พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วม, การแบ่งทรัพย์สิน, ค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์, และการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าพยานจำเลยที่ประสงค์จะส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศอินเดีย เป็นบุตร บุตรเขย และหลาน กับเพื่อนผู้ใกล้ชิดกับ ด. บิดารู้เห็นเกี่ยวกับที่มาของที่ดินพิพาทและต้องให้พยานดังกล่าวรับรองลายมือชื่อหรือลายมือเขียนของด.อีกทั้งพยานเหล่านั้นรู้เห็นใกล้ชิดเหตุการณ์ซึ่ง น.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้เบิกความไว้นั้น แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่จะนำสืบพยานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ น. ได้เบิกความไว้แล้วทั้งจำเลยก็ได้อ้างส่งพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้แล้วทั้งสิ้นและโจทก์ก็มิได้ปฏิเสธลายมือชื่อของ ด.ที่ปรากฏในเอกสารจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าวให้เป็นการฟุ่มเฟือยและเสียเวลาเพราะพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากกระจ่างชัดแจ้ง แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะส่งประเด็นไปสืบพยานเพิ่มเติมที่ประเทศอินเดีย ตามบันทึกข้อตกลงระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตกได้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลย ด.และอ. โดยเท่าเทียมกันเท่ากับมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 5 ส่วน แต่ตามสัญญาดังกล่าวด.บิดาลงนามแทนอ. โดยไม่ปรากฏว่ามีการมอบอำนาจกันโดยถูกต้อง ทั้งในขณะทำสัญญา อ. มิใช่ผู้เยาว์ที่บิดาจะกระทำการแทนได้ อีกทั้ง อ. เป็นคนวิกลจริตมาแต่แรกเกิดไม่สามารถรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นพูดไม่ได้เพราะสมองพิการแสดงว่า ด.บิดาได้ทำสัญญาแทนอ.โดยอ.ไม่รู้ถึงการทำสัญญาดังกล่าวเลย และขณะนั้นศาลก็ยังมิได้มีคำสั่งให้อ.เป็นคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาลจึงถือไม่ได้ว่าอ.ได้ทำสัญญาดังกล่าว อ. จึงมิใช่คู่สัญญาด้วยแม้สัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก็ตาม แก่เมื่ออ.ไม่ได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นเพราะอ.เป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถรู้สึกผิดชอบและไม่สามารถแสดงเจตนาด้วยตนเองว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นดังนั้นสิทธิของ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงยังไม่เกิดขึ้น อ. จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท แม้ อ. สละสิทธิใส่วนนั้นก็ไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อพิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของบิดากับบุตรตามบันทึกข้อความที่ประสงค์จะให้แต่ละคนมีสิทธิคนละส่วนเท่าเทียมกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจำเลย กับด. จึงมีสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคนละ1 ใน 4 ส่วน ที่จำเลยฎีกาว่า ด. ยังไม่สละสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิให้ ช. จัดการโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของด.กับอ. ผู้ไร้ความสามารถเป็นของโจทก์ทั้งสองนั้นเมื่อสิทธิของ อ.ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทยังไม่เกิดจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยตามที่จำเลยฎีกาว่า การสละสิทธิของอ.ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะหรือไม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละ 1 ใน 3 ส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีนิติกรรมขัดอยู่ หรือวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ทั้งสองเรียกให้แบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในเวลาที่เป็นโอกาส อันไม่ควรแต่อย่างใดและไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงกันว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งแยกจนกว่าจะได้ดำเนินการแบ่งแยกส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะฟ้องแบ่งแยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยในจำนวน 2 ใน 3 ส่วน ตามที่ตนเป็นเจ้าของรวมได้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทโจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมมีสิทธิใช้ทรัพย์สินนั้น โดยไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น ทั้งตามบันทึกข้อตกลงก็กำหนดให้รายรับและการสูญเสียใด ๆ อันเกิดขึ้นจากบรรดาทรัพย์สินตามสัญญาให้จัดการแบ่งโดยเท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญาทุกคน ซึ่งหมายถึงผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท จึงมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทรัพย์พิพาทมิใช่เป็นของจำเลยมาแต่แรก การที่จำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่แรกนั้น เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาต่อมาได้มีการตกลงแบ่งแยกกัน โดยให้โจทก์ทั้งสองกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์คนละ 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นปัญหาที่ว่าการกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นการประพฤติเนรคุณทำให้จำเลยเพิกถอนการให้ได้หรือไม่จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังแบ่งทรัพย์สิน: ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร และความพลั้งเผลอเป็นไปได้ในนิติบุคคล
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม ส่วนการที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขได้หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันหลังแบ่งทรัพย์สิน - ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆแม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าและการแบ่งสินสมรส: ศาลไม่ต้องพิจารณาเรื่องสินสมรสหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516, 1526และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรสโดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มีเหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรส: ศาลไม่พิจารณาแบ่งทรัพย์สินหากไม่มีเหตุหย่า
