คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แจ้งความเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา กรณีจำเลยให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ ตามขั้นตอนกฎหมาย
การที่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ทำนา เป็นเพียงความเห็นในการรับฟังถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ว่า ไม่น่าเชื่อถือและการที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดมีมติว่า จำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ทำนา ก็เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสี่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดต่อศาล เพื่อให้พิจารณาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้แม้จำเลยที่ 1 จะคัดค้านการที่จำเลยที่ 2 จะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรสาครไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 คัดค้านไว้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการใช้สิทธิเพื่อจะดำเนินตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานแจ้งความเท็จ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 4 จะได้ฎีกาและขอถอนฎีกาไปแล้ว แต่การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการกระทำร่วมกัน ซึ่งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 4ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เงินเชื่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
จำเลยทั้งสองเคยติดต่อซื้อบุหรี่จำนวนมากจาก ณ. ซึ่งซื้อมาจากร้านสหกรณ์ในราคาถูกกว่าท้องตลาด ณ. เป็นลูกค้าซื้อบุหรี่เงินเชื่อประเภทขายส่งของร้านสหกรณ์มานาน ในวันเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองได้มอบเงินให้ ณ. ไปซื้อบุหรี่ด้วยความหวังว่าจะได้บุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเช่นเคย แต่ ณ. เป็นหนี้ค่าบุหรี่ร้านสหกรณ์จำนวน 98,282.20 บาท โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานการเงินของสหกรณ์รับเงินจาก ณ. แล้ว แทนที่จะมอบบุหรี่ตามจำนวนเงินที่มาขอซื้อ กลับนำเงินมาหักหนี้ที่ ณ.ค้างชำระอยู่ โดยเชื่อว่าเป็นเงินของ ณ. เอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่สามารถเรียกเงินคืนจาก ณ. ได้ จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ได้นำเงินจำนวน56,205 บาท และ 45,000 บาท ตามลำดับ มาขอซื้อบุหรี่จากร้านสหกรณ์ด้วยตนเองไม่เกี่ยวกับ ณ. โจทก์รับเงินแล้วไม่ส่งมอบบุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเป็นการฉ้อโกงจำเลยทั้งสองเพื่อบีบบังคับให้โจทก์คืนเงิน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีและต้องถูกควบคุมตัว ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดแจ้งความเท็จที่เกิดต่างท้องที่ และการรอการลงโทษจากคุณงามความดี
จำเลยขายลดเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาผู้เสียหายนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขานราธิวาสซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสและธนาคารดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสให้ดำเนินคดีจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 แต่จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่าเช็คฉบับดังกล่าวหายไปพนักงานอัยการเห็นว่าการแจ้งความดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ จึงสั่งให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาสสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาต่อจำเลยเพิ่มเติมดังนี้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนราธิวาส ย่อมมีอำนาจสอบสวนจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จได้ เพราะจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(4) และเมื่อเป็นความผิดหลายกระทงย่อมฟ้องรวมในฟ้องเดียวกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 ทั้งความผิดฐานแจ้งความเท็จมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แม้จะเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างสถานที่ แต่ก็ได้กระทำลงโดยจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดเกี่ยวพันกัน ซึ่งจะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จโดยไม่ต้องขอผัดฟ้อง พร้อมกับความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: คำสั่งเฉพาะเจาะจงก็เป็นเอกสารได้
