คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิในลิขสิทธิ์จากการซื้อขาย: การอนุญาตใช้สิทธิครั้งเดียว vs. การโอนสิทธิถาวร และผลของการผิดสัญญา
หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.กับเรื่อง ก.ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ขายซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 ตกลงขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งหมายถึงโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ซื้อตกลงซื้อเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และออกเป็นรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ ผู้ขายตกลงสัญญาแก่ผู้ซื้อว่าผู้ขายขอมอบสิทธิและลิขสิทธิ์ของเนื้อเรื่องทั้งหมดในนวนิยายทั้งสองเรื่องทุก ๆ ตอนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้เดียว และผู้ขายจะต้องเขียนนวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นให้จบสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อในการสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ และทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายสิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประพันธ์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิที่จะนำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ได้
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.จะมิได้ระบุว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 1ใช้ลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.เป็นการเฉพาะคราวไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่โดยที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาไว้ว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะสร้างภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะขายบทประพันธ์ทั้งสองเรื่องนี้ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรในการซื้อขายบทประพันธ์ให้แก่ผู้ซื้อครึ่งหนึ่ง ผลกำไรในที่นี้หมายถึงเงินซึ่งหักออกจากต้นทุนของผู้ซื้อเสียก่อน"เมื่อนำข้อความดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสัญญาที่ว่า ผู้ซื้อตกลงสัญญาแก่ผู้ขายว่าจะต้องไม่ขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ให้แก่บริษัท ช.เป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ขายเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนแล้ว ดังนี้ย่อมทำให้ตีความการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ 1 และของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาซื้อและขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ต่อกันในลักษณะโอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไปไม่ ทั้งสองฝ่ายคงเพียงแต่ต้องการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นเป็นการเฉพาะคราวให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์เพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการสร้างภาพยนตร์ซ้ำเกินกว่า 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับในทางปฏิบัติของวงการพิมพ์และวงการภาพยนตร์ การซื้อขายลิขสิทธิ์หรือการขอใช้สิทธิเพื่อการจัดพิมพ์บทประพันธ์จำหน่ายหรือนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นการขอใช้สิทธิหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีจึงฟังได้ว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว หาได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไป ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 นำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่แล้ว สิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการที่จะนำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซ้ำอีกจึงเป็นอันระงับ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิจะโอนสิทธิหรืออนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อหรือซ้ำได้อีกต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ หรือแถบบันทึกเสียงได้
โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดลิขสิทธิ์บทประพันธ์แต่การที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขลิทธิ์ฉบับพิพาทมีข้อความชวนให้โจทก์ทั้งสองเข้าใจว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่อง พ.แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าลิขสิทธิ์ในนวนิยายดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต ประกอบกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครออกเผยแพร่ ดังนี้ จำเลยที่ 1ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรจากโจทก์ทั้งสองได้
ข้อความในบทความตามที่ปรากฏในนิตยสารและหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นเพียงบทความที่วิจารณ์ว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยใครควรจะมีสิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ดีกว่ากัน เป็นการที่โจทก์ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าวโดยโจทก์ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิของโจทก์ โดยโจทก์เชื่อว่าโจทก์ได้สิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่องที่พิพาทโดยชอบแล้ว ดังนี้ การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ คุ้มครองแม้มีการโอนสิทธิหลายทอด ผู้เช่ามีสิทธิซื้อจากผู้รับโอน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ แม้ตามมติของ คชก. ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนาซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีสัญญาโดยตรงกับผู้ขาย
ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับอ. ข้อ2วรรคสองที่กำหนดไว้ว่า"ส่วนเงินที่เหลือจำนวน6,900,000บาทผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขายครบถ้วนในวันที่ผู้ขายไปจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อหรือบุคคลอื่นที่ผู้ซื้อกำหนดเป็นผู้รับโอนแทนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานที่ดิน"นั้นมิได้มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยกับอ.ตกลงกันให้อ.โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใดได้เลยข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความต่อเนื่องจากวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการชำระราคาที่พิพาทว่าจะชำระกันอย่างไรเมื่อใดโดยระบุเป็นข้อตกลงไว้ว่าผู้รับโอนที่พิพาทอาจเป็นอ.ผู้ซื้อหรือหากไม่รับโอนด้วยตนเองก็จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้รับโอนแทนก็ได้คำว่า"บุคคลอื่น"จึงมีความหมายเพียงเป็นบุคคลผู้ที่จะมีชื่อในขณะที่รับโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อการซื้อขายนั้นสำเร็จสมบูรณ์แทนชื่อของผู้ซื้อที่แท้จริงเท่านั้นคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทรายนี้ก็คือจำเลยกับอ. โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องว่าจำเลยยินยอมให้อ. โอนสิทธิการซื้อที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349วรรคสามซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา306เรื่องโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปรากฏว่าการโอนหนี้ระหว่างโจทก์กับอ. ได้ทำเป็นหนังสือการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ไม่อาจใช้ยันจำเลยได้และมิใช่เป็นกรณีรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226ส่วนการที่โจทก์ทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับจ.และอ.ในการซื้อที่พิพาทเพื่อนำไปขายเอากำไรก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้เป็นหุ้นส่วนกันเองจำเลยมิได้รู้เห็นหรือรู้ด้วยแต่อย่างใดถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทจากอ. โจทก์มิใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่อาจมีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินของผู้เยาว์: ผลสมบูรณ์เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายและศาลไม่อนุญาต
