มีสิทธิเพียงส่วนหนึ่งไม่สามารถฟ้องได้
เมื่อโจทก์และ อ. บุตรโจทก์ต่าง เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่า ตึก พิพาท โดย โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิการเช่าแทน และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ โอนเป็นชื่อ ของจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นตัวแทนของ อ. ให้เป็นผู้ถือสิทธิการเช่า แทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่า ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3227/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้ผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้ แต่เป็นการซื้อขายตามปกติ
จำเลยโอนขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านภายในระยะเวลา3 เดือนก่อนมีการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย แม้ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นหรือไม่เคยเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน แต่การโอนทรัพย์พิพาทเกิดจากการซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนทันทีที่คู่กรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน ผู้คัดค้านในฐานะผู้ซื้อมีหนี้ที่จะต้องชำระราคาแก่จำเลยผู้ขาย และจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระคือโอนทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันนั้นแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้ และถ้าหากผู้คัดค้านไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทมาเป็นของจำเลยได้ ผู้คัดค้านก็ต้องชดใช้ราคาแทน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกบุคคลภายนอกผู้รับโอนทรัพย์พิพาทต่อจากผู้คัดค้านเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลในทางกฎหมายที่มีต่อผู้คัดค้านเปลี่ยนแปลงไป การเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเป็นไปโดยผลของกฎหมายตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้อง กรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 มิใช่เป็นการขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสุจริตและราคาซื้อขายที่แท้จริง
การโอนทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลาย พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านจึงจะต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมให้เพิกถอนการโอนได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องนำสืบแสดงความไม่สุจริตของผู้รับโอนเมื่อปรากฏว่า ส. บิดาผู้คัดค้านกับจำเลยผู้ล้มละลายได้ติดต่อการค้ากันมานานถึง 10 ปี และที่ดินทั้ง 4 โฉนดที่ขายให้แก่ผู้คัดค้านมีรายการจดทะเบียนติดจำนองมาตลอด ดังนี้ ส. และผู้คัดค้านย่อมอยู่ในฐานะรู้ดีว่าจำเลยเป็นคนมีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่แล้ว ฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตศาลมีอำนาจเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย หากมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ท.รับโอนทรัพย์พิพาทจากจำเลย ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนขอให้ล้มละลาย แม้ ท. มิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนการโอนแต่การที่ ท. ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่พิพาทกับจำเลย ย่อมถือได้ว่า ท. เป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยโอนทรัพย์พิพาทแก่ตนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าขณะโอนทรัพย์พิพาท จำเลยมีทรัพย์สินอย่างอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้คือผู้ร้องทั้งสองได้ ก็แสดงว่าจำเลยโอนทรัพย์พิพาทโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คือผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนการโอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ มาตรา 115
การที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอน แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง และผู้ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เพิกถอนการโอนนั้น เมื่อศาลเห็นควรให้เพิกถอนการโอน ย่อมพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการโอนตามคำขอของผู้ร้องต่อไป.
of 15