คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โบนัส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและการเลิกจ้าง: การออกจากงานโดยสมัครใจไม่ใช่การเลิกจ้าง และสิทธิในเงินโบนัส
กรรมการผู้จัดการของบริษัทนายจ้างแจ้งความกล่าวหาลูกจ้างว่าลักทรัพย์จนลูกจ้างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับไปคุมขังและถูกฟ้องอาญา แต่ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้การกล่าวหานั้นจะปราศจากมูลความจริง ลูกจ้างก็ถูกจับและควบคุมไว้ไม่ได้ทำงาน 5 วันไม่ถึง 7 วันทำงานติดต่อกัน เมื่อลูกจ้างมีประกันตัวมาก็ไม่กลับเข้าทำงาน โดยไม่ปรากฏว่านายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานหรือกลั่นแกล้งประการอื่น เป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่ทำงานกับนายจ้างต่อไปโดยความสมัครใจของลูกจ้างเอง มิใช่เหตุเพราะนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัส เป็นแต่นายจ้างเคยจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้าง 1 เดือน เมื่อสิ้นปี แสดงว่านายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้ต่อเมื่อลูกจ้างผู้นั้นยังคงทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยถึงสิ้นปี เมื่อลูกจ้างออกจากงานไปเสียก่อนสิ้นปี ทั้งไม่ปรากฏว่านายจ้างต้องจ่ายเงินโบนัส แม้ลูกจ้างจะออกไปในระหว่างปีโดยคำนวณตามระยะของการทำงานหรือผลงานแล้ว ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัส-บำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างรับโอนจากรัฐวิสาหกิจ vs. ลูกจ้างใหม่ตามสัญญาเช่า
เงินโบนัสและเงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ เช่นค่าชดเชยดังนั้น นายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสและเงินบำเหน็จให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ และถ้าจ่ายจะจ่ายด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์อย่างใดก็ต้องแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด หรือตามสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่กรณี เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ โจทก์บางคนที่จำเลยรับเข้าทำงานเองมิได้มีความผูกพันอยู่กับสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อจำเลยได้มีคำสั่งและประกาศให้ทราบแล้วว่า ให้แยกจ่ายเงินค่าครองชีพต่างหากจากเงินเดือนและค่าจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้ยอมรับเอาเงินโบนัสและเงินบำเหน็จไปแล้ว มิได้มีการโต้แย้งหรือเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเป็นประการอื่น จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินโบนัสหรือเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้
ส่วนโจทก์บางคนที่จำเลยรับโอนจากโรงงานสุรากรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่านั้น จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า โดยที่ขณะสัญญาเช่ายังมีผลบังคับกระทรวงการคลังได้สั่งให้รัฐวิสาหกิจที่จ่ายเงินค่าครองชีพเงินค่ายังชีพ หรือเงินที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน นำเงินดังกล่าวไปบวกรวมเข้ากับเงินเดือนค่าจ้าง และนำยอดรวมไปปรับเข้าขั้นเงินเดือนค่าจ้าง ตามบัญชีอัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ที่รัฐวิสาหกิจใช้อยู่ ซึ่งเห็นว่าตามวิธีการที่กำหนดนี้ย่อมเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจดีขึ้นในการคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จ ฉะนั้น จึงอยู่ในข้อบังคับของสัญญาเช่าอันเป็นผลให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งทางราชการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้โจทก์ที่จำเลยรับโอนมาจึงมีสิทธิจะให้จำเลยนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินโบนัสและเงินบำเหน็จเพิ่มอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพ-โบนัส: การคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน - ค่าจ้าง vs. เงินรางวัล
เมื่อนายจ้างมีนโยบายและระเบียบที่จะเพิ่มค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น การที่นายจ้างจ่ายเงินค่าครองชีพให้แก่ลูกจ้างเมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นจึงแสดงว่าเป็นการเพิ่มค่าจ้างให้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ยังได้ความว่า ภายหลังต่อมานายจ้างก็รวมเงินค่าครองชีพเข้าเป็นค่าจ้างปกติ แสดงให้เห็นว่านายจ้างประสงค์ให้เงินค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง แต่ที่ได้แยกจ่ายออกจากค่าจ้างปกติก็โดยหวังว่าจะทำให้ไม่ต้องนำมารวมเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินอื่นเท่านั้น ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างอันต้องนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
ตามระเบียบของบริษัทนายจ้างบริษัทจะไม่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสในปีใดก็ได้ มิได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกปี ทั้งการจ่ายก็มีความมุ่งหมายเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความดีความชอบของลูกจ้างที่ทำงานมาด้วยดีและมีความประพฤติเหมาะสมเงินรางวัลประจำปีหรือโบนัสจึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่เป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน
