พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนจำนองที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้กู้ และผลของการไม่แสดงเจตนาจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อใดอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องไปจดทะเบียนจำนองตามวันที่ปรากฏในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีอื่นของศาลชั้นต้นจะมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ลงในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพราะมีคุณสมบัติการเขียน รูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ตามตัวอย่างที่ส่งมาก็ตามแต่สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่จะมีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อบุคคลก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่ลงในใบแต่งทนายความกับในเอกสารที่ร้องเรียนให้นายอำเภอเมืองลำพูนสอบสวนเรื่องจำนองที่ดินในคดีนี้ก็แตกต่างกัน แสดงว่าคุณสมบัติในการเขียนและลักษณะตัวอักษรที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่คงที่แน่นอนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังไม่ขึ้น การจดทะเบียนจำนองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนจะจดทะเบียนต้องประกาศ 30 วัน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านทางสำนักงานที่ดินจึงจะจดทะเบียนให้ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองซึ่งยังไม่ได้ลงวันที่ตอนไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนทำนิติกรรมครั้งแรกนั้น สัญญาจำนองยังไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนจำนองให้ โจทก์นำสัญญาจำนองดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้ทำเช่นนั้น สัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองจึงไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกันโดยด้านหน้าเป็นสัญญากู้เงินด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินรายพิพาทไม่มีการค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านสัญญากู้เงินแล้วจึงปิด ต่อมาทางด้านหลังแสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาต่อจำเลยที่เสียชีวิตก่อนการอ่านคำพิพากษาและการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลฎีกาทำคำพิพากษาเสร็จและส่งให้ศาลชั้นต้นเพื่ออ่านให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังแล้ว และได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวไปยังศาลอีกแห่งหนึ่งเพื่ออ่านให้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำท้องที่ศาลนั้นฟัง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังศาลที่จำเลยที่ 2 ถูกคุมขังอยู่ในท้องที่ได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคืนศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นส่งคำพิพากษาศาลฎีกาและสำนวนมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ดังนี้ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเดิมโดยทำเป็นคำพิพากษาใหม่ สั่งแก้ไขปรับปรุงคำพิพากษาเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากการเสียชีวิตจากละเมิด ครอบคลุมค่าขาดไร้อุปการะและค่าขาดแรงงานในครอบครัว
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งหากเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการกระทำละเมิดทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีผู้ตายต้องขาดแรงงานในครอบครัวไปด้วย โจทก์ที่ 1 ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้อีก ก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานใน ครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรมเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าแรงงานในครอบครัวจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
การขาดแรงงานในครอบครัวเป็นการขาดไร้อุปการะอย่างหนึ่งก่อนตายผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีประกอบกิจการร้านอาหารร่วมกับ ป. โดยผู้ตายทำหน้าที่ดูแลร้านอาหาร ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ทำการงานในครัวเรือนให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานในครอบครัวได้ด้วย ค่าอาหารเลี้ยงดูแขกที่มาร่วมงานศพกับค่าของและเงินถวายพระเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะและค่าสินไหมทดแทนการขาดแรงงานเป็นหนี้เงินที่จะต้องชำระทันที จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถชนต้นไม้ ตู้สำนักงานหล่นทับรถคันอื่น ทำให้ผู้ขับขี่เสียชีวิต ศาลฎีกายืนความผิดฐานประมาท
