พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ หากเป็นรายละเอียดของการกระทำผิดที่ชัดเจน และยังไม่ถึงขั้นพิพากษา
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยที่2ได้ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดโดยมิได้อ้างฐานที่อยู่แต่ประการใดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากข้อความว่า"เมื่อวันที่21มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"เป็นเมื่อวันที่21มีนาคม2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"จึงเป็นการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีมิใช่เป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้โดยจำเลยที่2มิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดอีกทั้งในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษาคดีจึงนับว่ามีเหตุอันควรที่จะอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี: ศาลมีอำนาจแก้ไขคำฟ้องได้ และการจำหน่ายหนี้สูญชอบด้วยกฎหมายหากได้พยายามติดตามทรัพย์สินลูกหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้ และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การ และการจำหน่ายหนี้สูญตามกฎกระทรวง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้วไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามข้อ(3)(ค)ของกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีกาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้วดังนั้นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา65ทวิ(9)แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิมและขอบเขตสัญญาซื้อขาย
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนน ต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วย แต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวง กับชำระค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขาย โดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัว ตามสัญญาจะซื้อขาย ดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรก มิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 179 (1) (2) ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลไม่อนุญาต
ที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับจำนวน 9,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นกรณีเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9677/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากข้ออ้างเดิม และการเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวว่าจำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์เข้าปรับปรุงพัฒนาที่ดินและนำไปขายต่อให้แก่บุคคลอื่นได้ทั้งจำเลยทั้งสองจะแบ่งแยกที่ดินให้ทำถนนต่อมาโจทก์จำเลยทั้งสองและบุคคลภายนอกได้ทำบันทึกการให้ทางดังกล่าวไว้ต่างหากอีกฉบับหนึ่งด้วยแต่โจทก์ไม่สามารถพัฒนาและทำถนนให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงกันได้เนื่องจากจำเลยที่2คอยขัดขวางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายและข้อตกลงในบันทึกการให้ทางทั้งให้จำเลยทั้งสองร่วมกันถอนคำคัดค้านที่ให้ไว้ต่อการไฟฟ้านครหลวงกับชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ซึ่งตามคำฟ้องเดิมโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดอันจะทำให้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้อีกหนึ่งเท่าตัวตามสัญญาจะซื้อขายดังนั้นที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องว่าให้จำเลยทั้งสองร่วมกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับใช้ค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จเพิ่มจากคำฟ้องเดิมจึงเป็นการขอเพิ่มข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับนอกเหนือไปจากคำฟ้องเดิมที่เสนอต่อศาลแต่แรกมิใช่เป็นกรณีที่เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา179(1)(2)ทั้งมิใช่เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยจึงไม่ชอบที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจอนุญาตถอนฟ้อง: การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องให้ครอบคลุมประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาจเป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงจากท้องสำนวนประกอบคำร้องขอถอนฟ้องและคำคัดค้านโดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่และเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อจะฟ้องใหม่โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ จำเลยให้การต่อสู้คดีประการหนึ่งว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องเพราะได้เวนคืนที่ให้แก่จำเลยที่1แล้วจึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งโจทก์ก็ได้เสนอประเด็นข้อพิพาทนี้ต่อศาลแต่ในวันนัดชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้และตามคำร้องขอถอนฟ้องก็อ้างเหตุว่าเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ให้รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยและเป็นเวลาหลังชี้สองสถานซึ่งโจทก์ไม่สามารถแก้ไขคำฟ้องได้แสดงว่าโจทก์ถอนฟ้องไปเพื่อจะแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันอาจทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบในการต่อสู้คดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากมีเหตุสมควร แม้ไม่ตรงตาม มาตรา 179
การขอแก้ไขคำฟ้องที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 เป็นเพียงตัวอย่างที่คู่ความจะขอแก้ไข เมื่อมีเหตุ อันสมควรย่อมกระทำได้แม้ไม่ใช่เป็นเหตุที่ระบุไว้ตามมาตรา 179 ก็ตาม โจทก์เพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 อีกชื่อหนึ่งว่า"นางสาววันทนีย์" เพื่อให้ชื่อของจำเลยที่ 2 ชัดเจนขึ้นขอแก้ไขนามสกุลของจำเลยที่ 2 จาก "ตันทวานิช"มาเป็น"แซ่ฉั่ว"เพื่อความถูกต้อง เพราะนามสกุลตันทวานิชเป็นของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีต่างบุคคลกัน โจทก์จึงมีสิทธิเพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 และแก้ไขชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ให้ชัดเจนและถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ความผิดฐานประมาท, การแก้ไขคำฟ้อง, และการรอการลงโทษจำคุก
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากพนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อจำเลยโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าพยานได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมแล้วส่วนจำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอยๆในอุทธรณ์และฎีกาเท่านั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแตกต่างจากฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยกระทำผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเป็นการแตกต่างในข้อที่มิใช่สาระสำคัญและที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้อื่นจำเลยต่อสู้ว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาอย่างดีไม่หลงต่อสู้ศาลพิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611-6612/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์และงดการบังคับคดี ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและเหตุตามกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ประกอบมาตรา 246คือต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้แล้วแต่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมจึงจะกระทำได้ คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นมิได้รับคำฟ้องอุทธรณ์จึงไม่มีตัวคำฟ้องอุทธรณ์ที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย
การที่จะสั่งงดการบังคับคดีได้จะต้องมีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292,293,294 หรือ 296ตามคำร้องของจำเลยเพียงแต่ขอให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องอุทธรณ์เสียก่อนนั้น จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเหตุตามกฎหมายดังกล่าวไว้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งยกคำร้องของจำเลย