คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องก่อนการเพิกถอนโฉนด: จำเลยยังมิได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ทางราชการได้ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ ต่อมามีผู้คัดค้านว่าที่ดินที่ออกโฉนดให้โจทก์นั้นเป็นที่สาธารณของแผ่นดินซึ่งประชาชนใช้ร่วมกันกรมที่ดินจำเลยจึงได้เรียกให้โจทก์ส่งโฉนดที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อส่งให้แก่จำเลย และให้โอกาสโจทก์ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วันโจทก์ยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวมารดาโจทก์ครอบครองและยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ แต่โจทก์ยังไม่ได้ส่งโฉนดให้จำเลยและจำเลยก็ยังมิได้เพิกถอนโฉนดที่ดินของโจทก์ ดังนี้ โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาสั่งให้จำเลยระงับการเพิกถอนโฉนดของโจทก์ไม่ได้เพราะยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินและคืนโฉนด: การใช้เงินคืนเป็นสาระสำคัญ
กู้เงินกว่า 50 บาท ผู้กู้ได้รับโฉนดอันเป็นหลักประกันตามเอกสารกู้คืนแล้ว ไม่ต้องด้วยมาตรา 653วรรคสอง ฟังว่ามีการใช้เงินคืนแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์จากความผิดพลาดในโฉนด
โจทก์จำเลยแบ่งที่ดินมรดกต่างครอบครองที่ดินที่แบ่งคนละแปลงแต่โฉนดที่โจทก์ได้รับมาในชื่อโจทก์เป็นโฉนดที่ดินแปลงอีกแปลงหนึ่งส่วนโฉนดที่จำเลยได้รับไปในชื่อจำเลยเป็นโฉนดที่ดินที่โจทก์ครอบครองโจทก์ครอบครองมาเกิน 10 ปีโดยเข้าใจผิดว่าครอบครองที่ดินตามโฉนดที่ตนมีชื่อ ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งทราบความผิดพลาดโจทก์ก็ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยแล้วถึงสิทธิเรียกร้องโฉนด การฟ้องใหม่ประเด็นเดิมถือเป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้นำโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งมาวางศาล เพื่อให้โจทก์รับไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิในโฉนดลงคงมีแต่สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพื่อให้ส่งโฉนดฉบับเดียวกัน ด้วยความประสงค์อย่างเดิม จึงเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก และประเด็นวินิจฉัยก็อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้ครองเอกสารส่งโฉนดให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีในคดีก่อนไว้บริบูรณ์แล้ว ส่วนการบอกกล่าวก่อนฟ้องก็ดี การขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกโฉนดจากจำเลยก็ดี หาได้ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องเอาโฉนดจากจำเลยได้ไม่ ทั้งมิใช่ข้อสำคัญแห่งคดี และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งโฉนดให้แก่โจทก์หรือไม่นั่นเองฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาโดยโฉนดมิชอบ แม้ครอบครองนาน ก็มิอาจล้มล้างกรรมสิทธิ์เดิมได้
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาลโดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163-2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผล นอกจากเอกสารโจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่า ต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังออกโฉนด: สิทธิจำนองเป็นโมฆะเมื่อ น.ส.3 ถูกยกเลิกด้วยการออกโฉนด
การที่อำเภอได้ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ในที่พิพาทให้เจ้าของที่ดิน จนกระทั่งสำนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้เจ้าของที่ดินไปแล้ว ดังนี้ถือได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดิมเป็นอันยกเลิกแล้วตามความในมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปจำนองไว้กับโจทก์ โดยจดทะเบียนการจำนอง ณ ที่ว่าการอำเภอ แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดียวกันนี้พร้อมโฉนดไปขายฝากให้บุตรจำเลยโดยจดทะเบียนการขายฝากที่สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดดังนี้ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยจดทะเบียนถูกต้องและสุจริตก็ตามก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินแปลงพิพาทไม่ โจทก์ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลย (ผู้รับโอนมรดกที่พิพาท) ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังออกโฉนด: น.ส.3 ถูกยกเลิกตามกฎหมาย ทำให้จำนองไม่สมบูรณ์
การที่อำเภอได้ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ในที่พิพาทให้เจ้าของที่ดิน จนกระทั่งสำนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้เจ้าของที่ดินไปแล้ว ดังนี้ถือได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดิมเป็นอันยกเลิกแล้วตามความในมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปจำนองไว้กับโจทก์ โดยจดทะเบียนการจำนอง ณ ที่ว่าการอำเภอ แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดียวกันนี้พร้อมโฉนดไปขายฝากให้บุตรจำเลยโดยจดทะเบียนการขายฝากที่สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยจดทะเบียนถูกต้องและสุจริตก็ตามก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินแปลงพิพาทไม่ โจทก์ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลย (ผู้รับโอนมรดกที่พิพาท) ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ออกใหม่หลังคณะกรรมการสำรวจฯมีคำสั่งยกเลิกโฉนดเดิม และสิทธิในที่ดินของเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดินพ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญอันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบ ก็ต้องถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: แม้มีการครอบครองและรังวัดออกโฉนดแล้ว แต่กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของวัดและห้ามอ้างอายุความ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตามจำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ดีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่าที่วัดผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสงวนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การออกโฉนด/ใบเหยียบย่ำต้องเป็นไปตามกฤษฎีกา สิทธิทำประโยชน์ก่อน พ.ร.บ.ที่ดิน ไม่ทำให้สิทธิสมบูรณ์
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้น. แม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน.แต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479แล้ว. การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา.
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483. ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494. ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ.2501. ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้. ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเอง. เจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้.(อ้างฎีกาที่ 214/2480).
of 22