พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและเพื่อขาย การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ในบ้านเกิดเหตุพร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยที่ก่อนจำเลยทั้งสามจะถูกจับ จำเลยทั้งสามได้ถือถุงออกจากรถยนต์เก๋งคันสีแดงเข้าไปในบ้านเกิดเหตุ ซึ่งในการตรวจค้นและยึดเมทแอมเฟตามีนของกลาง พบเมทแอมเฟตามีนวางอยู่บนโต๊ะรวม 2 กอง โดยมีถุงวางอยู่ 1 ใบ เมื่อตรวจค้นลิ้นชักด้านขวาของโต๊ะ ก็พบถุงผ้า ในถุงผ้ามีเงินสดจำนวน 360,000 บาท และซองใส่เอกสารสีน้ำตาลซึ่งภายในมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกสีเหลืองจำนวน27 ถุง เมื่อรวมกับบนโต๊ะแล้วมีทั้งหมด 28 ถุง จำนวน 5,600 เม็ด พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มากับจำเลยที่ 1 และรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนดังกล่าว และถูกจับพร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนของกลางฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและเพื่อขาย กับสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 กับมาตรา 62วรรคหนึ่ง และ 106 ทวิ มีระวางโทษเท่ากันคือจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 400,000 บาท แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10กำหนดระวางโทษไว้สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ดังนี้เมื่อความผิดตามมาตรา 8และ 10 ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 บทหนึ่ง กับประกอบมาตรา 62 วรรคหนึ่งและ 106 ทวิ อีกบทหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกัน จึงต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ซึ่งกฎหมาย 2 บทดังกล่าวมีโทษเท่ากัน จึงลงโทษตามกฎหมายบทใดบทหนึ่งก็ได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 106 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เท่านั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 8 และ 10 ประกอบ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 บทหนึ่ง กับประกอบมาตรา 62วรรคหนึ่ง และ 106 ทวิ อีกบทหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งกฎหมาย 2 บท ดังกล่าวมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 8 และ 10 ประกอบ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง และ 89 บทหนึ่ง กับประกอบมาตรา 62วรรคหนึ่ง และ 106 ทวิ อีกบทหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งกฎหมาย 2 บท ดังกล่าวมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจสมคบกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและแก้ไขค่าทดแทนได้ แม้มีคำวินิจฉัยของหน่วยงานอื่น
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบังคับใช้แก่กรณีพิพาทนี้แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนออก 3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนในเบื้องต้นระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีรักษาการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับขั้นตอนดังกล่าวหากมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนจากการกระทำของคณะกรรมการในระดับแรก คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนทั้งแปลง 70 ตารางวา คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 490,000 บาท โจทก์ไม่พอใจได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์)และฟ้องคดีต่อศาลในเวลาต่อมา ระหว่างพิจารณาคดีของศาลได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ประกาศใช้บังคับ แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาท แต่จำเลยทั้งสองยังมิได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาท โดยในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลได้หยิบยกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่44 มาวินิจฉัยแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน 318,500 บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันตามคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันจำเลยตามนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆการเปลี่ยนแปลงจำนวนและสถานที่ผิดไปจากเดิมมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยจำเลยไม่อาจจะขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการยื่นอุทธรณ์ – การแก้ไข/ไม่รับอุทธรณ์กรณีไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทนเมื่อใบแต่งทนายความไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์จึงเป็นกรณีที่ทนายความลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจอุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการยื่นอุทธรณ์ของทนายความมิใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31แต่เป็นกรณีที่ศาลแรงงานผู้ตรวจรับอุทธรณ์มีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขอำนาจของทนายความผู้ยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขบทลงโทษผิดพลาดจากศาลล่าง กรณีเมาแล้วขับและขัดขวางเจ้าพนักงาน แต่จำกัดการเพิ่มโทษ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้องและลงโทษต่ำกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภทเดียวกัน ศาลฎีกายกขึ้นแก้ไขได้
จำเลยกระทำผิดเพราะมีเมทแอมเฟตามีนและมีอีเฟดรีนของกลางซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทเดียวกันในวันเวลาเดียวกัน ความผิดของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างมาตรา 92 พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ที่แก้ไขใหม่ และฎีกาที่ไม่ชัดเจนเรื่องการรอการลงโทษ
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 92 แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไว้ แต่โจทก์ก็ได้อ้าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทที่ให้ยกเลิก มาตรา 92แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้มาตรา 92 ใหม่แทนการอ้างถึงมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528ก็คือการอ้างถึง มาตรา 92 ที่แก้ไขใหม่แล้วนั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการเสพกัญชาเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) แล้ว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น โจทก์ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเสพกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น โจทก์ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเสพกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็ค
จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทแม้ผู้ที่แก้ไขรายการเช็คพิพาทช่องจำนวนเงินให้ตรงกับยอดจำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่จำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขดังกล่าวจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้วการแก้ไขนั้นจึงไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามมาตรา1007วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น การพิพากษาไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจมีอาวุธปืนพกกระสุนปืน และแม็กกาซีนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า มีอาวุธปืนไม่ปรากฏหลักฐานใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียน และเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯพ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคแรก และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนพกไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนคดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนนั้นเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา7,72วรรคสามมิใช่มาตรา7,72วรรคแรกและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้