คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้แทนบุคคลอื่นเป็นโมฆะ และสิทธิเรียกร้องความเสียหายจากโมฆะกรรม
การที่โจทก์ตกลงยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยจำเลยชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ มีผลเท่ากับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 แล้ว ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่)และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดี จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิในการเรียกร้องความเสียหายจากโมฆะกรรม
การที่โจทก์ตกลงยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยจำเลยชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์มีผลเท่ากับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา31แล้วข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172วรรคแรกที่แก้ไขใหม่การที่โจทก์มาฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวของบุคคลภายนอกคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีและการโอนที่ดิน
แม้คดีที่จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1จะไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้แต่การที่โจทก์ขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่1โอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทให้แก่จำเลยที่2ย่อมมีผลเป็นการให้ งดการบังคับคดีในคดีซึ่งได้ถึงที่สุดแล้วจำเลยที่2ซึ่งเป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้หากจำเลยที่2บังคับคดีให้เป็นที่เสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2ต่อไปโจทก์หามีสิทธิมายื่นขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อให้มีผลห้ามมิให้จำเลยที่2ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2หากจำเลยที่2บังคับคดีรับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่1แล้วโอนต่อไปยัง บุคคลภายนอกอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้โจทก์จึงมีสิทธิขอให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยที่2โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นแม้โจทก์จะเป็นสามีของจำเลยที่1ซึ่งมีสิทธิขอกันส่วนของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ก็ตามแต่ก็หามีบทกฎหมายใดบังคับให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ ขอกันส่วนแต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินภายใต้กฎหมายจัดรูปที่ดิน: สัญญาไม่ขัดกฎหมายหากรอรับอนุญาตโอนได้
เมื่อพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางดังนั้นสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยละเลยหน้าที่ยื่นขออนุญาตโอนที่ดินในเขตจัดรูปที่ดิน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลพิพากษายืนตามศาลล่าง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันในราคา230,000บาทโจทก์ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่1ไปทั้งสิ้น205,000บาทคงเหลืออยู่อีก15,000บาทนับว่าเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่โจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแม้ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งขณะที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและวันครบกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนแต่มีข้อยกเว้นว่าจะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทจะต้องยื่นคำขออนุญาตต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจำเลยที่1เบิกความรับว่าจำเลยที่1กับโจทก์ไม่เคยไปติดต่อที่สำนักงานจัดรูปที่ดินแสดงว่าจำเลยที่1ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตโอนที่ดินพิพาทต่อคณะกรรมการจัดการรูปที่ดินถือได้ว่าจำเลยที่1ละเลยประกอบกับพยานคนกลางผู้ไกล่เกลี่ยกรณีของโจทก์กับจำเลยทั้งสองเบิกความว่าโจทก์ประสงค์จะรับโอนที่ดินพิพาทแต่จำเลยทั้งสองจะขอซื้อที่ดินพิพาทคืนจึงตกลงกันไม่ได้พยานหลักฐานของ โจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้รับจำนองรายใหม่ และผลของการโอนที่ดินไม่สุจริต
แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคาร ก. ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้ไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ผู้รับจำนองเดิมถูกต้องครบถ้วนแล้ว บุริมสิทธิจำนองของธนาคาร ก. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 (4) การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในวันเดียวกันกับที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจำนองรายใหม่ หาใช่เป็นการโอนสิทธิจำนองหรือรับช่วงสิทธิจากการจำนองรายเดิมแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนภายในระยะ-เวลาสามปีก่อนขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ซึ่งศาลเพิกถอนได้แล้ว และการจำนองดังกล่าวได้กระทำภายหลังจากที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116
ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ไถ่ถอนจำนองก่อนโอนที่ดิน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดไปแล้วบังคับให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับธนาคารแล้วให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์จำนวนสามในสี่ส่วน หากเพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 และหากจำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่สามารถโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์โดยปลอดค่าภาระติดพันก็ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นการกำหนดให้จำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ กล่าวคือหากไม่สามารถจะกระทำอย่างแรกแล้วจึงให้กระทำอย่างหลัง ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวอันลูกหนี้จะพึงเลือกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องปฏิบัติการชำระตามขั้นตอนที่ระบุไว้ตามลำดับในคำพิพากษา กล่าวคือ จำเลยที่ 2 ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับธนาคารก่อน แล้วให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์จำนวนสามในสี่ส่วน โดยปลอดค่าภาระติดพันตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมปฏิบัติ กลับนำเงินไปวางต่อกรมบังคับคดีเพื่อให้โจทก์รับไปเป็นค่าเสียหายแทนการรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามส่วนของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะไถ่ถอนจำนองกับธนาคารแล้ว ขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่จำเลยที่ 2ต้องชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับธนาคาร ทั้งนี้เพื่อให้โจทก์รับโอนที่พิพาทตามส่วนของโจทก์ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปลอดค่าภาระติดพันซึ่งเป็นไปตามลำดับการบังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7597/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินอันเป็นการฉ้อฉล โดยไม่ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 อันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็คือจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ส่วนเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ นอกจากนี้การที่ ป. ที่ดิน มาตรา 61 และมาตรา 71บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ได้ โดยมิต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเข้ามาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2อันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็คือจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมส่วนเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการไปตามอำนาจหน้าที่นอกจากนี้การที่ป. ที่ดินมาตรา61และมาตรา71บัญญัติให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่ดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้โดยมิต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเข้ามาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องโอนที่ดินยักยอกคืนกองมรดก หากไม่สามารถโอนได้จึงต้องใช้ราคา แม้เจ้ามรดกเสียชีวิตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า"ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เป็นเงิน4,974,987.50บาทแก่เจ้าของ"นั้นหมายความว่าจำเลยจะต้องโอนที่ดินของเจ้ามรดกที่ได้ยักยอกคืนแก่กองมรดกหากการโอนที่ดินไม่อาจกระทำได้จำเลยจึงต้องใช้ราคาหาใช่จำเลยมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่สามารถโอนที่ดินกลับคืนแก่เจ้าของได้เพราะเจ้าของเดิมได้ตายไปแล้วและจะให้จำเลยโอนที่ดินคืนกองมรดกก็ไม่ได้เพราะกองมรดกมิใช่ตัวบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะรับโอนได้จึงเป็นเหตุพ้นวิสัยที่จำเลยจะโอนที่ดินคืนให้ไปตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้นกรณีดังกล่าวหาใช่ข้ออ้างที่จำเลยจะหยิบยกขึ้นปฏิเสธการโอนที่ดินมรดกคืนแก่กองมรดกไม่จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่จำเลยยักยอกนั้นคืนกองมรดกโดยโอนให้แก่ผู้จัดการมรดก
of 33