ป.พ.พ. มาตรา 1546 (บรรพ 5 เดิม), 1574
ในช่วงที่ ผ.ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ.ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546 (1) ถึง (8) แต่อย่างใดดังนั้น การที่ ผ.ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ.แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2ในขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 1546 (1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ.ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ.ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088 ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472 ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดีที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบ โจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิโอนได้และผลของการบอกกล่าว
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัท ง.จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสองส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง.ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคแรกเมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 306วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง.กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง.โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง.มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน โดยมีข้อตกลงล่วงหน้าและบอกกล่าวการโอนสิทธิ
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างลูกหนี้ใหม่กับเจ้าหนี้เดิม หากไม่ทำสัญญาใหม่ ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในสัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีการทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท.ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท. มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาระหว่าง ท. กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท. เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดท. สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350 คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการโอนสิทธิทำให้โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
โจทก์ได้จดทะเบียนบริษัทจำกัด ณ มลรัฐเดลาแวร์ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย อ.ประธานกรรมการโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งให้ จ. หรือ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลจนสำเร็จ หนังสือฉบับนี้มี ซ.โนตารี่ปับลิกแห่งมลรัฐเคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาลงชื่อและประทับตรารับรองว่าผู้มอบอำนาจเป็นประธานกรรมการบริษัทได้แสดงตนว่า บริษัทนี้ได้ทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวตามกฎหมายหรือโดยมติคณะกรรมการ และมีการลงชื่อกับประทับตราสถานกงสุลใหญ่ประจำนครลอสแองเจลิสไว้ด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้จ.เป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าเครื่องเสียงของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"EARTHQUAKE" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจดทะเบียนในนาม ล. ตั้งแต่ปี 2532 และต่อมา ล. โอนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์โดยไม่แน่ชัดว่าการโอนมีผลสมบูรณ์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ใช้คำว่า"EARTHQUAKE" เป็นส่วนสำคัญของชื่อโจทก์ตลอดมา ทั้งที่อยู่ของ ล. ที่จดแจ้งลงในทะเบียนสำคัญเครื่องหมายการค้าก็เป็นที่เดียวกับสำนักงานของโจทก์ในปี 2532 และไม่ปรากฏว่าล. ใช้เครื่องหมายการค้านี้หรือโต้แย้งคัดค้านการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เลย แต่กลับยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้และในที่สุดที่โอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ล. และโจทก์มีความประสงค์ให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้โจทก์จึงใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าของโจทก์จนแพ่งหลายตลอดมา เช่นนี้โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย, การชำระราคาด้วยเช็ค, และการโอนสิทธิในที่ดิน
ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแทนส. มารดาโจทก์โจทก์มิใช่คู่สัญญาที่แท้จริงจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเมื่อปัญหาดังกล่าวจำเลยที่1มิได้ให้การไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบฎีกาของจำเลยที่1จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249 คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่รับรองให้ฎีกาได้นั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงจะวินิจฉัยได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยจำเลยที่2สามีจำเลยที่1ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมด้วยแต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาโดยร่วมกันทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่นไปสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนการที่จำเลยที่1ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปไม่อาจจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้จำเลยที่1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่1ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันโดยฝ่ายโจทก์ผู้ซื้อออกเช็คชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นสามีจำเลย1ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่มีผลผูกพันกันได้เช็คดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันที่28กรกฎาคม2532แต่จำเลยที่1กลับไปทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นไปตั้งแต่วันที่27กรกฎาคม2532ดังนี้จำเลยที่1จะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1หาได้ไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำ200,000บาทและจ่ายเงินค่าปรับ10เท่าของราคาซื้อขายที่ดินคิดเป็นเงิน10,750,000บาทรวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์10,950,000บาทและในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน10,950,000บาทให้แก่โจทก์เมื่อเงินมัดจำ50,000บาทเป็นส่วนหนึ่งของค่ามัดจำ200,000บาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งโจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องว่ามอบให้จำเลยที่1ไปและมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระคืนรวมอยู่ด้วยในคำขอท้ายฟ้องแล้วที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่1คืนมัดจำให้แก่โจทก์ด้วยจึงไม่เป็นพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
of 49