พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ยังคงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา การกระทำความผิดของจำเลยแยกได้เป็นสองส่วน คือ ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอน อาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 42 แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมายและเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21,65 และมาตรา 42,66 ทวิ แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาชำระค่าปรับเป็นรายวันไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอนเพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกคำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิครอบครองก่อนโอนกรรมสิทธิ์ & ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเรื่องปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทรุกล้ำโดยสุจริต และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ นอกจากนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นที่ดินของโจทก์เพียงแต่จำเลยมีสิทธิเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่มีที่ดินส่วนใดที่เป็นของจำเลยกรณีจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4และมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง ได้ ดังนี้ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวให้ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นในเรื่องความสุจริตตามบทมาตราดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและอายุความของสัญญาวางมัดจำซื้อขาย: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ได้แม้เวลาผ่านไป
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนองลูกหนี้ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินของลูกหนี้นั้นเป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือจนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17 ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีการค้าของผู้ประกอบการ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้าโดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้ว จำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวดถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา79 ทวิ (5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งป.รัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า(ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตามกฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ชำระภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้า โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้วจำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40)แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวด ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา 79 ทวิ(5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตาม กฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็น เจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การหักเงินชำระแล้ว, และประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกันใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1 ได้มอบเงิน 1,000,000บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน 1,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้นโจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมา จะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ แต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดินให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้วจำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมตกติดกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม โดย อายุความ ตาม คำพิพากษา ของ ศาล โจทก์ บอกกล่าว ให้ จำเลย เจ้าของ ภารยทรัพย์ ไป ดำเนินการ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ที่ โจทก์ ได้ มา แต่ จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าของ สามยทรัพย์ จึง ฟ้อง จำเลย ใน ฐานะ เจ้าของ ภารยทรัพย์ ให้ จดทะเบียน สิทธิ ภารจำยอม ให้ แก่ โจทก์ ได้ คดี ก่อน โจทก์ ฟ้อง ส . เจ้าของ ภารยทรัพย์ ที่ จำเลย รับโอน ต่อมา โดย จำเลย มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี นั้น ก็ ตาม แต่เมื่อ คดี ก่อน ศาล มี คำพิพากษา ว่า โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม ใน ทางพิพาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382 จึง เป็น กรณี ที่ โจทก์ ได้ สิทธิ ภารจำยอม อันเป็น ทรัพย์ สิทธิ อัน เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ โดย ทาง อื่น นอกจาก ทาง นิติกรรม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เป็น ทรัพย์ สิทธิ คน ละ ประเภท กับ กรรมสิทธิ์ ที่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ มีอำนาจ ใน อสังหาริมทรัพย์ ของ ตนเอง และ ภารจำยอม เป็น ทรัพย์ ที่ กฎหมาย บัญญัติ เพื่อ ประโยชน์ แก่ อสังหาริมทรัพย์ มิได้ มุ่ง เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคล หนึ่ง บุคคล ใด โดยเฉพาะ ภารจำยอม จึง ย่อม ตก ติด ไป กับ อสังหาริมทรัพย์ ที่ เป็น สามยทรัพย์ และ ภารยทรัพย์ แม้ จะ มี การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ไป ให้ แก่ บุคคลอื่น ภารจำยอม ก็ หา ได้ หมดสิ้น ไป ไม่ เว้นแต่ กรณี จะ ต้อง ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่า จำเลย จะ รับโอน ที่พิพาท มา โดยสุจริต หรือไม่ ก็ ตาม ก็ ไม่อาจ จะ ยกขึ้น ต่อสู้ กับ สิทธิ ภารจำยอม ของ โจทก์ ได้ คำพิพากษา ศาล ดังกล่าว จึง ผูกพัน จำเลย ด้วย ใน ฐานะ ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าก่อนโอนกรรมสิทธิ์ และความรับผิดในเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าวจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความเสียหายทั้งหมดแม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตาม แต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าวเครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคาร อีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมตกติดไปกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมที่โจทก์ได้มา แต่จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ให้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่โจทก์ได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตามแต่เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง เป็นทรัพย์สิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และภารจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยเฉพาะ ภารจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ แม้จะมีการโอน อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภารจำยอมก็ หาได้หมดสิ้นไปไม่ เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของ กฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมา โดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิ ภารจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย ด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในหนี้ภาษีค้างชำระเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2479 มาตรา 45กำหนดว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตามเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน จึงเห็นได้ว่าความในมาตรา 45 มิได้หมายความถึง มีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไปเพียงแต่บัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้วเพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเองแต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน คดีนี้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38ล่วงพ้นไปแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มด้วย