โจทก์ฟ้องขอหย่ากับขอให้จ่ายค่าเลี้ยงชีพและแบ่งที่ดินโดย อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516,1526 และ 1533 หาใช่เป็นการร้องขอให้ลงชื่อ โจทก์เป็นเจ้าของรวมกันในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับซึ่งเป็นสินสมรส โดยอาศัยอำนาจดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 ดังนั้น เมื่อ ศาลชั้นต้นฟังว่าไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการ เป็นสามีภริยากันแล้วจึงไม่จำต้องพิจารณาเรื่องค่าเลี้ยงชีพและ ทรัพย์สินตามฟ้องว่าเป็นสินสมรสที่จะต้องแบ่งกันหรือไม่ ทั้งไม่มี เหตุที่จะลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินทั้ง 4 ฉบับที่โจทก์อ้างว่าเป็น สินสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วม แม้มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครองร่วมกัน และการครอบครองปรปักษ์ต้องมีการบอกกล่าว
เจ้าของที่ดินยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งหกถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรอันจะแบ่งแยกกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1363 วรรคแรก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทได้ ที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคนไว้โดยไม่ได้มีการตกลงแบ่งแยกกันเป็นสัดส่วนในระหว่างเจ้าของรวม การถือครองที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเป็นการครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จนกว่าจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 เสียก่อน เมื่อไม่ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแก่เจ้าของรวมคนอื่นว่าจะยึดถือครอบครองเป็นของตนจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งส่วนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปัญหามีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้แบ่งส่วนของตนได้หรือไม่ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองบ้านและโรงรถอยู่จะได้ภารจำยอมในที่ดินพิพาทส่วนที่ปลูกสร้างนั้นหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี เพราะว่าภารจำยอมไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1393,1394
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม (แม้เป็นพระภิกษุ) ในการเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่าหลังจาก ห. ตาย โจทก์และ ล. ได้รับมรดกที่พิพาทและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยก ต่อมาโจทก์ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และ ล. ตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ล. ไปขอออกน.ส. 3 ก. เป็นของตนฝ่ายเดียว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งที่ พิพาทให้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมมิใช่ ในฐานะเป็นทายาทโดยธรรมเรียกร้องเอาทรัพย์มรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1622เพราะเมื่อ ห. ตาย โจทก์ และ ล. ได้รับมรดก มาแล้ว ที่พิพาทจึงมิใช่มรดกของ ห.อีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล.เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ไม่มีกฎหมายห้ามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งทรัพย์สินร่วม: แม้เป็นพระภิกษุ ก็มีสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าของรวมได้
เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์และ ล.บุตรเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทจึงมิใช่มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล. มารดาของจำเลยทั้งห้าเมื่อ ล.ตายส่วนของ ล. ตกแก่จำเลยทั้งห้า การที่จำเลยทั้งห้าไม่ยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวม จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุ ก็หามีบทกฎหมายห้ามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแบ่งทรัพย์สิน: ที่ดินและบ้าน หากตกลงไม่ได้ ให้ประมูลหรือขายทอดตลาด
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทและบ้าน 3 หลัง บนที่ดินแก่โจทก์ตามส่วนในคำพิพากษา ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ประมูลกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เอาเงินแบ่งให้โจทก์ตามส่วน หากการประมูลไม่ตกลงกัน ก็ให้นำออกขายทอดตลาด เอาเงินสุทธิแบ่งให้โจทก์ตามส่วน ทั้งได้ส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 โดยวิธีปิดคำบังคับโดยชอบแล้ว ข้อความในคำพิพากษาและคำบังคับแสดงอยู่ในตัวว่า การตกลงแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ดังกล่าวจะต้องเป็นการตกลงแบ่งทั้งที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ตกลงยินยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามส่วนในอัตราตารางวาละ 15,000 บาท แต่จำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 ไม่ตกลงแบ่งบ้านพิพาทให้โจทก์ตามส่วน โดยคำนวณราคารวมที่ดินพิพาทเป็นเงิน 500,000 บาท ตามที่โจทก์เรียกร้อง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 ยังไม่อาจตกลงกันในชั้นบังคับคดีได้ครบทุกข้อ กรณีจึงต้องบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า การแบ่งแยกที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท 3 หลัง ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ประมูลกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เอาเงินแบ่งให้โจทก์ตามส่วน หากการประมูลไม่ตกลงกันก็ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินสุทธิแบ่งให้โจทก์ตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส: แม้จำหน่ายทรัพย์สินไปแล้ว ก็ยังถือเสมือนมีอยู่เพื่อแบ่ง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้ทำสัญญาในเรื่องทรัพย์สินก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ซึ่งตามป.พ.พ. มาตรา 1533 และ 1534 กำหนดว่า จะแบ่งสินสมรสได้เมื่อมีการหย่าและแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่น ๆ ก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนรถยนต์ แต่ปัญหาชั้นฎีกามีเพียงให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ซึ่งเป็นคำขอแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดการแบ่งสินสมรส โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินดังกล่าว