พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์โทษปรับ และการนับโทษต่อเมื่อจำเลยปฏิเสธ
ในข้อหาที่ศาลชั้นต้นลงโทษปรับ 100 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่จึงนับโทษต่อให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและขอบเขตการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พร้อมการแก้ไขโทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่า 6 หมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา จำเลยฎีกาว่าศาลลงโทษปรับจำเลยหนักเกินควร เป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองที่ให้ปรับอีกวันละ 500 บาทนั้น เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับวันละ250 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับวันละ 500 บาท แม้จำเลย มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ: ศาลสามารถลงโทษปรับได้เพียงสถานเดียว
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับ โดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับสำหรับนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จ แม้กฎหมายกำหนดทั้งจำคุกและปรับ
ศาลอาจลงโทษนิติบุคคลในความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและปรับโดยลงโทษปรับแต่เพียงสถานเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับ-โทษปรับอาคารพาณิชย์-การเป็นความผิดสองกรรม
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดี ผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผู้ไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดี การกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ และขอบเขตการลงโทษปรับ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการลงโทษจำคุกสถานเดียวสำหรับความผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๗๓ ทวิ แม้มีโทษปรับ
แม้ความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73 ทวิจะมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาทก็ตาม ถ้าศาลเห็นสมควรจะลงแต่โทษจำคุกสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับด้วยก็ได้ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณโทษปรับฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: พิจารณาจากราคาของรวมค่าอากรทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะค่าอากรขาด
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติถึงกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลไว้ว่า 'ฯลฯ สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ฯลฯ' บทบัญญัตินี้มิได้จำกัดว่า ค่าอากรนั้นให้คิดเฉพาะค่าอากรที่เสียขาดไป จึงย่อมหมายถึงค่าอากรทั้งหมดสำหรับของนั้น อย่างไรก็ดีคำว่า'ค่าอากร' ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงภาษีการค้า อันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาจากเจ้ามือเป็นผู้เล่น: ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษได้ภายในขอบเขตมาตรา 220 ป.วิ.อาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นและเข้าเล่นพนันโดยเป็นเจ้ามือ จำคุก 4 เดือน และปรับ 600บาท ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยเป็นผู้เข้าเล่นในฐานะลูกค้าเท่านั้น พิพากษาแก้ ลงโทษปรับสถานเดียว 600 บาท ดังนี้ แม้จะเป็นการแก้ไขมากก็อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 220ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นปรับในคดีทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพฤติการณ์ไม่ถึงขั้นทำร้ายร่างกายสาหัส
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297,83. ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ปรับจำเลยคนละ 500 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 ดังนี้ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ปัญหาที่ว่า จำเลยสมคบกับผู้อื่นทำร้ายผู้เสียหายหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ปัญหาที่ว่า จำเลยสมคบกับผู้อื่นทำร้ายผู้เสียหายหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง