คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุเลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3886/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การใช้เหตุในการเลิกจ้างต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จำเลยอ้างในการต่อสู้คดี
จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กับพวกร่วมกันทุจริต ลักรถยนต์ของจำเลย โดยมอบกุญแจรถยนต์และชุดโอนทะเบียนให้ บุคคลอื่นไปโดยมิได้ทำหนังสือรับรถยนต์ไว้จงใจทำให้จำเลยได้รับ ความเสียหายแล้วยังให้การต่อไปด้วยว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนต่อ ข้อบังคับคำสั่งและระเบียบการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริงในตอนต้นว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตาม ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งในการจำหน่ายและส่งมอบรถยนต์ให้แก่บุคคลอื่นนั่นเอง ซึ่งตามข้อเท็จจริงนั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็เพราะ โจทก์กระทำการดังกล่าวแต่ประการเดียว หามีเหตุการณ์อื่นที่จำเลย อาศัยเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่การที่จำเลยใช้ถ้อยคำในคำสั่งเลิกจ้าง ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และทำให้จำเลยได้รับความเสียหายนั้น ก็เกิดจากการกระทำของโจทก์ดังกล่าวการกระทำที่เป็นการบกพร่องนั้น อาจเกิดจากการกระทำโดยเจตนาที่จะฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง ของจำเลยหรือไม่ก็ได้ และย่อมหมายถึงไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มตามหน้าที่ ที่ตนพึงต้องปฏิบัติโดยมีเจตนาทุจริตหรือไม่ก็ได้เช่นเดียวกัน สาเหตุแห่งการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นสาเหตุอันเดียวกันกับที่จำเลยได้ ให้การต่อสู้คดีแล้วนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งลดงบประมาณโฆษณา ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
จำเลยให้โจทก์ลูกจ้างติดต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่างๆของจำเลยทางโทรทัศน์ โดยกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาไว้เป็นเงิน 4ล้านบาทต่อปี โจทก์ติดต่อให้บริษัท อ. โฆษณาผลิตภัณฑ์ ของจำเลยและได้มีการจ่ายค่าโฆษณาไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาทคงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเศษ แต่เหลือเวลาที่จะต้อง โฆษณาอีก 7 เดือนประกอบกับสินค้าของจำเลยขายไม่ ค่อยดี จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ลดค่าโฆษณาลงโจทก์ ขัดคำสั่งของจำเลยโดยมิได้สั่งให้บริษัท อ. ลดการโฆษณาลงถือว่าเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรงแล้วกรณีจึงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้มีเหตุเลิกจ้างก็ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าชดเชย
ความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องโจทก์ปล่อยนมทิ้งที่พื้น โรงงาน ส่วนความผิดครั้งหลังเป็นเรื่องโจทก์หลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนม จึงเป็นความผิดคนละเหตุ แม้ ความผิดครั้งก่อนจำเลยจะมีหนังสือเตือนโจทก์แล้วก็ตามกรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ในความผิดครั้งหลังได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่กรณีร้ายแรง การอ้างเหตุใหม่หลังฟ้องคดีทำไม่ได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 11, 28 ห้ามทะเลาะวิวาทหรือประทุษร้ายต่อพนักงานด้วยกันในระหว่างปฏิบัติงานหรือนอกเวลาปฏิบัติงานในบริเวณโรงแรมของจำเลย ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนมีโทษถึงปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย การที่โจทก์ทะเลาะตบตีกับพนักงานอื่นซึ่งเป็นหญิงด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงใดไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ต่อเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีกจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย คดีนี้จำเลยรับแล้วว่ามิได้ตักเตือน โจทก์เป็นหนังสือเมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งปลดโจทก์ออกจากงานนั้น อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีทะเลาะวิวาทประทุษร้ายพนักงานอื่นเท่านั้น เห็นได้ว่าจำเลยไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นสาเหตุการผิดวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการลงโทษอีกต่อไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแล้ว จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน การพิจารณาเหตุเลิกจ้างและอำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่ง
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ"มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วย วาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่ง ครั้ง" นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า"พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก" แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้งแสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้าง: เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาขณะเลิกจ้าง หากไม่มีความผิดตามประกาศฯ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ หากขณะเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะอ้างเหตุต่าง ๆ ขึ้นภายหลังเพื่อเป็นการปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้าง: เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาขณะเลิกจ้าง นายจ้างอ้างเหตุภายหลังไม่ได้
ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ต้องพิจารณาเหตุแห่งการเลิกจ้างในขณะเลิกจ้างว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ หรือไม่ หากขณะเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดดังกล่าว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะอ้างเหตุต่าง ๆ ขึ้นภายหลังเพื่อเป็นการปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
แม้ข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างที่มีข้อผูกพันจะต้องชดใช้ให้แก่จำเลย ให้จำเลยมีสิทธิหักเงินบำเหน็จของลูกจ้างได้ก็ตามการที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์ทำละเมิดได้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และพนักงานอัยการกำลังพิจารณาอยู่ ได้ความเพียงเท่านี้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีข้อผูกพันที่จะต้องชดใช้เงินแก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะหักเงินบำเหน็จของโจทก์ชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามเหตุในกฎหมาย การลาป่วย/ลากิจผิดระเบียบไม่ใช่เหตุเลิกจ้าง
คำว่า "ทุจริตต่อหน้าที่" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(1) หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้จากตำแหน่งหน้าที่ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือการปฏิบัติของบริษัทนายจ้าง ลูกจ้างประจำรายเดือนลากิจหรือลาป่วยคงได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกัน การที่ลูกจ้างมีความจำเป็นที่มาทำงานไม่ได้จึงลาป่วยเพราะไม่อาจลากิจได้เนื่องจากการลากิจต้องลาล่วงหน้า การลาของลูกจ้างจึงเป็นการลาผิดระเบียบไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เพราะลูกจ้างไม่ได้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากค่าจ้างที่ได้รับจากนายจ้างแต่ประการใด
ลูกจ้างหยุดงานเพียง หนึ่งวันครึ่งโดยยื่นใบลาผิดระเบียบยังไม่เป็นการร้ายแรงถึงขนาดที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฉีกใบเตือนไม่ใช่การทำลายทรัพย์สิน เหตุผลเลิกจ้างไม่ชอบธรรม
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้โจทก์ปฏิบัติงาน โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชาจึงได้ออกใบเตือนให้โจทก์รับทราบ โจทก์ฉีกใบเตือนเฉพาะฉบับที่จำเลยออกให้โจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นฉบับที่มอบให้ลูกจ้าง ถือว่าลูกจ้างจะเอาไปทำอะไรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าโจทก์ทำลายทรัพย์สินคือใบเตือนของจำเลย ดังที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยปลดโจทก์ออกจากงาน เป็นการปลดหรือเลิกจ้างเพราะเหตุได้กระทำผิดดังที่ระบุไว้ในคำสั่ง จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และชำระค่าเสียหายให้โจทก์
of 9