การบรรยายฟ้องตาม ป.อ. มาตรา 369 ไม่จำต้องบรรยายว่า คำสั่งเป็นหนังสือนั้นได้ปิดหรือแสดงไว้ในลักษณะทำนองประกาศหรือโฆษณาต่อประชาชน เพราะบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 369 มิได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามมาตรานี้ต้องกระทำแก่ประกาศ ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่ปิดหรือแสดงหรือโฆษณาต่อประชาชน ดังนั้น แม้คำสั่งของพระอธิการ ล. เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้ออกคำสั่งเฉพาะแก่พระครู ส. เพียงรูปเดียวก็เป็นเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 369 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาถึงเจตนาและข้อเท็จจริง ผู้แจ้งต้องรู้สาระสำคัญและใช้สิทธิโดยสุจริต
โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาตามคำแจ้งความของจำเลย ดังนี้ เพียงแต่การที่ศาลยกฟ้องจะถือว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จเสมอไปนั้นไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าการแจ้งความนั้นผู้แจ้งได้รู้ถึงสาระสำคัญและเข้าใจถึงการใช้สิทธิของตนโดยสุจริตหรือไม่ประกอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเรื่องข่มขืน ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการกลั่นแกล้งและมีเหตุผลเชื่อว่าเป็นการร่วมประเวณีโดยสมัครใจ
จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลยนั้น เป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องพักของโรงแรมไม่มีผู้ใดรู้เห็น เมื่อโจทก์ร่วมกับจำเลยเบิกความโต้แย้งกันอยู่ จึงต้องฟังเหตุผลและพยานพฤติเหตุแวดล้อมประกอบกัน เมื่อพนักงานโรงแรมเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุตนเองเป็นผู้บริการเปิดม่านรูดให้โจทก์ร่วมและจำเลยขับรถเข้าไปจอดในโรงแรม และเปิดม่านรูดเมื่อรถยนต์ของโจทก์ร่วมและจำเลยจะออกไป จำเลยมิได้ร้องขอความช่วยเหลือประกอบกับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมมิได้ใช้กำลังบังคับหรือใช้อาวุธขู่เข็ญจำเลยเพราะจะร่วมประเวณี พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยร่วมประเวณีกันโดยสมัครใจ เมื่อจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในเวลาต่อมาว่าโจทก์ร่วมข่มขืนกระทำชำเราจำเลย จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4191/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารปลอม: สมรู้ร่วมคิดช่วยเหลือผู้อื่นใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกประเทศ
ส.เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีหน้าที่ตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางที่ผู้จะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรนำมาให้ตรวจนั้นเป็นหนังสือเดินทางปลอมหรือไม่ ซึ่งก็ต้องตรวจดูว่าบุคคลผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นบุคคลเดียวกันกับที่กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้แท้จริงหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยแจ้งแก่ส.ว่าพ. ผู้นำหนังสือเดินทางมาให้ตรวจเป็นย. ภริยาของจำเลยซึ่งเป็นข้อความอันเป็นเท็จก็เพื่อให้ส.หลงเชื่อว่าพ. เป็นบุคคลเดียวกันกับย. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือเดินทาง และตรวจผ่านให้พ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ทำให้ส.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหายเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน พฤติการณ์ที่จำเลยพูดจากับ ส. เพื่อช่วยเหลือให้พ. ใช้หนังสือเดินทางปลอมออกนอกราชอาณาจักรได้ทั้งหนังสือเดินทางปลอมที่ พ. ใช้นั้นก่อนถูกปลอมเป็นหนังสือเดินทางฉบับแท้จริงของย. ภริยาจำเลยแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยได้สมรู้ร่วมคิดกับ พ.นำหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวมาใช้ จำเลยจึงเป็นตัวการในการใช้หนังสือเดินทางปลอมด้วยมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้เอกสารราชการปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบดับมาตรา 265,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนจริง ศาลไม่รับฟังพยานที่ไม่ชัดเจน
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 นั้น ในชั้นพิจารณาคดีของศาล โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อพิสูจน์เพื่อได้ให้ความแน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนคนใดที่สถานีตำรวจแห่งใด ด้วยข้อความว่าอย่างไรมาแสดงต่อศาลจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง มิใช่เป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา และพยานเอกสารก็ส่งไว้ในชั้นไต่สวน มูลฟ้องโจทก์หาได้อ้างส่งศาลในชั้นพิจารณาไม่ จึงไม่ชอบ ที่จะรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ: ราษฎรก็เป็นผู้เสียหายได้ตามกฎหมาย
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายจากแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 และ 177 ไม่ใช่จะมีแต่เฉพาะเจ้าพนักงานเท่านั้น ราษฎรที่ได้รับความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวก็เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
of 55