คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 236 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบรรเทาโทษตามมาตรา 78 และข้อจำกัดในการฎีกาของโจทก์ร่วม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า การรับสารภาพของจำเลยเป็นการจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิจารณาความเสียหายและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมแถลงรับว่าเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเกี่ยวกับคดีนี้ว่าทำร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองคดีนี้และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วม คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คดีนี้วินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ดังนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้เมื่อยังไม่ได้ความว่าโจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย ประกอบกับคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้ เสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: การพิจารณาความชัดเจนของข้อเท็จจริงเรื่องการทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันก่อนวินิจฉัยสิทธิ
ระหว่างสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์ร่วมได้ความเพียงว่า โจทก์ร่วมถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันกับคดีนี้ว่าทำร้ายร่างกายจำเลยทั้งสองในคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษโจทก์ร่วมแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมรับว่าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันกับจำเลยในคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ในคดีที่โจทก์ร่วมถูกฟ้องก็ยังมิได้ชี้ขาดว่าเป็นเรื่องวิวาททำร้ายร่างกายกันจริงหรือไม่และคดียังไม่ถึงที่สุดประกอบกับในคดีนี้โจทก์ก็บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายคือโจทก์ร่วมเท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงยังไม่เป็นที่ยุติว่าโจทก์ร่วมวิวาททำร้ายร่างกายกับจำเลย เมื่อไม่ได้ความชัดเช่นนี้ จึงยังไม่สมควรด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นนี้เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความประมาทในคดีขับรถชน และสิทธิของโจทก์ร่วมที่จำกัดเฉพาะความเสียหายทางอาญา
โจทก์มีแต่ร้อยตำรวจโท พ.เบิกความว่าได้รับแจ้งว่ามีคนถูกรถยนต์ชนจึงไปที่เกิดเหตุ และได้ทำแผนที่เกิดเหตุและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุไว้ นอกจากนี้โจทก์มีคำให้การชั้นสอบสวนของนาย ว.ซึ่งให้การเพียงว่าพบหญิงลักษณะถูกรถชนนอนหมดสติอยู่ในถนนจึงนำส่งโรงพยาบาล แต่หญิงดังกล่าวถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยโจทก์ไม่มีพยานใดแสดงว่าในขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทสำหรับบันทึกการตกลงเรื่องค่าเสียหายที่มีข้อความว่าฝ่ายสามีผู้ตายเรียกค่าเสียหาย 500,000 บาท แต่ฝ่ายจำเลยเสนอให้เพียง50,000 บาท ก็ไม่ใช่ข้อชี้ไปถึงว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท ส่วนจำเลยมีตัวจำเลยและนาย ส.เป็นพยานเบิกความปฏิเสธว่าเหตุรถยนต์ชนผู้ตายไม่ได้เกิดจากความประมาทของจำเลย ดังนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ชนผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีได้ก็ถือว่าให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะในข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 เท่านั้น เพราะโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดนี้ส่วนข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,78,157,160 รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย เป็นโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าวไม่ได้และไม่มีสิทธิฎีกาในข้อหาความผิดนี้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1655/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ร่วมฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ หากศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่างให้จำคุกเกินห้าปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตถือเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง และข้อห้ามฎีกานี้ใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์" ไว้ให้รวมถึงโจทก์ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วม: เมื่อไม่เคยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมดสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง หมายถึงยกฟ้องโจทก์ร่วมด้วย เมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม ฎีกาของโจทก์ร่วมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอำนาจโจทก์ร่วมในคดีจราจร และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43, 45, 157 และ ป.อ. มาตรา 300 สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายเฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตพอแปลความหมายได้ว่าอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 300
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยหลงข้อต่อสู้เพราะตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยขับรถแซงทางด้านซ้ายและเกิดเหตุเฉี่ยวชนที่ไหล่ทางจำเลยต่อสู้คดีตลอดมาว่า ไม่ได้แซงทางด้านซ้ายและไม่ได้เฉี่ยวชน ข้อเท็จจริงก็ได้ความตามที่จำเลยต่อสู้ ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ ถ้าในขณะยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายแล้วก็เป็นอุทธรณ์ที่ชอบ ถึงแม้ภายหลังจะมีบทกฎหมายบัญญัติขึ้นใหม่ให้ต้องห้ามอุทธรณ์ก็ไม่ตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะได้รับการพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมยังคงมีอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และผู้รับโอนมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดยังคงอยู่แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของผู้รับโอน
ขณะโจทก์ที่ 1 เสนอคำฟ้องต่อศาล โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้กระทำละเมิด แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทยกให้โจทก์ที่ 2 อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ที่ 2 ผู้รับโอนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 57(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความผิดกรรมเดียวในคดีขับรถประมาท และอำนาจการเป็นโจทก์ร่วม
เมื่อพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่แล้ว การที่โจทก์ร่วมที่ 1 จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้หรือไม่ ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นประการอื่นได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อที่ว่าโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนประมาทด้วย การที่จำเลยขับรถจะเลี้ยวซ้าย แต่ไม่นำรถเข้าชิด ขอบทางเดินรถด้านซ้าย กลับเลี้ยวรถโดยตัดหน้ารถโจทก์ร่วมที่ 1 ในระยะกระชั้นชิดจนเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสามได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับไปรับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันอันเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นการกระทำผิดสำเร็จแต่ละตอนแยกจากกันเป็นความผิดต่างกรรมกันไม่.
of 24