พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรื่องการรับเอกสารและงดสืบพยาน เป็นขั้นตอนการสอบสวน ยังไม่สร้างความเสียหาย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเพื่อขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารที่อ้างเป็นพยานไว้ผู้คัดค้านไม่อนุญาต และมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งงดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้อง โดยถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจอ้างต้นฉบับเอกสารตามที่ผู้ร้องอ้างเป็นพยานไว้ และมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขอผัดส่งต้นฉบับเอกสารหลังจากครบกำหนดวันนัดเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องหรือไม่ แม้ต่อมาหากผู้คัดค้านทำความเห็นควรอนุญาตหรือควรยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ เพราะศาลพิจารณาแล้วอาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ ฉะนั้น คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้ได้ ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมและการค้ำประกัน โดยอ้างเหตุถูกหลอกลวงและใช้เอกสารโดยไม่ยินยอม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันโดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 2ให้การและฟ้องแย้งว่า ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง แต่ถูก ช.หลอกลวงเอา น.ส.3 ตามฟ้องไปโดยอ้างว่าสามารถขายได้ราคาดี และถูกหลอกลวงให้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่ได้กรอกข้อความแล้วโจทก์กับ ช.ร่วมมือกันใช้ชื่อจำเลยที่ 1 นำสัญญากู้ หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไปกรอกข้อความโดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอม และนำ น.ส.3ตามฟ้องไปให้โจทก์ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ ขอให้บังคับโจทก์คืน น.ส.3 แก่จำเลยที่ 2ดังนี้ มูลคดีตามฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับมูลคดีตามคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างในคดีที่มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญา และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ขัดแย้งกับเอกสาร
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า ตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง 60,000 บาท รวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นเงิน 400,000 บาท ไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงพยานประกอบดุลพินิจ ศาลไม่ผูกพันตามความเห็น
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในคดีแพ่ง เป็นเพียงพยานความเห็นมิใช่ประจักษ์พยาน
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยแล้วรับฟังว่า หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5 ไม่ใช่เอกสารปลอมโดยวินิจฉัยไว้ด้วยว่า ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อของโจทก์แล้ว ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น เป็นเพียงหลักฐานที่จะรับฟังประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเท่านั้น มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรศาลต้องรับฟังตามนั้นเสมอไป
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยแล้วรับฟังว่า หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5 ไม่ใช่เอกสารปลอมโดยวินิจฉัยไว้ด้วยว่า ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ว่าลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.5 เปรียบเทียบกับลายมือชื่อของโจทก์แล้ว ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันนั้น เป็นเพียงหลักฐานที่จะรับฟังประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเท่านั้น มิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรศาลต้องรับฟังตามนั้นเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพบริษัท, อำนาจฟ้อง, และการยอมรับเอกสาร - การบังคับจำนอง
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัดเป็นการแปรสภาพไปตามกฎหมายไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือเมื่อโจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลจำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวแต่ประการใดถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาหนังสือมอบอำนาจนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้ ปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองจากโจทก์แล้วหรือไม่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, หลักฐานการกู้ยืม, การชำระหนี้, ความถูกต้องของเอกสาร
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1144, 1158และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137-1138/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน หลักฐานการกู้ยืม เอกสารที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และการฟ้องร้องเรียกหนี้
โจทก์ฟ้องว่าบิดาจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าบิดาจำเลยไม่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ดังนี้ข้อความที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามฟ้องหรือไม่ย่อมมีความหมายรวมไปถึงว่าบิดาจำเลยได้รับเงินแล้วหรือไม่ไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าบิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์และรับเงินกู้ไปแล้วหรือไม่ บิดาจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปตามเอกสารหมายจ.2และจ.6โดยเอกสารหมายจ.2ทำขึ้นในวันที่3กรกฎาคม2535มีข้อความว่า"ฯลฯข้อ1ฯลฯ1.1ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่22กุมภาพันธ์2533จำนวนเงิน2,025,000บาท(สองล้านสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)1.2ผู้กู้ได้กู้ยืมเงินมาเมื่อวันที่13มิถุนายน2533จำนวนเงิน590,000บาทฯลฯรวมเป็นเงินฯลฯ10,900,000บาท(สิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน)ฯลฯข้อ3ผู้ให้กู้และผู้กู้ตกลงกันว่าเงินจำนวนกู้ทั้งหมดตามสัญญากู้นี้ผู้กู้จะชำระคืนให้เมื่อขายที่ที่สามเหลี่ยมทองคำฯลฯได้เสร็จเรียบร้อยแล้วฯลฯ"การที่โจทก์และบิดาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินกันก่อนหน้าที่โจทก์และบิดาจำเลยจะได้ทำเอกสารหมายจ.2ซึ่งตามข้อความในเอกสารหมายจ.2ก็ปรากฏชัดว่าบิดาจำเลยได้รับเงินไปก่อนแล้วทั้งเอกสารหมายจ.6ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันเอกสารหมายจ.2และจ.6จึงเป็นเพียงหลักบานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อบิดาจำเลยผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งไม่ใช่สัญญากู้ยืมเงินแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.2จำเลยให้การต่อสู้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่เคยทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้เลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดเพราะจำเลยยังไม่ได้ขายที่ดินฎีกาของจำเลยที่ว่าหนี้ตามเอกสารหมายจ.2ยังไม่ถึงกำหนดจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ หนี้ตามเอกสารหมายจ.6ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้โจทก์จะบอกกล่าวเพื่อให้เวลาแก่จำเลยหรือไม่ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา203โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้แม้ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยให้ชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารและพยานหลักฐานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา การกำหนดค่าทนายความ
จำเลยร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า NEXT เริ่มจดทะเบียนที่ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2525 โดยรับฟังจากเอกสารหมาย จ.10 และรับฟังว่าจำเลยร่วมมิได้คัดค้านเอกสารดังกล่าว ทั้งที่จำเลยร่วมได้ให้การว่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งรวมทั้งเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 เป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายและไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย การรับฟังเอกสารดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10โจทก์เพิ่งส่งคำแปลต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยร่วมการยื่นคำแปลดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมายรับฟังไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นมิได้รับฟังเฉพาะแต่พยานเอกสารหมาย จ.9และ จ.10 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้วินิจฉัยคำเบิกความของ ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมมิได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างเป็นอย่างอื่นลำพังคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้แล้วว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษและ ธ.มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ.ฟ้องคดีแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรับฟังจากพยานเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10แต่ประการใดนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อแรกของจำเลยร่วม ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้จากพยานบุคคลและเอกสารประกอบ การรับรองความถูกต้องของบัญชีหนี้โดยผู้เขียน
ภ. เป็นบุตรของโจทก์พักอยู่บ้านเดียวกับโจทก์มีอาชีพค้าขายน่าจะทราบเกี่ยวกับกิจการค้าขายของโจทก์เป็นอย่างดีคำเบิกความของ ภ. เกี่ยวกับกิจการค้าขายของโจทก์จึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่พยานบอกเล่า