คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8411/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการไม่วินิจฉัยประเด็นการขาดนัด
คดีอาญาโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเกินกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ กรณีจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สอง แม้จะยื่นภายหลังจากล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายให้ในครั้งแรกแล้วก็ตาม แต่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว ได้แสดงเหตุว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องเป็นเหตุสุดวิสัยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7879/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (ท่าเรือแออัด) ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล
เหตุที่ทำให้โจทก์ผู้ขนส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยชักช้าเพราะเรือสินค้าไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแอนต์เวิร์ปได้เนื่องจากความแออัดของท่าเรือดังกล่าวซึ่งมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อหรืออยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ และมิใช่ความผิดหรือประมาทเลินเล่อของตัวแทนหรือลูกจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 มาตรา 52(13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแล้วไม่แจ้งจำเลย ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องรับผิดตามคำพิพากษา
ทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล ต้องถือว่าจำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ว่าจำเลยซึ่งเป็นตัวความจะไม่ทราบวันนัดก็ตาม เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 บัญญัติว่า ทนายความซึ่งคู่ความได้แต่งตั้งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร
ตามใบแต่งทนายความของจำเลย ระบุว่าให้ทนายจำเลยมีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดฟังคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างต่อศาลหาได้ไม่ เพราะจำเลยมีทนายความกระทำการแทนตนอยู่แล้วการที่ทนายจำเลยไม่ดูแลและเอาใจใส่คดีของจำเลยเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับทนายจำเลย จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ที่ล่าช้าต้องมีเหตุสุดวิสัย ปัญหาการไม่ทราบเรื่องฟ้องไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่ล่าช้าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208เหตุแห่งความล่าช้าจักต้องเป็นกรณีที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างเหตุที่ไม่ทราบเรื่องถูกฟ้องว่า คนในบ้านจำเลยลืมมอบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา208 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ เกินกำหนดเวลา และเหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการควบคุม
จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยศาลชั้นต้นส่ง คำบังคับให้จำเลยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2540 โดยวิธีปิดคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับจึงเริ่มมีผลใช้ได้ในวันที่ 5 มกราคม 2541 หากจำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 กล่าวคือ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่จะยื่นได้คือวันที่ 20 มกราคม 2541 จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อเกินกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว ทั้งในคำขอมิได้กล่าวอ้างถึงเหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้ไม่อาจยื่นคำขอได้ภายในกำหนด กลับกล่าวอ้างถึงเหตุที่จำเลยไม่ทราบว่าจะมาศาลวันไหน ไม่ทราบว่าจะต้องแต่งตั้งทนายความเข้ามาใหม่ในวันที่ศาลนัดพิจารณา เนื่องจากทนายจำเลยคนเดิมขอถอนตัว เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่อาจแสดงว่าจำเลย มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเท่านั้น มิใช่เหตุที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่ง ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเสียโดยไม่จำเป็นต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
++ เรื่อง รับขนของทางทะเล ประกันภัยทางทะเล รับช่วงสิทธิ
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 216 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและคำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดต้องแสดงเหตุสุดวิสัยที่สมควร
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารที่พิพาทและส่งมอบอาคารที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีกการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยกล่าวว่าจำเลยไม่เคยรับและไม่เคยทราบหมายเรียกจำเลยคงได้รับแต่เฉพาะคำบังคับเท่านั้น น่าเชื่อว่ามีการจงใจปกปิดหมายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งถึงจำเลยและเพื่อไม่ให้จำเลยทราบ โจทก์เคยบอกว่าจะให้เงินค่ารื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกไปขอให้จำเลยอย่าสู้คดี จำเลยหลงเชื่อโจทก์จึงแอบฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดเท่านั้นหาเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ และที่จำเลยกล่าวว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารขึ้นไม่เคยยกให้โจทก์ โจทก์เคยตกลงจะยกทาวน์เฮาส์ให้จำเลยอาศัยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน แต่โจทก์ผิดข้อตกลงนั้น เป็นข้ออ้างในทำนองว่าจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างและเป็นเจ้าของอาคารที่ให้เช่า โดยจำเลยไม่ได้คัดค้านในเนื้อหาคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่า หรือสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่แสดงเหตุผลว่า หากศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ 2พฤษภาคม2541 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ต่อศาลภายในวันที่ 1มิถุนายน2541 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้ยกคำร้องขอ โดยมิได้กำหนดให้จำเลยกระทำการอันใดภายในระยะเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ และการสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ขยายออกไป และหากจำเลยไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 แต่ศาลยังไม่สั่ง หรือไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่เจ้าพนักงานศาลบอกว่าหาสำนวนไม่พบจริง จำเลยย่อมทราบดีว่าต้องรักษาสิทธิของจำเลยโดยยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้แต่จำเลยหาได้ยื่นคำร้องขอเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นตามมาตรา 208 วรรคแรก ทั้งตามคำร้องขอดังกล่าวก็ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้จำเลยยื่นคำร้องขอล่าช้าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่ฟ้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากทรัพย์อันตราย
เหตุที่เกิดเพลิงไหม้อาคารที่จำเลยที่ 3 เช่ามาจากจำเลยที่ 1เสียหาย และทำให้วัสดุที่ถูกเพลิงไหม้หล่นใส่รถยนต์ที่จอดอยู่หน้าอาคารที่เกิดเหตุเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาคารดังกล่าวโดยสายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่นั้นเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยที่ 3 ผู้เช่าผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดต่อเจ้าของรถยนต์เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง
ในปัญหาที่ว่าเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือไม่ ซึ่งจำเลยที่ 3มีภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 3 นำสืบแต่เพียงว่า ได้เปลี่ยนสายไฟฟ้าในอาคารที่เกิดเหตุใหม่ทั้งหมด ขณะเกิดเหตุภายในอาคารไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และเปิดไฟฟ้าไว้ที่หน้าอาคารและในห้องครัวแห่งละ 1 ดวงเท่านั้น จำเลยที่ 3 มิได้ประมาทเลินเล่อ กระแสไฟฟ้าเกิดลัดวงจรและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้อย่างไร จำเลยที่ 3ไม่ทราบ ข้อนำสืบของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมถูกทำลายด้วยเหตุสุดวิสัย และสิทธิของทายาทถูกตัดสิทธิ
ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. แต่โจทก์มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมดังกล่าว จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกของ ผ.
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)
of 52