เพียงแต่จำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมแรงงานจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวในการคืนเงินสมทบที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนซึ่งมีฐานะเป็นกองสังกัดกรมจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเกินมาแก่โจทก์ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายโบนัส: สิทธิและขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กับข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์ แสดงว่าที่ประชุมใหญ่ของจำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์ในการ จ่ายเงินโบนัสได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยให้จ่ายโบนัสแก่พนักงานโดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องมีตัวอยู่กับจำเลยในวันที่ที่ประชุมอนุมัตินั้น จึงอยู่ในอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายปีที่บอกเลิกได้ง่าย, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, สิทธิค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบ
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้างออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี ไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างกำหนดไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายปีที่มีสิทธิบอกเลิกได้, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, และสิทธิค่ารักษาพยาบาลตามข้อกำหนด
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้าง ออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปีไม่มีผลบังคับอย่าง แท้จริงโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลา การจ้างกำหนด ไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้ เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายโบนัสและหักเงินเดือนลูกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายโบนัสเมื่อเลิกจ้างโดยมิได้มีบกพร่อง และห้ามหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้บุคคลอื่นเว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความบกพร่องในหน้าที่การงานที่นายจ้างจ้างทำ อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างงดจ่ายโบนัสตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว นายจ้างก็จะต้องจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้าง
นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไว้เพื่อใช้หนี้ที่ลูกจ้างเป็นลูกหนี้คนอื่นอยู่ เว้นแต่ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้หักเงินเดือนตนไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, สิทธิการรับโบนัส, การหักเงินเดือน, และผลของคำมั่นสัญญา
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความบกพร่องในหน้าที่การงานที่นายจ้างจ้างทำ อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างงดจ่ายโบนัสตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว นายจ้างก็จะต้องจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้าง
นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไว้เพื่อใช้หนี้ที่ลูกจ้างเป็นลูกหนี้คนอื่นอยู่ เว้นแต่ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้หักเงินเดือนตนไว้
นายจ้างสั่งเลิกจ้างลูกจ้างโดยระบุเป็นคำมั่นว่าให้จ่ายเงินบำเหน็จก้อนหนึ่งให้ลูกจ้าง ลูกจ้างก็ยอมรับตามนั้น ดังนี้นายจ้างจะไม่จ่ายเงินบำเหน็จโดยอ้างว่าตนได้ทราบขึ้นภายหลังว่า ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่บกพร่องย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2550

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลง นายจ้างมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการจ่ายได้ หากหลักเกณฑ์ชัดเจนและไม่เอาเปรียบ
เงินโบนัสไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายเสมอไป หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินโบนัสหรือสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินโบนัส จึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น จำเลยมีประกาศ เรื่อง เงินโบนัสประจำปี 2557 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินโบนัสว่า "1.2 กำหนดเวลาการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2557 ในวันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558..." และ "1.4 พนักงานจะต้องมีสถานภาพจนถึงวันที่จ่ายโบนัสประจำปี" โจทก์รับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวตลอดมา การที่จำเลยกำหนดให้มีการจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างก็เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ลูกจ้าง ตอบแทนการทำงานที่ผ่านมา และจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้จำเลยต่อไป หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2557 จึงเป็นไปตามหลักการบริหารองค์กรโดยทั่วไป ไม่เป็นการเอาเปรียบหรือเลือกปฏิบัติต่อโจทก์ ทั้งมีข้อกำหนดถึงคุณสมบัติของลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงใช้บังคับได้และผูกพันโจทก์
of 9