จำเลยขับรถเทรลเลอร์ บรรทุกตู้สำนักงานชั่วคราวไปตามถนนวิทยุด้วยความเร็วสูงชนกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ที่เกาะกลางถนน เป็นเหตุให้ตู้สำนักงานชั่วคราวหลุดตกลงกระแทกกับรถยนต์ที่ผู้ตายขับสวนทางมารถผู้ตายเสียการทรงตัวแล่นไถลไปชนกับรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาดกลางและต้นไม้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย การที่จำเลยขับรถยนต์ลากจูงรถพ่วงบรรทุกตู้สำนักงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงจากพื้นถนนถึง 3.60 เมตร ไปตามถนนซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมบนเกาะกลางถนนตลอดเส้นทางด้วยความเร็วสูง ในขณะที่ไฟฟ้าสาธารณะริมถนนดับหมด จนเป็นเหตุให้ตู้สำนักงานชั่วคราวที่บรรทุกมาบนรถจำเลยเฉี่ยวชนกับต้นไม้ใหญ่ข้างทาง ถือได้ว่า เป็นการกระทำโดยประมาทจำเลยจึงมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กับตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 35,157 และมาตรา78,160 วรรคแรก เป็นความผิดต่างกรรม รวม 3 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันยิงผู้อื่นเสียชีวิต พยานยืนยันจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุ แม้ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์โดยตรง
เกิดเหตุเวลากลางคืนใกล้เวทีชกมวยซึ่งมีแสงสว่างเห็นได้ถนัด แม้ไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยยิงผู้ตาย แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อเสียงปืนดัง ขึ้นมี บ. พยานซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุมองไปตามเสียงปืนเห็นจำเลยกับพวกอีก 1 คน ยืนถืออาวุธปืนอยู่คนละกระบอกแล้ววิ่งผ่าน ม. พยานอีกคนหนึ่งเข้าป่าไป ขณะนั้นเจ้าหน้าที่สายตรวจทราบเหตุทางวิทยุจึงขับรถมายังที่เกิดเหตุพบจำเลยกับพวกคนหนึ่งเดิน อยู่จึงขอตรวจค้นจำเลยกับพวกวิ่งหนี เจ้าหน้าที่ตำรวจจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนแล้วพาจำเลยมายังที่เกิดเหตุ ม. ซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุเบิกความว่าจำเลยเป็นคนแปลกหน้าคนหนึ่งที่วิ่งผ่านพยานหนีเข้าป่าไปและหลังเกิดเหตุสิบกว่าวัน บ. มาดู ตัวจำเลยและยืนยันว่าจำเลยเป็นคนแปลกหน้าคนหนึ่งในจำนวนสองคนที่ยืนถืออาวุธปืนอยู่ในที่เกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุมีแต่จำเลยกับพวกเท่านั้นที่ถืออาวุธปืนอยู่ เสียงปืนดัง มาจากกลุ่มของจำเลยกับพวกซึ่งมีเพียง2 คน พฤติการณ์ดังนี้ถ้า จำเลยไม่ได้ยิงพวกของจำเลยก็ต้องยิงการที่จำเลยวิ่งหนีไปพร้อมกับพวกโดยถืออาวุธปืนไปด้วยแสดงว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันที่จะยิงผู้ตาย พยานโจทก์ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และประเด็นการหลบหนีไม่ช่วยเหลือ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับบาดเจ็บ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมายังที่เกิดเหตุทราบว่าจำเลยเป็นคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุ และมีผู้อื่นนำส่งผู้บาดเจ็บไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แม้ต่อมาจำเลยหลบหนีไปก็จะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้ความช่วยเหลือตามสมควรแก่ผู้ตายและผู้บาดเจ็บกับไม่ได้แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทวงหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: การรู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก กรณีต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน โจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า เจ้ามรดกถึงแก่กรรมพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตรและมีผู้ร้องเป็นทายาท ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกนับแต่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ดังนี้หนี้ยังไม่ขาดอายุความ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1024 สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยหลังเสียชีวิต: สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก vs. ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่กรรม จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยซึ่ง ถึงแก่กรรมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพินัยกรรมแทนจำเลยต่อไป ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ผู้จัดการมรดกหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ และข้อเท็จจริง ตามคำร้องของโจทก์และคำแถลงของ ส.คงได้ความแต่เพียงว่าส.เป็นทายาทของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ปกครอง ทรัพย์มรดกหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของ ก.แต่อย่างใดส.จึงไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากในที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ส.ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากผู้ร้องเสียชีวิต และผลกระทบต่อการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 เป็น ผู้จัดการมรดกร่วมกัน ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ผู้ร้องถึงแก่มรณะ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะ ผู้ร้องผลจึงเท่ากับมรดกของเจ้ามรดกคงมีแต่เพียงผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 6 การที่ผู้ร้องอ้างพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.5 ก็เพื่อขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้มีผู้ร้องเป็นคู่ความพิพาทกับผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 6โดยอ้างพินัยกรรมดังกล่าวต่อไปแล้วคดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยถึงพินัยกรรมฉบับนั้นอีก หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกประการใดก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก.