พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทร้องสอด, การแบ่งมรดก, เจ้าของรวม, ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็น ทายาทของ ช. ย่อมมีสิทธิ ร้องสอดเข้ามาเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้จึงเป็น คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)แม้ผู้ร้องทั้งสามจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดการที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องทั้งสามด้วยจึงไม่ชอบ โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นจำนวนเงินตามฟ้องแต่ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์มรดกระหว่าง เจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังได้เป็นยุติแล้วศาลก็ต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์การที่ศาลวินิจฉัยว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายแล้วไม่จำต้องพิพากษาให้และยกคำขอส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดกของผู้จัดการมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดทำให้ฟ้องได้เสมอ
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์และทายาทอื่นยังจัดการมรดกยังไม่เสร็จจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีแบ่งมรดก: แม้จดทะเบียนรับโอนแล้ว ยังมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดได้หากแบ่งไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกส่วนของ ม. ตามโฉนดตราจองที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินแก่โจทก์หนึ่งในแปดส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในชั้นบังคับคดีแม้โจทก์จะได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนของ ม. หนึ่งในแปดส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการบังคับคดีส่วนหนึ่งของการบังคับตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น โจทก์จึงยังมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยแบ่งตัวทรัพย์มรดกได้ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกันว่าไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทได้ทั้งสภาพของตัวทรัพย์ก็ไม่อาจที่จะแบ่งกันเช่นนี้โจทก์ก็ชอบที่จะให้นำที่ดินและบ้านออกประมูลกันระหว่างทายาท หรือนำออกขายทอดตลาดได้แต่การที่จะให้ประมูลกันระหว่างทายาทก็น่าจะเป็นปัญหาได้เพราะทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียมิได้เข้ามาในคดีทุกคน ดังนั้นสมควรให้นำที่ดินและบ้านออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทในการเรียกร้องแบ่งมรดก: ห้ามเรียกร้องแทนผู้อื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 และมาตรา 1749 วรรคแรก ให้สิทธิทายาทที่จะฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตามส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับและหากไม่ได้ฟ้องคดีเองก็มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้าไปรักษาสิทธิของตนได้ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้ให้สิทธิทายาทที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแบ่งมรดก: ฟ้องทรัพย์มรดกรายเดียวกันซ้ำ
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก 1 แปลงจากจำเลย ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก 3 แปลงจากจำเลย แม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน แต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกัน อันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งมรดกรายเดียวกัน แม้เป็นที่ดินต่างแปลง
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก 1 แปลงจากจำเลย ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก 3 แปลง จากจำเลย แม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อน แต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกัน และมีประเด็นอย่างเดียวกัน อันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีแบ่งมรดกเดิมยังไม่สิ้นสุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ขอแบ่งมรดกส่วนที่เหลือ
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนางสาว ด.เคยฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดก1แปลงจากจำเลยขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งที่ดินมรดกที่เหลืออีก3แปลงจากจำเลยแม้ทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้เป็นที่ดินคนละแปลงกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกรายเดียวกันและมีประเด็นอย่างเดียวกันอันถือได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครอง และภารจำยอม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมในการแบ่งมรดกและกำหนดภารจำยอมใหม่
โจทก์ทั้งสองได้รับส่วนแบ่งมรดกคือบ้านและที่ดินที่ใช้ปลูกบ้านและได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสองการที่โจทก์ทั้งสองผ่านที่ดินของจำเลยและทายาทอื่นออกสู่ทาสาธารณะโดยโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกทางอื่นเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสองจึงได้ภารจำยอมในการผ่านที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยและทายาทอื่น แต่ทางภารจำยอมที่โจทก์ทั้งสองแสดงไว้แตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์และมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่ที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์เกินความจำเป็น ศาลเห็นสมควรกำหนดทางภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมและเป็นธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเงินที่ อ. ซื้อที่ดินพิพาทที่ส่วนที่เป็นมรดกรวมอยู่ด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมทำให้เสียสิทธิของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สิทธิการได้รับส่วนแบ่งและวิธีการแบ่งทรัพย์สิน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน เป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่อย่างใดไม่
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วน เป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่อย่างใดไม่
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดิน: ศาลพิพากษาให้แบ่งตามส่วนได้ แม้ข้อหาในคำฟ้องไม่ตรงกับวิธีแบ่ง แต่ต้องระบุส่วนแบ่งของทายาทแต่ละคนให้ชัดเจน
การฟ้องเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดก และเงินรายได้จากทรัพย์มรดกนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกและรายได้จากที่ดินมรดกได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวขอแบ่งมรดกก่อน โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ขายทอดตลาดที่ดินมรดกราคาประมาณ8,000,000 บาท แล้วนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสี่ 1 ใน 8 ส่วนเป็นเงินประมาณ 1,000,000 บาท การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน หากไม่สามารถทำได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งนั้นเป็นการพิพากษาให้มีการแบ่งที่ดินมรดกซึ่งโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ทั้งสี่ตามส่วน ตามวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำพิพากษาของศาลจึงหาได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142แต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง5 ใน 64 ส่วน โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละ 1 ใน 64 ส่วน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับ 1 ใน 8 ส่วน โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งของโจทก์แต่ละคนนั้นเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้