พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน แม้คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนโฉนดที่ดินตามข้อตกลง: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับได้ แม้จำเลยอ้างเหตุผลต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ อ.มาให้จำเลยยึดถือไว้โดยมีข้อตกลงกันไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ตามข้อตกลง แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์จริง แม้จำเลยจะให้การอ้างว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินไว้ในฐานะผู้แทนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี และจำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยเก็บโฉนดที่ดินไว้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี จำเลยไม่อาจนำโฉนดที่ดินมาคืนให้แก่โจทก์ได้ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิตามฟ้องของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. เมื่อมีโฉนดที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้ไม่เกินคำขอ
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฏตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6373/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: เพิ่มเติมข้อเท็จจริงเดิมได้ ไม่ถือเป็นการตั้งข้อหาใหม่ ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดที่ดินออกโดยไม่ชอบ
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่พิพาท ขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่พิพาท ส่วนตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทั้ง บ. และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยฝากให้จำเลยที่ 1 ดูแลที่พิพาท มิได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1เข้าไปอยู่ในที่พิพาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการตั้งข้อหาใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อหาในคำฟ้องเดิมแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ขอให้พิพากษาทำลายโฉนดที่ดินส่วนที่ออกทับที่พิพาทนั้น มีความหมายว่าโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนที่ทับที่พิพาทออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะที่พิพาทเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นข้อหาตามคำฟ้องเดิมอยู่แล้ว แม้โจทก์จะไม่มีคำขอดังกล่าวมาท้ายฟ้อง หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโฉนดที่ดินออกทับที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นที่พิพาทศาลก็มีอำนาจสั่งเพิกถอนได้ ดังนั้นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้บริบูรณ์และเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกัน โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี หลังออกโฉนด
ส. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ 60 ปีก่อนเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่า ส.เข้าครอบครองที่พิพาทได้อย่างไร พฤติการณ์ที่ ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทสืบต่อกันมานานถึง60 ปี โดยไม่ปรากฏว่า ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทแทนผู้อื่น แสดงให้เห็นว่า ส.และจำเลยร่วมกันยึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาก่อนมีการออกโฉนดที่ดินเลขที่5285 แม้ ส. และจำเลยที่ 2 มิได้ไต้แย้งคัดค้านการที่ อ.ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่5285 ซึ่งรวมที่พิพาทไว้ด้วย และมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนมรดกที่ดินโฉนดดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะการยึดถือที่พิพาทของ ส.และจำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงไปดังนั้น หลังจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แล้ว ส.และจำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เมื่อ ส.ตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส.แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตลอดมา กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินโดยอาศัยคำพิพากษาที่วินิจฉัยกรรมสิทธิ์และบังคับเจ้าพนักงานที่ดินเป็นบุคคลภายนอก มิชอบตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้เจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกคำสั่งให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยและให้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไปเมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วย การที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวเป็นคำขอที่บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีจึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) มิใช่เป็นเรื่องบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการหรือไม่กระทำการ ส่วนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 ก็เป็นเรื่องที่มีกรณีโต้แย้งสิทธิกันเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินและไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นเจ้าพนักงานที่ดิน และต้องฟ้องกันต่อศาลเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จึงให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการต่อไปก็มิใช่เป็นเรื่องที่ให้สิทธิโจทก์ฟ้องจำเลยแล้วมีคำขอให้บังคับแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินมาด้วย ปัญหาว่าศาลไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้เพราะเป็นการบังคับบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เปิดทางพิพาทโดยไม่ระบุโฉนดที่ดิน แม้มีการแบ่งแยกที่ดินก่อนฟ้อง ก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2822 มีการรังวัดแบ่งแยกก่อนฟ้อง และทางพิจารณาโฉนดเลขที่ 2822 ไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าทางพิพาทมีอยู่ในแห่งอื่นอีก และโฉนดเลขที่ 5977 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมนั้นก็แบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 2822 ที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทางพิพาทที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือทางพิพาทที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุโฉนดเลขที่ ทางพิพาทก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5977 จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นโฉนดที่ดิน ส่งผลให้สิทธิเดิมสิ้นสุด แม้จะมีการจดทะเบียนรับโอนโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ธ. มีเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมา ธ. ขอออกเป็นโฉนดที่ดิน แล้ว ธ. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคาร ส่วนจำเลยได้ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้ตามเช็ค และธนาคารก็ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้กับมีคำขอให้บังคับจำนองหลังจากที่จำเลยชนะคดีแล้วจำเลยนำยึดที่ดินพิพาทตามหลักฐานใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดในคดีที่จำเลยนำยึด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์ ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีที่ธนาคารบังคับจำนองดังนี้ เมื่อในวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ธ.เจ้าของที่ดินพิพาทตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ไปขอออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวที่สำนักงานที่ดินจังหวัดก่อนแล้ว ย่อมมีผลให้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทรวมตลอดไปถึงใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทเป็นอันยกเลิกไป แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากการซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินพิพาทไม่ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ น.ส.3ก. เป็นอันยกเลิก แม้มีการซื้อขายจากการขายทอดตลาด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ธ. มีเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมา ธ. ขอออกเป็นโฉนดที่ดินแล้ว ธ. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคารส่วนจำเลยได้ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้ตามเช็คและธนาคารก็ฟ้องธ.ให้ชำระหนี้กับมีคำขอให้บังคับจำนองหลังจากที่จำเลยชนะคดีแล้วจำเลยนำยึดที่ดินพิพาทตามหลักฐานใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดในคดีที่จำเลยนำยึด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์ ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีที่ธนาคารบังคับจำนอง ดังนี้ เมื่อในวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทนั้นธ. เจ้าของที่ดินพิพาทตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ไปขอออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวที่สำนักงานที่ดินจังหวัดก่อนแล้ว ย่อมมีผลให้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทรวมตลอดไปถึงใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทเป็นอันยกเลิกไป แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากการซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินพิพาทไม่ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินไขว้สับและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรงกับผู้ครอบครอง
โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามต่างรับโอนที่ดินที่มีโฉนดไขว้สับกัน และต่างฝ่ายต่างครอบครองที่ดินที่ตนรับโอนมาเกินกว่า10 ปี ดังนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงต่างได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับโอนและครอบครองมาแม้จำเลยทั้งสามจะมีชื่อในโฉนดที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ก็จะอ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จำเลยทั้งสามมิได้มีเจตนารับโอนไม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอบังคับให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดโดยแลกเปลี่ยนกันและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้