พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุดกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องวัสดุอุปกรณ์และการก่อสร้าง
เงื่อนไขการจะซื้อจะขายมีใจความว่า "รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างห้องชุดผู้จะซื้อจะต้องเป็นไปตามรายการที่ระบุไว้ของห้องชุดในเอกสารแนบท้าย 2 แต่ผู้จะขายสงวนสิทธิที่จะใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันแทนได้" เป็นเงื่อนไขกำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะรายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น ตามเอกสารแนบท้ายสัญญา 2 รายการที่ระบุไว้ในรายการฝ้าเพดานระบุว่าส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง เมื่อปรากฏว่าเพดานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางก็คือโครงสร้างที่เป็นพื้นของห้องชุดชั้นที่อยู่เหนือขึ้นไปเท่ากับจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตามข้อสัญญาแต่กลับตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็สามารถเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 216 ซึ่งเป็นเรื่องผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนด 1 เดือนอันเป็นระยะเวลาพอสมควรแต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการจะซื้อจะขายข้อ 6.3 ที่ว่า หากโจทก์จะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนเพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าว
แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตามข้อสัญญาแต่กลับตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็สามารถเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 216 ซึ่งเป็นเรื่องผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนด 1 เดือนอันเป็นระยะเวลาพอสมควรแต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการจะซื้อจะขายข้อ 6.3 ที่ว่า หากโจทก์จะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนเพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รถยนต์ชำรุดบ่อยจนเสื่อมค่า ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์ หากระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้ย่อมส่งผลให้เครื่องยนต์ ระบบทำความเย็นและอื่น ๆ ใช้การไม่ได้ไปด้วย การที่ระบบไฟฟ้าของรถยนต์คันที่จำเลยเช่าซื้อไปจากโจทก์เสียทั้งระบบ3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่รับมอบรถยนต์ ถือได้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นถึงขนาดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งหมายจะใช้เป็นปกติ อันผู้ขายต้องรับผิด จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อจัดการแก้ไขหรือเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดต่อมาและใช้สิทธิเลิกสัญญาเสียได้ และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญากับผู้ขายเนื่องจากรถยนต์ชำรุด และสิทธิในการไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
ระบบไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์ หากระบบไฟฟ้าใช้การไม่ได้ย่อมส่งผลให้เครื่องยนต์ ระบบทำความเย็นและอื่น ๆ ใช้การไม่ได้ไปด้วย การที่ระบบไฟฟ้าของรถยนต์คันที่จำเลยเช่าซื้อไป จากโจทก์เสียทั้งระบบ 3 ครั้ง ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่รับมอบรถยนต์ ถือได้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นถึงขนาดเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อม ความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งหมายจะใช้เป็นปกติ อันผู้ขายต้องรับผิด จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อจัดการแก้ไขหรือเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ แต่โจทก์ไม่ดำเนินการ จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดต่อมาและใช้สิทธิ เลิกสัญญาเสียได้ และคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนเลิกกันได้ หากผิดสัญญาและมีเจตนาเลิกสัญญาชัดเจน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาจ้างเหมาจำเลยปลูกสร้างอาคาร แม้มิได้มีกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและส่งมอบอาคาร แต่เมื่อเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ เมื่อปล่อยให้เวลาล่วงผ่านไปเนิ่นนานโดยมิได้ปฏิบัติตามสัญญา และได้รับทำแบบคำร้องขอยกเลิกสัญญาเพื่อให้ผู้ที่เข้าทำสัญญากรอกเพื่อเลิกสัญญาและขอเงินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย แสดงว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ทั้งคำร้องนั้นก็มีผลเป็นคำสนองรับคำเสนอของจำเลย ทำให้สัญญาเลิกกันทันที จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนผิดนัด เลิกสัญญาได้ เหตุจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาและทำคำเสนอเลิกสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาจ้างเหมาจำเลยปลูกสร้างอาคาร แม้มิได้มีกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและส่งมอบอาคารแต่เมื่อเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหนี้ที่ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์เมื่อปล่อยให้เวลาล่วงผ่านไปเนิ่นนานโดยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาและได้จัดทำแบบคำร้องขอยกเลิกสัญญาเพื่อให้ผู้ที่เข้าทำสัญญากรอกเพื่อเลิกสัญญาและขอเงินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย แสดงว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ทั้งคำร้องนั้นก็มีผลเป็นการทำคำเสนอไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะตกลงเลิกสัญญาหรือไม่ เมื่อโจทก์กรอกแบบคำร้อง แจ้งความประสงค์ขอเลิกสัญญาและขอเงินคืนจากจำเลยจึงมีผลเป็นคำสนองรับคำเสนอของจำเลย ทำให้สัญญาเลิกกันทันที จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเดินสะพัดทางบัญชีหยุดนิ่งแสดงเจตนาเลิกสัญญา
โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่า สำเนาให้จำเลยทั้งสองพร้อมอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่ และสั่งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ แม้จะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิด ดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกัน อีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิด ดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกัน อีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันเมื่อไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี แม้ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตต่อศาลฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่า สำเนาให้จำเลยทั้งสองพร้อมอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่และสั่งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ แม้จะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักถอนบัญชีทุกวันสิ้นสุดของเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักถอนบัญชีทุกวันสิ้นสุดของเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนด: สิทธิของเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้ นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมาก ของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อ นำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่ โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์ จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการ เดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทาง บัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลย ยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดย ไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาเมื่อใด, การบอกเลิกสัญญา, การส่งหนังสือบอกกล่าวโดยชอบ
จำเลยยื่นคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวันเดียวกัน โดยคู่สัญญาไม่ได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้ คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ การที่โจทก์ มีหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม หากพ้นกำหนดแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นอัน สิ้นสุดลง ดังนี้เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วจำเลย ไม่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาบัญชีเดินสะพัด จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันพ้นกำหนดนั้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า การส่งหนังสือทวงถามบอกกล่าวผู้กู้ แม้ส่งแล้วไม่มีผู้รับเพราะผู้กู้ย้ายที่อยู่โดยไม่ได้แจ้งย้ายให้ผู้ให้กู้ทราบให้ถือว่าได้ส่งให้ผู้กู้แล้วโดยชอบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้กู้เคยแจ้งย้ายให้โจทก์ทราบ ดังนั้นที่พนักงานไปรษณีย์นำหนังสือทวงถามของโจทก์ไปส่งให้จำเลยตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามของโจทก์แล้วโดยชอบในวันดังกล่าว ในหนังสือทวงถามระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือทวงถาม กำหนดเวลาชำระหนี้ วันสุดท้ายจึงเป็นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2540 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายในเวลาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัด ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันตั้งแต่ วันพ้นกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินล่าช้าจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ถือเป็นผิดสัญญา และการเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปิดประกาศ ฉะนั้นการที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และพฤติการณ์ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืน ส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอริบมัดจำ แสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์